ชื่องานวิจัย การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารและการรู้เท่าทันสื่อ เรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นายองอาจ ศรีเพ็ชร
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านแก้งวิทยา
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว
ปีที่วิจัย 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน และการประเมินความต้องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารและการรู้เท่าทันสื่อ เรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารและการรู้เท่าทันสื่อ เรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารและการรู้เท่าทัน เรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 4) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการสอน เพื่อพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารและการรู้เท่าทันสื่อ เรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 4.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนการใช้รูปแบบการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารและการรู้เท่าทันสื่อ เรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 4.2) เพื่อประเมินทักษะด้านการสื่อสาร ระหว่างใช้รูปแบบการสอน 4.3) เพื่อเปรียบเทียบการรู้เท่าทันสื่อ ก่อนเรียนและหลังจากใช้รูปแบบการสอน 4.4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารและการรู้เท่าทันสื่อ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านแก้งวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว จำนวน 5 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 110 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 25 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอน แบบประเมินความสอดคล้องของรูปแบบการเรียนการสอน รูปแบบการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารและการรู้เท่าทันสื่อ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะการสื่อสาร แบบวัดการรู้เท่าทันสื่อ และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติที แบบไม่อิสระและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารและการรู้เท่าทันสื่อ เรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติ ได้รูปการสอน ARCSPA Model ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบเชิงกระบวนการ และองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำรูปแบบการนำไปใช้ กระบวนการเรียนการสอน มี 6 ขั้น คือ 1) ขั้นสร้างความสนใจ (Attention : A) 2) ขั้นทบทวนความรู้เดิม (Reviewing : R) 3) ขั้นสร้างความรู้ใหม่ (Construction : C) 4) ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Sharing : S) 5) ขั้นนำเสนอความรู้ (Presentation : P) และ 6) ขั้นประเมินและสรุป (Assessment and Conclusion : A) ผลการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ได้ค่าความเหมาะสม/สอดคล้อง มีค่าเฉลี่ย ( x ̅ ) เท่ากับ 4.26 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ตั้งแต่ 0.52 มีความเหมาะสมมาก จึงถือว่ารูปแบบการเรียนการสอน มีความเหมาะสมสามารถนําไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนต่อไปได้
2) ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารและการรู้เท่าทันสื่อ (ARCSPA Model) เรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 บว่า รูปแบบการเรียนการสอน ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ (E1/E2) 80.11/80.33 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80
3) ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารและการรู้เท่าทันสื่อ เรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า 3.1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 3.2) ทักษะการสื่อสารของนักเรียน ในขณะทำการจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (x ̅) 3.55 ระดับ ค่อนข้างสูง ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.24 3.3) การรู้เท่าทันสื่อของนักเรียน จากผลการทดสอบด้วยสถิติ t พบว่า มีคะแนนการรู้เท่าทันสื่อเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4) ผลการประเมินและปรับปรุงแก้ไข รูปแบบการเรียนการสอน เรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติ เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารและการรู้เท่าทันสื่อ (ARCSPA Model) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน ภาพรวมส่วนใหญ่มีความพึงพอใจระดับความพึงพอใจมาก (x ̅ = 4.42 ,S.D. = 0.19)