ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนสะกดคำ
เรื่อง มาตราตัวสะกด โดยใช้แผนผังความคิด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นางวรัญญา สุขะ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลชุมชนวิมลวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดตราด
สังกัดเทศบาลเมืองตราด
ปีที่พิมพ์ 2563
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนสะกดคำ เรื่อง มาตราตัวสะกด
โดยใช้แผนผังความคิด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ (1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนสะกดคำ เรื่องมาตราตัวสะกด โดยใช้แผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (2) สร้างและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนสะกดคำ
เรื่องมาตราตัวสะกด โดยใช้แผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 (3) เพื่อทดลองใช้และหาดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้
การอ่านและการเขียนสะกดคำ เรื่องมาตราตัวสะกด โดยใช้แผนผังความคิด สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (4) เพื่อเปรียบเทียบผลการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนสะกดคำ
เรื่องมาตราตัวสะกด ก่อนและหลังของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แผนผังความคิด
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบ
การจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนสะกดคำ เรื่องมาตราตัวสะกด โดยใช้แผนผังความคิด
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งผู้วิจัยใช้กรอบแนวคิดระเบียบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1
โรงเรียนเทศบาลชุมชนวิมลวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดตราด สังกัดเทศบาลเมืองตราด ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 38 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)
ด้วยวิธการจับสลากโดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง มาตราตัวสะกด โดยใช้แผนผังความคิด แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ และแบบสอบถามความคิดเห็นและแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ ค่าดัชนีประสิทธิผล สถิติทดสอบแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test
แบบ Dependent Samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนสะกดคำ เรื่องมาตราตัวสะกด
โดยใช้แผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 9 เรื่อง มีองค์ประกอบ
ด้านจุดประสงค์การเรียนรู้ และเนื้อหา สอดคล้องกับตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ต้องการให้มีการพัฒนาแบบฝึกทักษะให้มีกิจกรรมที่หลากหลาย รูปเล่มมีภาพประกอบที่มีสีสันสวยงามและดึงดูดความสนใจของนักเรียน และควรฝึกจากง่ายไปหายาก ด้านเนื้อหาในแบบฝึกควรเป็นคำที่นักเรียนมักอ่านและเขียนผิดบ่อย ๆ
2. ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้การเรียนรู้การอ่านและการเขียนสะกดคำ
เรื่องมาตราตัวสะกด โดยใช้แผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าประสิทธิภาพ
เท่ากับ 85.38/86.84 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. ดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียน
สะกดคำ เรื่องมาตราตัวสะกด โดยใช้แผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
มีค่าเท่ากับ 0.7813 แสดงว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 78.13
4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านและ
การเขียนสะกดคำ เรื่องมาตราตัวสะกด โดยใช้แผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5.ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนสะกดคำ
เรื่องมาตราตัวสะกด โดยใช้แผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด