ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการอ่านอย่างมีวิจารณญาณแบบ CRPCR ประกอบแบบฝึกทักษะ
ภาษาไทย วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นายอัศวิน ทองแสง
ที่ทำงาน โรงเรียนบ้านนางาม ตำบลท่าเกวียน อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของผู้สอนและผู้เรียน ที่เป็นเงื่อนไขในการพัฒนารูปแบบการอ่านอย่างมีวิจารณญาณแบบ CRPCR ประกอบแบบฝึกทักษะภาษาไทย วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการอ่านอย่างมีวิจารณญาณแบบ CRPCR ประกอบแบบฝึกทักษะภาษาไทย วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการอ่านอย่างมีวิจารณญาณแบบ CRPCR ประกอบแบบฝึกทักษะภาษาไทย วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในประเด็น ต่อไปนี้ 3.1 หาประสิทธิภาพของรูปแบบการอ่านอย่างมีวิจารณญาณแบบ CRPCR ประกอบแบบฝึกทักษะภาษาไทย วิชาภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3.2 เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3.3 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยรูปแบบการอ่านอย่างมีวิจารณญาณแบบ CRPCR ประกอบแบบฝึกทักษะภาษาไทย วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประชากร/กลุ่มเป้าหมาย ที่ศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนบ้านนางาม สังกัดสำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว จำนวน 14 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) รูปแบบการอ่านอย่างมีวิจารณญาณแบบ CRPCR ประกอบแบบฝึกทักษะภาษาไทย วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน
และสภาพที่พึงประสงค์ แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบประเมินรูปแบบ วิชาภาษาไทย
เรื่อง การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จํานวน 30 ขอ มีค่าอำนาจจำแนก (B-index) อยู่ระหว่าง 0.21 0.59 ค่าความยาก (P) อยู่ระหว่าง 0.29 0.74 และมีคาความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (rcc) เทากับ 0.88
สถิติที่ใชในการ วิเคราะหขอมูล ไดแก คาเฉลี่ย รอยละ สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน PNI Modified และทดสอบสมมุติฐานดวยสถิติ t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัยพบวา
1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของผู้สอนและผู้เรียน ที่เป็นเงื่อนไขการพัฒนารูปแบบการอ่านอย่างมีวิจารณญาณแบบ CRPCR ประกอบแบบฝึกทักษะภาษาไทย วิชาภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการจัดการเรียนรู้ วิชาภาษาไทย ทั้ง 5 ด้าน พบว่า สภาพปัจจุบันในการจัดการเรียนรู้ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง มีด้านที่ 2. ด้านตัวครูผู้สอน 2.3 ยอมรับฟังความคิดเห็นของนักเรียน ด้านที่ 3. ด้านเทคนิคการสอน หัวข้อ 3.3 มอบหมายงานเพื่อส่งเสริมทักษะทางวิชาการ หัวข้อ 3.5 มีการตรวจติดตามงานและสะท้อนการทำงาน ด้านที่ 4. ด้านสื่อการเรียนการสอน หัวข้อ 4.2 มีเอกสาร ใบความรู้ประกอบการสอน และด้านที่ 5. ด้านการวัดผลประเมินผล หัวข้อ 5.3 เมื่อทดสอบมีการป้องกันการรั่วไหลของข้อสอบ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านที่ 1 ด้านตัวนักเรียน หัวข้อ 1.1 ตั้งใจ สนใจและมีสมาธิในขณะเรียนและหัวข้อ 1.4 มีการเตรียมตัวก่อนเข้าเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ทุกด้านมีความต้องการอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดทุกด้าน
เมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น(PNI modified) และจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นรายด้านย่อย พบว่า ด้านที่มีความต้องการจำเป็นที่ควรมีการปรับปรุงและพัฒนาก่อนด้านอื่น ๆ 5 อันดับ คือ อันดับที่ 1 ด้านที่ 1 ด้านตัวนักเรียน หัวข้อ 1.1 ตั้งใจ สนใจและ
มีสมาธิในขณะเรียน อันดับที่ 2 ด้านที่ 1 ด้านตัวนักเรียน หัวข้อ 1.4 มีการเตรียมตัวก่อนเข้าเรียน อันดับที่ 3 ด้านที่ 4 ด้านสื่อการเรียนการสอน หัวข้อ 4.1 มีการใช้สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสม อันดับที่ 4 ด้านที่ 1 ด้านตัวนักเรียน หัวข้อ 1.2 ความกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม และอันดับที่ 5 ด้านที่ 5 ด้านการวัดผลประเมินผล หัวข้อ 5.5 มีการตรวจคะแนนแล้วแจ้งให้นักเรียนทราบ ตามลำดับ
2. ผลการพัฒนารูปแบบการอ่านอย่างมีวิจารณญาณแบบ CRPCR ประกอบแบบฝึกทักษะภาษาไทย วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ได้รูปแบบการอ่านอย่างมีวิจารณญาณแบบ CRPCR ประกอบแบบฝึกทักษะภาษาไทย วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผ่านการพัฒนาและ
มีองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กิจกรรมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณแบบ CRPCR 4) การวัดและประเมินผล ผลการประเมินกิจกรรมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณแบบ CRPCR โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบการอ่านจับใจความ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
มีความเหมาะสมมากที่สุด ( = 4.71, S.D. = 0.35) ตามเกณฑ์ที่กำหนด
3. ผลการใช้รูปแบบการอ่านอย่างมีวิจารณญาณแบบ CRPCR ประกอบแบบฝึกทักษะภาษาไทย วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
3.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการอ่านอย่างมีวิจารณญาณแบบ CRPCR ประกอบแบบฝึกทักษะภาษาไทย วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เมื่อนำไปใช้กับนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ที่ยังไม่เคยผ่านการเรียนเนื้อหา เรื่อง การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ มาก่อนได้ประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.14/82.38
3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้รูปแบบการอ่านอย่างมีวิจารณญาณแบบ CRPCR ประกอบแบบฝึกทักษะภาษาไทย วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยรูปแบบการอ่านอย่างมีวิจารณญาณแบบ CRPCR ประกอบแบบฝึกทักษะภาษาไทย วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมนักเรียน
มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการอ่านอย่างมีวิจารณญาณแบบ CRPCR ประกอบแบบฝึกทักษะภาษาไทย วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมาก ( = 4.36, S.D. = 0.62)