ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ทัศนศิลป์ เรื่อง วาดเส้น เล่นสี เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชื่อผู้วิจัย นางเสาร์วรี หลงราม
โรงเรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี)
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2562-2563
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ทัศนศิลป์ เรื่อง
วาดเส้น เล่นสี เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และเพื่อศึกษาผลการทดสองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ทัศนศิลป์ เรื่อง วาดเส้น เล่นสี เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองใช้รูปแบบ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี) สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองนราธิวาส อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส จำนวน 29 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Custer Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง วาดเส้น เล่นสี จำนวน 11 ชุดฝึก 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 11 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่าย 0.33 - 0.67 ค่าอำนาจจำแนก 0.50 - 0.94 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .96 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติการทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent Samples) ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ทัศนศิลป์ เรื่อง วาดเส้น เล่นสี เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 1) สาระสำคัญ 2) วัตถุประสงค์การเรียนรู้ และ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้มี 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 สร้างแรงจูงใจ ขั้นที่ 2 ใส่ใจค้นคว้าหาความรู้ ขั้นที่ 3 มุ่งสู่การปฏิบัติ ขั้นที่ 4 รวบรัดนำเสนองาน และขั้นที่ 5 วิจารย์สรุปผล
2. ผลของการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ทัศนศิลป์ เรื่อง วาดเส้น เล่นสี เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
2.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ทัศนศิลป์ เรื่อง วาดเส้น เล่นสี เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 85.24/85.98 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ทัศนศิลป์ เรื่อง วาดเส้น เล่นสี เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.3 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ทัศนศิลป์ เรื่อง วาดเส้น
เล่นสี เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับมากที่สุด