บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาตามหลักศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะ การวิจัยในชั้นเรียนของครูสู่ผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๓ วัดเหนือ
ชื่อผู้วิจัย ศศิพรรณ โพธิแท่น
ปีที่ศึกษา 2563
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการในการจัดการศึกษาตามแนวทางศาสตร์พระราชา เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู 2) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการศึกษาตามหลักศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครูสู่ผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๓ วัดเหนือ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการศึกษาตาม หลักศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครูสู่ผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๓ วัดเหนือ 4) เพื่อประเมินผลการทดลองและปรับปรุงรูปแบบการจัดการศึกษาตามหลักศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครูสู่ผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๓ วัดเหนือ กลุ่มเป้าหมายในการทดลองเป็น ครู จำนวน 30 คน กลุ่มเป้าหมายการสังเกตพฤติกรรม เป็นผู้เรียน จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ รูปแบบการจัดการศึกษาตามหลักศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครูสู่ผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๓ วัดเหนือ แบบรับรองความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการศึกษาตามหลักศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครูสู่ผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๓ วัดเหนือ แบบทดสอบการจัดการศึกษาตามหลักศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู แบบประเมินทักษะการนำศาสตร์พระราชามาใช้ในการจัดการเรียนการสอน แบบประเมินสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ตามหลักศาสตร์พระราชา แบบสังเกตพฤติกรรมการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน แบบสังเกตพฤติกรรมผู้เรียนตามหลักศาสตร์พระราชา แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการจัดการศึกษาตามหลักศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครูสู่ผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t test (dependent) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
ตอนที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการในการพัฒนาการจัดการศึกษาตามแนวทางศาสตร์พระราชา เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู สรุปว่า โรงเรียนเทศบาล ๓ วัดเหนือ ควรเร่งพัฒนาการจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ตามนโยบายของเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของนักเรียน อีกทั้งความต้องการของผู้ปกครองและชุมชนมุ่งเน้นให้เด็กได้ฝึกประสบการณ์เรียนรู้จากประสบการณ์จริง เด็กมีโอกาสเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง กิจกรรมต่างๆ ถูกหล่อหลอมให้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของเด็กและการจัดประสบการณ์โดยครูผู้จัดโดยนำเอาแนวคิดของความพอเพียงไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนและ การปฏิบัติในทุกกิจกรรมการเรียนรู้
ตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนา พบว่า องค์ประกอบรูปแบบการจัดการศึกษาตาม หลักศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครูสู่ผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๓ วัดเหนือ ใช้รูปแบบ ATCT Model ประกอบด้วย 1) ประเมินความต้องการ (Assessing Need : A) 2) การให้ความรู้ (Training : T) 3) การแก้ปัญหาโดยใช้การวิจัยในชั้นเรียน (Classroom Research : C) 4) การขยายผลสู่ชั้นเรียน (Transportability : T) ส่วนการประเมินองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการศึกษาตามหลักศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครูสู่ผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๓ วัดเหนือ ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการศึกษาตามหลักศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครูสู่ผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๓ วัดเหนือ ภาพรวม มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก
ตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการจัดการศึกษาตามหลักศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครูสู่ผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๓ วัดเหนือ ผู้วิจัยได้นำทดลองใช้ครู พบว่าการทดสอบความรู้ของครูก่อนและหลังการอบรม เท่ากับ 5.50 และ 16.83 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการอบรม พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ตอนที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดการศึกษาตามหลักศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครูสู่ผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๓ วัดเหนือ พบว่า 1) ทักษะการนำศาสตร์พระราชามาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) การประเมินสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ตามหลักศาสตร์พระราชา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) สังเกตพฤติกรรมการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4) พฤติกรรมการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนของครู ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 5) การประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการจัดการศึกษาตามหลักศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครูสู่ผู้เรียนภาพรวมอยู่ในระดับมาก
การถอดบทเรียนการทดลองใช้รูปแบบการจัดการศึกษาตามหลักศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียน พบว่า ครู ผ่านการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ ความสามารถ ในการจัดการศึกษาโดยนำหลักศาสตร์พระราชามาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ในมิติ เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา โดยฝึกให้เด็ก เข้าใจ ว่าแต่ละกิจกรรมที่ทำไปนั้น ทำไปเพื่ออะไร มีเหตุผลอะไร ไม่ใช่เป็นเพียงการทำตามคำสั่งเท่านั้น เข้าใจจากการลงมือทำจริง ควรให้เด็กทำสิ่งต่างๆ โดยทราบเหตุผล พร้อมกระตุ้นจินตนาการ และเน้นถามคำถามปลายเปิดกับเด็กๆ เข้าถึง เป็นการนำความเข้าใจที่ได้เรียนรู้ เพื่อให้นำไปสู่การปฏิบัติให้ได้ เป็นการสื่อสารสองทางทั้งไปและกลับ ถ้าสามารถทำสองประการแรกได้สำเร็จ เรื่องการพัฒนาจะพัฒนาได้อย่างดี เพราะต่างฝ่ายต่างเข้าใจกัน ต่างฝ่ายอยากจะเข้าถึงกันแล้ว การพัฒนาจะเป็นการตกลงร่วมกันทั้งสองฝ่าย ทั้งผู้ให้และผู้รับ และ การใช้งานวิจัยในชั้นเรียนเพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาการจัดการเรียนในชั้นเรียน ผู้เรียน มีทักษะ การเคลื่อนไหว มีพัฒนาการด้านสังคม พัฒนาการด้านอารมณ์ พัฒนาการด้านความคิด และสติปัญญา พัฒนาการด้านภาษา พัฒนาการด้านจริยธรรม และพัฒนาการด้านการสร้างสรรค์