ผู้ศึกษา นางสาวกุลศยา สิริภูวดล
ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน สุไหงโก-ลก ปีการศึกษา 2563
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการแนะแนวเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อศึกษาทักษะชีวิตของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการแนะแนวเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1(3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ต่อชุดกิจกรรมการแนะแนวเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนสุไหงโก-ลก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 15 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 36 คนได้มาโดยการสุ่ม แบบแบ่งกลุ่ม เนื่องจากทั้ง 8 ห้องเรียนคละนักเรียนทั้ง เก่ง กลาง และอ่อน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย (1) ชุดกิจกรรมการแนะแนวเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 4 เล่ม (2) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาแนะแนวชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หน่วยทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มงานแนะแนวเพื่อพัฒนาผู้เรียน
(3) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย (3.1) แบบประเมินทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (3.2) แบบทดสอบวัดทักษะชีวิตรายวิชาแนะแนวชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หน่วยทักษะชีวิต กิจกรรมแนะแนว จำนวน 13 ข้อ (3.3) แบบสอบถามความพึงพอใจจำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ (t-test)
ผลการศึกษา
1. ค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 82.01/82.43 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีทักษะชีวิต อยู่ในระดับดี จากแบบประเมินทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนการประเมินพฤติกรรมอยู่ในระดับ ดี
3 .คะแนนทักษะชีวิตหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภายหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 คะแนนทักษะชีวิตหลังเรียน เมื่อทำการทดสอบด้วยสถิติทดสอบพบว่าคะแนนทักษะชีวิตหลังเรียนสูงอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05 โดยมีค่าสถิติทดสอบทีด้วยองศาอิสระ t Stat 3.40 > t Critical one-tail 1.69 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.94
4 .นักเรียนมีคะแนนความพึงพอใจในระดับมากที่สุดทุกข้อคำถามซึ่งผลข้างต้นผู้รายงานเห็นว่านักเรียนมีความตื่นตัวกระตือรือร้นที่จะดำเนินกิจกรรมตลอดทั้งคาบได้เรียนด้วยชุดกิจกรรมการแนะแนวเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทำให้นักเรียนสนุกสนานและเกิดความพึงพอใจมากยิ่งขึ้น