ชื่อเรื่อง ผลการใช้แบบฝึกทักษะกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้วิธี SQACC
ประกอบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้ศึกษา นายสิริศักดิ์ อยู่เป็นสุข
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการใช้แบบฝึกทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทางคณิตศาสตร์โดยใช้วิธี SQACC ประกอบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์ 5 ประการ คือ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้วิธี SQACC ประกอบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผล 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน 4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถ ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 35 คน ซึ่งเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านห้วยทรายใต้ สังกัดเทศบาลเมืองชะอำ ด้วยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ดำเนินการวิจัยโดยใช้รูปแบบวิจัยเชิงทดลอง แบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ 1) แบบฝึกทักษะกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้วิธี SQACC ประกอบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้วิธี SQACC ประกอบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 17 แผน จำนวน 17 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ ซึ่งมีค่าความยาก-ง่าย อยู่ระหว่าง 0.20-0.72 และค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.24-0.80 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.71 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งมีค่า ความยาก-ง่าย อยู่ระหว่าง 0.46-0.48 และค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.35-0.39 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.85 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน เป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ ซึ่งมีค่าความยาก-ง่าย อยู่ระหว่าง 0.28-0.76 และค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.32-0.74 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.97 เครื่องมือทั้งหมดได้ผ่านการตรวจ จากผู้เชี่ยวชาญและปรับปรุงแก้ไข เพื่อใช้เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย t-test (Dependent) สามารถสรุปได้ดังนี้
สรุปผลการศึกษา
1. แบบฝึกทักษะกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้วิธี SQACC ประกอบ การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 โดยมีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.55/85.80
2. ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนโดยการใช้แบบฝึกทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทางคณิตศาสตร์โดยใช้วิธี SQACC ประกอบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 0.7026
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ที่เรียนโดยการใช้แบบฝึกทักษะกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้วิธี SQACC ประกอบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ที่เรียนโดยการใช้แบบฝึกทักษะกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้วิธี SQACC ประกอบ การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความสามารถ ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ที่มีต่อการเรียนโดยการใช้แบบฝึกทักษะกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้วิธี SQACC ประกอบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีระดับความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด