ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (EF)
ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3
ผู้วิจัย นางสาวนิภาวรรณ์ จันทร์สม ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาลศรีเมืองพลประชานุเคราะห์ สังกัดกองการศึกษา
เทศบาลเมืองเมืองพล จังหวัดขอนแก่น
ปีที่วิจัย พ.ศ. 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (EF)ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 สรุปสาระที่ได้จากการวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์ 4 ประการ วัตถุประสงค์ของการวิจัย (1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (EF)ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (EF)ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 (4) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (EF)ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยมีขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research: R1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (EF)ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (EF)ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 Implement: l) และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development: D2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (EF)ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 (Evaluation: E) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วยค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ ttest (Independent Sample t test)
ผลการวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เน้นการสืบเสาะเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานได้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (EF)ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้
1.1ขั้นนำ
1.2 ขั้นสอน มี 5 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 ขั้นระบุปัญหา ขั้นที่ 2 ขั้นรวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา ขั้นที่ 3 ขั้นวางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา ขั้นที่ 4 ขั้นทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขชิ้นงาน ขั้นที่ 5 ขั้นนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาและผลการแก้ปัญหา
ชิ้นงาน
1.3 ขั้นสรุป
2. รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (EF)ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดและความคิดเห็นของครูปฐมวัยต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (EF)ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีผลประเมินโดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (EF)ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (EF) เพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (EF)ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้
1) เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (EF)หลังใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (EF)ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ถือว่าผ่านเกณฑ์
2) เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (EF)ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Title Developing a Model of Learning Management for Executive Function
Skill Development of 3rd Year Early Childhood Students
Author Miss Nipawan Jansom, a Senior Professional Level Teacher, Sri Mueangpol Prachanukhao Municipality School under Division of Education, Mueangpol Town Municipality, Khon Kaen Province
Year 2019
ABSTRACT
The purposes of the research were 1) to study and analyze the data about basic scientific skills of 3rd year early childhood students, 2) to develop a model of learning management for executive function skill development of 3rd year early childhood students, 3) to implement the model of learning management for executive function skill development of 3rd year early childhood students, and 4) to evaluate the effectiveness of the model implementation in executive function skill development of 3rd year early childhood students. The research methodology was divided into four phases. Phase 1: Research on (R1) studying and analyzing of primary data of 3rd early childhood students; phase 2 (Development: D1) developing a model of learning management for executive function skill development of 3rd early childhood students, phase 3. (Research: R2) implementing the model of learning management for executive function skill development 3rd early childhood students (Implement: I); phase 4 (Development: D2) evaluating the effectiveness of the model implementation in executive function skill development of 3rd early childhood students (Evaluation: E). The statistics used were mean, percentage, standard deviation, and t test (Independent Sample t test) was employed for hypothesis testing.
Results of the research were as follows:
1. The findings showed that the model of learning management for executive function skill development of 3rd early childhood students based on the primary data analysis consisted of three steps.
1.1 Presentation
1.2 Teaching stage consisted of five steps: 1) identifying problems, 2) collecting conceptual data relating to problems, 3) planning and solving problems, 4) testing, evaluating and improving academic works, and 5) presenting problem solution and effects of improved academic works.
1.3 Conclusion
2. The study showed that the average opinion of the experts toward the appropriateness of learning management model for executive function skill development of 3rd year early childhood students was at a high level.
3. The findings indicated that the executive function skill of the students after using the learning activities improved significantly at the .01 level of the statistical significance.
4. The research results revealed that three minor objectives of the effectiveness of the model implementation for executive function skill development of the students as follows:
4.1 The average executive function skill of the students after the model implementation was higher than that of before the implementation at the .01 level of the statistical significance.
4.2 The overall satisfaction of the students with the model of learning activity management for executive function skills of the 3rd year early childhood students was at a high level.