ชื่อเรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้การสอนแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค LT
ร่วมกับแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางสาววิไลรัตน์ ลือจันดา
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้การสอนแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค LT ร่วมกับแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ที่เรียนโดยใช้การสอนแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค LT ร่วมกับแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนโดยใช้การสอนแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค LT ร่วมกับแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาล 4 (อมร สะเพียรชัย อุทิศ) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 32 คน ด้วยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย (1) แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด จำนวน 9 เล่ม และแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การสอนแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค LT ร่วมกับแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด จำนวน 9 แผนการจัดการเรียนรู้ (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัยเลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือกจำนวน 30 ข้อ ที่มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.20-0.80 ค่าอำนาจจำแนก 0.20 ขึ้นไป และมีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.760 และ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจ เป็นแบบชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (pair)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของการเรียนโดยใช้การสอนแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค LT ร่วมกับแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง การอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง เพื่อยืนยันประสิทธิภาพ จำนวน 32 คน ปรากฏว่ามีเกณฑ์ประสิทธิภาพที่ 82.39/86.35 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 และมีค่าดัชนีประสิทธิผล (The Effectiveness Index : E.I.) เท่ากับ 0.73
2. กลุ่มตัวอย่างที่เรียนโดยใช้การสอนแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค LT ร่วมกับแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง การอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้การสอนแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค LT ร่วมกับแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง การอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.25
โดยสรุป การสอนแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค LT ร่วมกับแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ ในระดับมาก กล่าวได้ว่าสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ได้