ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยเทคนิคการฝึก(Training) และ
การเสริมสร้าง(Conditioning) โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาทักษะฟุตบอล
และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟุตบอล สู่การเป็นนักกีฬาเยาวชน
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบัวใหญ่
ผู้วิจัย นายปราโมทย์ พิมพิค่อ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
ปีที่วิจัย 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D)
มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานการเรียนโดยใช้การเรียนการสอนด้วยเทคนิคการฝึก(Training) และการเสริมสร้าง(Conditioning) โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาทักษะฟุตบอล
และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟุตบอล 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยเทคนิคการฝึก(Training) และการเสริมสร้าง(Conditioning) โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาทักษะฟุตบอลและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟุตบอล สู่การเป็นนักกีฬาเยาวชน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบัวใหญ่ 3) เพื่อเปรียบเทียบการใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาทักษะฟุตบอล และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟุตบอล 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนด้วยเทคนิคการฝึก(Training) และ การเสริมสร้าง(Conditioning)โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาทักษะฟุตบอล และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟุตบอล สู่การเป็นนักกีฬาเยาวชน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบัวใหญ่ แหล่งข้อมูลตามวัตถุประสงค์ที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 จำนวน 30 คน ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cutter Random Sampling) แหล่งข้อมูลตามวัตถุประสงค์ที่ 2 หลักสูตรการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา , เป้าหมายการเรียนรู้, เอกสารเกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนการสอน คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบการวัดผลการเรียนรู้ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้, ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน, นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง แหล่งข้อมูลตามวัตถุประสงค์ที่ 3 และ 4 เป็นประชากร : นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 10 ห้อง จำนวน 305 คน , กลุ่มตัวอย่าง : นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 35 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cutter Random Sampling) เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอนด้วยเทคนิคการฝึก(Training) และการเสริมสร้าง(Conditioning) โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาทักษะฟุตบอล และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟุตบอล สู่การเป็นนักกีฬาเยาวชน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบัวใหญ่ แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยเทคนิคการฝึก(Training) และการเสริมสร้าง(Conditioning) โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาทักษะฟุตบอล
และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟุตบอล สู่การเป็นนักกีฬาเยาวชน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบัวใหญ่ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคำนวณสำเร็จรูปและการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าที (t-test Dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานการเรียนโดยใช้การเรียนการสอนด้วยเทคนิคการฝึก(Training) และการเสริมสร้าง(Conditioning) โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาทักษะฟุตบอล และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟุตบอล พบว่า หลักสูตรการเรียนการสอนด้วยเทคนิคการฝึก และการเสริมสร้าง เน้นให้นักเรียนมีทักษะฟุตบอลเพิ่มขึ้น และ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น
2. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยเทคนิคการฝึก(Training) และการเสริมสร้าง(Conditioning) โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาทักษะฟุตบอลและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟุตบอล สู่การเป็นนักกีฬาเยาวชน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบัวใหญ่ พบว่า มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้
3. ผลการพัฒนาการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยเทคนิคการฝึก(Training) และการเสริมสร้าง(Conditioning) โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาทักษะฟุตบอลและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟุตบอล สู่การเป็นนักกีฬาเยาวชน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบัวใหญ่ พบว่า การเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่ต่อการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยเทคนิคการฝึก(Training) และการเสริมสร้าง(Conditioning) โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาทักษะฟุตบอลและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟุตบอล สู่การเป็นนักกีฬาเยาวชน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบัวใหญ่ อยู่ในระดับ มากที่สุด