ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับวิธีการสอน แบบสืบเสาะหาความรู้และวิธีการแบบเปิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา อย่างสร้างสรรค์ เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นายนคร ชื่นฤทัย
โรงเรียน โรงเรียนเทศบาล 2 อิสาณธีรวิทยาคาร กองการศึกษา เทศบาลเมืองบุรีรัมย์
ปีที่วิจัย 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนารูปแบบ การจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้และวิธีการ แบบเปิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้และวิธีการแบบเปิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้และวิธีการแบบเปิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (4) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง บทประยุกต์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียน โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ และวิธีการแบบเปิด (5) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง บทประยุกต์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้และวิธีการแบบเปิด และ (6) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้และวิธีการแบบเปิด เรื่อง บทประยุกต์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักเรียนชั้นประถมปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล 2 อิสาณธีรวิทยาคาร จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง บทประยุกต์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้และวิธีการแบบเปิด (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบปรนัยเลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่าย ระหว่าง 0.20 - 0.80 และค่าอำนาจจำแนก 0.20 ขึ้นไป และมีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.8302 (3) แบบทดสอบ วัดความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นโจทย์ปัญหาแบบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ การทดสอบสมมติฐานใช้ t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์สภาพปัญหาและแนวการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การพัฒนารูปแบบ การจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้และวิธีการแบบเปิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบประเมินค่าดัชนีความสอดคล้องแบบวิเคราะห์เอกสารและแบบสัมภาษณ์ จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน พบว่ามีความสอดคล้องในทุกประเด็น ได้แก่ แนวทางการจัดการศึกษา ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ แนวทางการจัดการศึกษาของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ แนวทางการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและต้นสังกัด ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ทฤษฎี แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้และประเด็น อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้
2. ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้และวิธีการแบบเปิดเพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 84.05/83.67 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 และดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.75 หรือคิดเป็นร้อยละ 75
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ที่เรียน
โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้และวิธีการแบบเปิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง บทประยุกต์ หลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่าง ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง บทประยุกต์ ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้และวิธีการแบบเปิด หลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้และวิธีการแบบเปิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.38
okp