ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์เพื่อส่งเสริมด้านทักษะปฏิบัติ
ตามแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน
และแฮร์โรว์ เรื่อง ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางพัตร์พิมล น้อยวิบล
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 1 สุขวิทยากรตั้งตรงจิตร 15 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองยโสธร
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การเรียนการสอนนาฏศิลป์ มุ่งให้นักเรียนมีการเรียนรู้และมีพัฒนาการตามจุดประสงค์ การเรียนรู้ที่แตกต่างกันในหลาย ๆ ด้านพร้อม ๆ กัน ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง ผู้วิจัยจึงมีความสนใจ ที่จะพัฒนาการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์เพื่อส่งเสริมด้านทักษะปฏิบัติ ตามแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันและแฮร์โรว์ เรื่อง ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ เพื่อส่งเสริมด้านทักษะปฏิบัติ ตามแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันและแฮร์โรว์ เรื่อง ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพ (E1/E2) ตามเกณฑ์ 75/75 2) ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์เพื่อส่งเสริมด้านทักษะปฏิบัติ ตามแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันและแฮร์โรว์ เรื่อง ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) ศึกษาทักษะปฏิบัติ เรื่อง ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ 4) ศึกษาเจตคติต่อการเรียนนาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ เพื่อส่งเสริมด้านทักษะปฏิบัติ ตามแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันและแฮร์โรว์ เรื่อง ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 34 คน ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาล 1 สุขวิทยากรตั้งตรงจิตร 15 อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองยโสธร ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์เพื่อส่งเสริมด้านทักษะปฏิบัติ ตามแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันและแฮร์โรว์ เรื่อง ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าความเหมาะสมระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.57, S.D.= 0.47) 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.22 ถึง 0.64 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 3) แบบประเมินทักษะปฏิบัติ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.77 ถึง 0.85 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.86 และ 4) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนนาฏศิลป์ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.32 ถึง 0.87 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.75 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนาการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์เพื่อส่งเสริมด้านทักษะปฏิบัติ ตามแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันและแฮร์โรว์ เรื่อง ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 1) แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ มี 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นการเตรียมความพร้อม ขั้นที่ 2 ขั้นการลงมือกระทำตามคำสั่ง ขั้นที่ 3 ขั้นการกระทำอย่างถูกต้องสมบูรณ์ ขั้นที่ 4 ขั้นการแสดงออก ขั้นที่ 5 ขั้นการปรับปรุงและประยุกต์ใช้ ขั้นที่ 6 ขั้นสรุปผล 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง 6) ระบบสนับสนุน
2. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์เพื่อส่งเสริมด้านทักษะปฏิบัติ ตามแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันและแฮร์โรว์ เรื่อง ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 82.13/82.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
3. ค่าดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์เพื่อส่งเสริมด้านทักษะปฏิบัติ ตามแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันและแฮร์โรว์ เรื่อง ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.6136แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้า คิดเป็นร้อยละ 61.36 ทักษะปฏิบัติของนักเรียนที่ได้เรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ ด้านทักษะปฏิบัติ เรื่อง ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ไทย อยู่ในระดับเกณฑ์คุณภาพดี โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (x ̅ = 10.32, S.D. = 2.69)
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีเจตคติต่อการเรียนนาฏศิลป์โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 2.52, S.D. = 0.58)
โดยสรุป การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์เพื่อส่งเสริมด้านทักษะปฏิบัติ ตามแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันและแฮร์โรว์ เรื่อง ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพที่เหมาะสม ช่วยให้นักเรียนมีความสามารถทางด้านทักษะปฏิบัติ ดังนั้น จึงควรนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนาฏศิลป์ในชั้นอื่น ๆ ต่อไป