การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนพลศึกษา เรื่อง กรีฑา โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
ผู้วิจัย: นางจันทิมา รุ่งเรือง ครู อันดับ คศ.4 วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม (ปิยแหวนรังสรรค์)
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนพลศึกษา เรื่อง กรีฑา โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม(ปิยแหวนรังสรรค์) ซึ่งสุ่มมาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น ๓ ขั้นตอน คือ (๑) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนพลศึกษา เรื่อง กรีฑา โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ (๒) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนพลศึกษา เรื่อง กรีฑา โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ (๓) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการเรียนการสอนพลศึกษา เรื่อง กรีฑา โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โดยผู้วิจัยกำหนดเป้าหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนพลศึกษา เรื่อง กรีฑา ให้สูงขึ้น ในการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนพลศึกษา เรื่อง กรีฑา ดังกล่าวนี้ ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาเป็นฐานเพื่อทราบคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอน
การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง และการดำเนินการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น คือ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพลศึกษาของผู้เรียนก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มทดลองที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ๕ ด้าน และ ๓) การประเมินผลรูปแบบการเรียนการสอนพลศึกษา เรื่อง กรีฑา แนวโดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ ๒ โดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มของค่าเฉลี่ย โดยการหาค่าที (Dependent t-test and Independent t-test) ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ การอภิปรายและสรุปผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนพลศึกษ เรื่องกรีฑา โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาเป็นฐาน
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า
๑. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนพลศึกษ เรื่องกรีฑา โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ มีองค์ประกอบสำคัญ ๔ ประการ ได้แก่ หลักการของรูปแบบการเรียนการสอน วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนการสอน กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล วิเคราะห์ความตรงเชิงเนื้อหาด้วยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง ได้ค่าเท่ากับ ๐.๘๙ นับว่าเป็นรูปแบบที่มีคุณภาพและสามารถนำไปใช้ได้
๒. ผลการทดลองใช้รูปแบบ แสดงว่า ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ที่เข้าร่วมกิจกรรมตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .๐๕ และสูงกว่าผู้เรียนที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
คำสำคัญ : รูปแบบการเรียนการสอนพลศึกษา เรื่อง กรีฑา , ทฤษฎีพหุปัญญา, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพลศึกษา