ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบสืบเสาะความรู้ ร่วมกับบทเรียน มัลติมีเดีย เรื่อง บทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบและบทบาทของผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้ศึกษา นางสาวณัชสิมากาญจน์ ศรีสร้อย
โรงเรียน โรงเรียนเทศบาลตะพานหินวิทยาคาร สังกัดเทศบาลเมืองตะพานหิน
อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร
ปีที่พิมพ์ 2563
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบสืบเสาะความรู้ ร่วมกับบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง บทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบและบทบาทของผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบสืบเสาะความรู้ ร่วมกับบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง บทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบและบทบาทของผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังทดลองใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะความรู้ ร่วมกับบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง บทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบและบทบาทของผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังจากทดลองใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะความรู้ ร่วมกับบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง บทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบและบทบาทของผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะความรู้ ร่วมกับบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง บทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบและบทบาทของผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาลตะพานหินวิทยาคาร สังกัดเทศบาลเมืองตะพานหิน อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 38 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยของการสุ่ม ด้วยวิธีการจับสลากเลขประจำห้องเรียน จำนวน 1 ห้องเรียน ซึ่งนักเรียนแต่ละห้องเรียนมีผลการเรียนไม่แตกต่างกัน จากการจัดห้องเรียนแบบคละความสามารถเก่ง ปานกลาง และอ่อน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง บทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบและบทบาทของผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน สาระเศรษฐศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะความรู้ 5 ขั้น (REAAC) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง บทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบและบทบาทของผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน สาระเศรษฐศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะความรู้ 5 ขั้น (REAAC) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 5) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบสืบเสาะความรู้ ร่วมกับบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง บทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบและบทบาทของผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่า t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบสืบเสาะความรู้ ร่วมกับบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง บทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบและบทบาทของผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.67/83.50
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์หลังการทดลองใช้ รูปแบบการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบสืบเสาะความรู้ ร่วมกับบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง บทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบและบทบาทของผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์จากการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบสืบเสาะความรู้ ร่วมกับบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง บทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบและบทบาทของผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ความสามารถใน การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. การวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบสืบเสาะความรู้ ร่วมกับบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง บทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบและบทบาทของผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด