ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิด
อย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชื่อผู้วิจัย นางสาวดวงพร มหากลั่น
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 3 ชุมชนวัดจันทราวาส สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบุรี
จังหวัดเพชรบุรี
ปีที่ทำการวิจัย พ.ศ. 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเป็น การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและประเมินความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และ 4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาล 3 ชุมชนวัดจันทราวาส สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 34 คนได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามเพื่อศึกษาความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้และความสอดคล้องของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แผนการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ แบบวิเคราะห์เอกสารข้อมูลพื้นฐาน แบบสัมภาษณ์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความพึงพอใจ แบบวัดความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบประเมินคุณลักษณะของผู้ที่มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอนที่เกี่ยวข้องและนักเรียนกลุ่มตัวอย่างต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบประเมินคุณภาพรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) วิเคราะห์เปรียบเทียบ โดยการทดสอบค่า ที (t-test dependent) สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผู้บริหาร ครู และนักเรียนมีความเห็นว่าจำเป็นและต้องการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
2. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก คือ
1) ทฤษฎี หลักการหรือแนวคิดพื้นฐานของการเรียนการสอน
2)วัตถุประสงค์
3) กิจกรรมการเรียนรู้
4) แหล่งการเรียนรู้
5) การประเมินการเรียนการสอน โดยในองค์ประกอบ
ที่ 3 กิจกรรมการเรียนรู้ มีขั้นตอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นกระตุ้นการคิด ขั้นสำรวจ ขั้นระดมสมองและไตร่ตรอง ขั้นอธิบายด้วยเหตุผล และขั้นสรุปและสะท้อนความคิด
3. หลังการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยได้ผลการวิจัยดังนี้
1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น โดยมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโดยรวมอยู่ในระดับมาก
3) ความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ก่อนและหลัง การทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน จำแนกเป็นรายด้าน พบว่า หลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกด้าน
4) การประเมินคุณลักษณะของผู้ที่มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยภาพรวม พบว่าหลังการทดลองนักเรียนมีคุณลักษณะของผู้ที่มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณอยู่ในระดับสูง
4. ระดับความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอนที่เกี่ยวข้องและนักเรียนต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยภาพรวมทั้งด้านรูปแบบของกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านเนื้อหา และด้านความพึงพอใจ มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับความเหมาะสมมาก