ชื่อเรื่อง การพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป
ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ
สำหรับชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5 6 ปี)
ผู้วิจัย นางศิริลักษณ์ พลมาศ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานที่ โรงเรียนเทศบาล ๒ เชิงชุมอนุชนวิทยา สังกัดสำนักการศึกษา
เทศบาลนครสกลนคร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบไฮสโคปด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ ชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5 6 ปี) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบไฮสโคประหว่างก่อนการจัดประสบการณ์และหลังการจัดประสบการณ์ และ 3) เพื่อศึกษาผลการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบไฮสโคปด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 (5 6 ปี) โรงเรียนเทศบาล ๒ เชิงชุมอนุชนวิทยา สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครสกลนคร จังหวัดสกลนคร ปีการศึกษา 2562 จำนวน 24 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม (Sampling Unit) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบไฮสโคป ชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5 6 ปี) จำนวน 42 แผน 2) แบบทดสอบวัดความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5 6 ปี) ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก 1 ฉบับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระต่อกัน (t-test ชนิด Dependent Samples) Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. แผนการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบไฮสโคป ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ ชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5 6 ปี) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.96/80.85 โดยค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) เท่ากับ 80.96 และค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 80.85 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5 6 ปี) มีความพร้อมทางคณิตศาสตร์ โดยภาพรวมและรายด้าน จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการรู้ค่าจำนวน ด้านการจำแนก เปรียบเทียบ ด้านการบอกตำแหน่ง และด้านรูปทรง หลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่าหลังที่ได้รับการจัดประสบการณ์ ส่งผลให้เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีความพร้อมทางคณิตศาสตร์ สูงขึ้นทุกด้าน
3. ผลการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบไฮสโคป ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ ทำให้ความพร้อมทางคณิตศาสตร์ประกอบด้วย ด้านการจำแนก เปรียบเทียบ ด้านรูปทรงด้านการรู้ค่าจำนวน และด้านการบอกตำแหน่ง ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5 6 ปี) พัฒนาเพิ่มขึ้นทุกด้าน เรียงตามลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด คือ ด้านการรู้ค่าจำนวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.42 ด้านรูปทรง จำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.ด้านการจำแนก เปรียบเทียบและด้านการบอกตำแหน่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.75 เด็กสามารถเรียนรู้และเข้าใจทักษะทางคณิตศาสตร์ มีกระบวนการคิด การใช้เหตุผล การแก้ปัญหา และสร้างเสริมประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กได้เป็นอย่างดี ทำให้เด็กสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้