ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
รายงานการพัฒนางานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

รายงานการพัฒนางานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านใหม่สามัคคี

บุญเตือน สุบิน

ผู้อำนวยการโรงเรียน

โรงเรียนบ้านใหม่สามัคคี

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ

ภูมิหลัง

สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงได้ส่งผลกระทบต่อนักเรียนเป็นอย่างมาก ทั้งการดำเนินชีวิตท่ามกลางกระแสเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย และความคาดหวังของผู้ปกครองต่อการศึกษาของบุตรหลาน ตลอดจนการเผชิญสิ่งยั่วยุ หรือต้นแบบที่ไม่เหมาะสมต่าง ๆ รอบตัว ก่อให้เกิดปัญหาเด็กและเยาวชนที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ความรุนแรง และความสลับซับซ้อนของปัญหาทางสังคม คุกคามเข้าสู่สถาบันครอบครัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงเป็นอุปสรรคสำคัญ ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ให้เป็นไปตามหลักการและแนวคิดตามความมุ่งหมายและเจตนารมณ์ ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สถานศึกษา ทุกระดับการศึกษาจำเป็นต้องพัฒนา ดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เข้มแข็ง สามารถรับมือกับสถานการณ์ปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะต้องมีทักษะชีวิตที่ดี สามารถอยู่รอดได้ในสังคม อย่างมีความสุข

จากการศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานกิจการนักเรียน โรงเรียนบ้านใหม่สามัคคี ของนางบุญเตือน สุบิน (2559 : 57) พบปัญหาที่เกิดกับนักเรียนโรงเรียนบ้านใหม่สามัคคี ดังนี้ 1) ปัญหาความยากจนขาดแคลน 2) ปัญหาพฤติกรรมไม่เหมาะสม และ 3)ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเป้าหมาย

วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อพัฒนางานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านใหม่สามัคคี ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ปัญหาของนักเรียน ดังนี้

2.1.1 ปัญหาความยากจนขาดแคลน

2.1.2 ปัญหาพฤติกรรมไม่เหมาะสม

2.2.1.1 ปัญหาทะเลาะวิวาท

2.2.1.2 ปัญหากลุ่มเสี่ยงยาเสพติดและอบายมุข

2.2.1.3 ปัญหาชู้สาว

2.1.3 ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเป้าหมาย

2.2 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของคณะครู กรรมการสถานศึกษา กรรมการที่ปรึกษา นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน

3. ขอบเขตการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

3.1 ระยะเวลาในการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านใหม่สามัคคี ดำเนินการในปีการศึกษา 2560 – 2561

3.2 เนื้อหาการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านใหม่สามัคคี ดำเนินการพัฒนาตามกรอบแนวคิดของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดขอบข่ายองค์ประกอบไว้ 5 องค์ประกอบ ได้แก่

3.2.1 การรู้จักนักเรียนรายบุคคล โดยใช้โครงการสำรวจข้อมูลนักเรียนรายบุคคล

3.2.2 การคัดกรองข้อมูลนักเรียน โดยใช้โครงการข้อมูลสารสนเทศ

3.2.3 การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน โดยใช้โครงการ เก่ง ดี มีสุข

3.2.4 การป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน โดยใช้โครงการเด็กดีสร้างได้

3.2.5 การส่งต่อนักเรียน โดยใช้โครงการ ภาคีเครือข่ายร่วมพัฒนา

3.3 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

3.3.1 ประชากรที่ใช้ในการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ได้แก่นักเรียนโรงเรียนบ้านใหม่สามัคคี ปีการศึกษา 2560 จำนวน 261 คน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 250 คน

3.3.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสำรวจความพึงพอใจที่มีต่อการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านใหม่สามัคคี ได้แก่ คณะครู นักเรียน กรรมการสถานศึกษา กรรมการที่ปรึกษา และผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2561 ดังนี้

3.3.1 ประชากร จำนวน 381 คน ได้แก่

1) ข้าราชการครู และบุคลากร จำนวน 19 คน

2) นักเรียนชั้น ม.1– ม.3 จำนวน 92 คน

3) กรรมการสถานศึกษา จำนวน 9 คน

4) กรรมการที่ปรึกษา จำนวน 11 คน

5) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 250 คน

3.3.2 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 245 คน ได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้

1) ข้าราชการครู และบุคลากร จำนวน 9 คน

2) นักเรียนชั้น ม.1 – ม.3 จำนวน 66 คน

3) กรรมการสถานศึกษา จำนวน 5 คน

4) กรรมการที่ปรึกษา จำนวน 11 คน

5) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 154 คน

5. กรอบแนวคิดการรายงาน

ตัวแปรอิสระ

ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล

2) การคัดกรองนักเรียน

3) การส่งเสริมและการพัฒนานักเรียน

4) การป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน

5) การส่งต่อนักเรียน

(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน:2552)

ตัวแปรตาม

แก้ปัญหานักเรียน

1. มีความยากจนขาดแคลน

2. มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม

2.1 ทะเลาะวิวาท

2.2 กลุ่มเสี่ยงยาเสพติดและอบายมุข

2.2 ชู้สาว

3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเป้าหมาย

6. เครื่องมือในการรายงาน

6.1 แบบสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการแก้ปัญหาของนักเรียน

1) แบบสำรวจจำนวนนักเรียนขาดแคลนที่ได้รับการช่วยเหลือ

2) แบบสำรวจจำนวนนักเรียนที่ได้รับการพัฒนาพฤติกรรมให้ดีขึ้น

3) แบบสำรวจสถิติผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

6.2 แบบประเมินความพึงพอใจของข้าราชการครู และบุคลากร นักเรียน กรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อการพัฒนางานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจ

7. ขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือและการตรวจสอบเครื่องมือ

7.1 แบบสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการแก้ปัญหาของนักเรียน ได้แก่แบบสำรวจจำนวนนักเรียนขาดแคลนที่ได้รับความช่วยเหลือ แบบสำรวจจำนวนนักเรียนที่ได้รับการพัฒนาพฤติกรรมให้ดีขึ้น แบบสำรวจสถิติผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนพัฒนามาจากรูปแบบของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2,2546:74-76)

7.2 แบบประเมินความพึงพอใจของคณะครู และนักเรียน กรรมการสถานศึกษา กรรมการที่ปรึกษา และผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อการพัฒนางานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ได้สร้างขึ้นเองตามรายละเอียด ดังนี้

1) ศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนางานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อนำมาประมวลเป็นข้อคำถาม ในแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ

2) สร้างแบบสอบถามคณะครู และนักเรียน ตามขอบเขตเนื้อหาที่กำหนด ตามองค์ประกอบการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ด้าน การรู้จักนักเรียนรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมนักเรียน การป้องกันและแก้ปัญหานักเรียน และการส่งต่อนักเรียน โดยให้ครอบคลุมโครงการพัฒนางานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 โครงการ ได้แก่ โครงการสำรวจข้อมูลนักเรียนรายบุคคล โครงการข้อมูลสารสนเทศ โครงการเก่ง ดี มีสุข โครงการเด็กดีสร้างได้ และโครงการเครือข่ายร่วมพัฒนา

3) การสร้างประเด็นสนทนากลุ่มเพื่อประเมินความพึงพอใจของกรรมการสถานศึกษา กรรมการที่ปรึกษา และผู้ปกครองนักเรียน สร้างตามขอบเขตของเนื้อหาโดยกำหนดประเด็นให้ครอบคลุมเนื้อหาที่ต้องการทราบ คือ ขอบข่ายการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ด้าน การรู้จักนักเรียนรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมนักเรียน การป้องกันและแก้ปัญหานักเรียน และการส่งต่อนักเรียน โดยให้ครอบคลุมโครงการพัฒนางานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 โครงการ ได้แก่ โครงการสำรวจข้อมูลนักเรียนรายบุคคล โครงการข้อมูลสารสนเทศ โครงการเก่ง ดี มีสุข โครงการเด็กดีสร้างได้ และโครงการเครือข่ายร่วมพัฒนา

4) หาความเที่ยงตรง (Validity) ของแบบสอบถาม โดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) ของการจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 3 ท่าน ซึ่งแบบสอบถามฉบับของคณะครูทุกข้อมีค่าความเที่ยงตรง (IOC) ระหว่าง 0.67-1 ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ คือ 0.5 ทุกข้อ ส่วนแบบสอบถามฉบับของนักเรียนมีค่าความเที่ยงตรง (IOC) ระหว่าง 0.67-1 จำนวน 19 ข้อ และมีค่าต่ำกว่า 0.5 จำนวน 7 ข้อ ผู้รายงานจึงตัดข้อที่มีค่าต่ำกว่า 0.5 ในฉบับของนักเรียนออก

5) หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถาม ดังนี้

5.1) นำไปทดลองใช้ (Try Out) กับคณะครู และนักเรียนโรงเรียนบ้านม่วงค่อม และโรงเรียนบ้านเขายายกะตา ซึ่งเป็นโรงเรียนในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 จำนวน 30 คน

5.2) หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ( Alpha Coefficient) ตามวิธีการของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) 0.878

8. การเก็บรวบรวมข้อมูล

ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาสรุปผลการประเมิน และการวิเคราะห์ผล ได้ดำเนินการ ดังนี้ 8.1 การเก็บรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการพัฒนางานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจ ตรวจสอบ สอบถาม และสังเกตผลการดำเนินงานในระหว่างดำเนินโครงการ และสิ้นสุดโครงการ ดังนี้

1) การรู้จักนักเรียนรายบุคคลพัฒนาโดยใช้โครงการสำรวจข้อมูลนักเรียน

รายบุคคลเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 10 – 20 เดือน มีนาคม 2561 โดยคณะทำงาน

2) การคัดกรองนักเรียนพัฒนาโดยใช้โครงการข้อมูลสารสนเทศเก็บรวบรวม

ข้อมูลระหว่างวันที่ 10 – 20 เดือน มีนาคม 2561 โดยคณะทำงาน

3) การส่งเสริมและพัฒนานักเรียนพัฒนาโดยใช้โครงการ เก่ง ดี มีสุข เก็บ

รวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 10 – 20 เดือน มีนาคม 2561 โดยคณะทำงาน

4) การป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียนพัฒนาโดยใช้โครงการเด็กดีสร้างได้

เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 10 – 20 เดือน มีนาคม 2561 โดยคณะทำงาน

5) การส่งต่อนักเรียนพัฒนาโดยใช้โครงการภาคีเครือข่ายร่วมพัฒนาเก็บ

รวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 10 – 20 เดือน มีนาคม 2561 โดยคณะทำงาน

8.2 การเก็บข้อมูลการแก้ปัญหาของนักเรียนกลุ่มประชากรที่ใช้พัฒนา ได้ดำเนินการ ดังนี้

1) ปัญหาความยากจนขาดแคลน ได้มอบหมายให้ครูประจำชั้น สำรวจจำนวนนักเรียนขาดแคลนที่ได้รับความช่วยเหลือ เมื่อสิ้นปีการศึกษา 2560 และสิ้นปีการศึกษา 2561

2) ปัญหาพฤติกรรมไม่เหมาะสม ได้มอบหมายให้ครูประจำชั้น สำรวจจำนวนนักเรียนที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ที่ได้รับการพัฒนาพฤติกรรมให้ดีขึ้น เมื่อสิ้นปีการศึกษา 2560 และสิ้นปีการศึกษา 2561

3) ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยต่ำกว่าเป้าหมาย ได้มอบหมายให้ครูผู้สอนประจำวิชา สำรวจผลการเรียน (ระดับโรงเรียน) โดยเฉลี่ยของนักเรียน เมื่อสิ้นปีการศึกษา 2560 และเมื่อสิ้นปีการศึกษา 2561 ผลการเรียนระดับชาติ การวัดความสามารถขั้นพื้นฐาน (Reading Test : RT) ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2560 และปีการศึกษา 2561 การวัดความสามารถขั้นพื้นฐาน (National Test : NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2560 และ ปีการศึกษา 2561 การทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2560 และ ปีการศึกษา 2561

8.3 การเก็บรวบรวมข้อมูลความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้สำรวจ ได้แก่คณะครู นักเรียน กรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อการพัฒนางานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านใหม่สามัคคี ได้ดำเนินการดังนี้

1) มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียนแจกแบบสอบถามให้คณะครู ได้ตอบแบบสอบถามและเก็บคืน ระหว่างวันที่ 10-15 มีนาคม 2562

2) มอบหมายให้ครูประจำชั้น คือมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แจกแบบสอบถามแก่นักเรียนในชั้นของตนเองที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ได้ตอบแบบสอบถามและเก็บคืน ระหว่างวันที่ 10-15 มีนาคม 2562

3) ผู้อำนวยการโรงเรียน เป็นผู้นำการสนทนากลุ่ม (Focus group) กรรมการสถานศึกษา กรรมการที่ปรึกษาโรงเรียนบ้านใหม่สามัคคี และมอบหมายให้ครูประจำชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นผู้นำการสนทนากลุ่ม (Focus group) ผู้ปกครองนักเรียนของชั้นตนเองที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยแยกกันประชุมในแต่ละกลุ่ม กำหนดระหว่างวันที่ 10-15 มีนาคม 2562 มีขั้นตอนในการสนทนา ดังนี้

9. การจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล ในการจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล ดำเนินการดังนี้

9.1 ข้อมูลผลการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ดำเนินการโดยตรวจนับผลการดำเนินงานตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ของแต่ละโครงการในด้านปริมาณ ด้านคุณภาพโดยการบรรยายสรุป

9.2 ข้อมูลเกี่ยวกับการแก้ปัญหาของนักเรียน

1) จำนวนนักเรียนขาดแคลนที่ได้รับการช่วยเหลือ ได้นำแบบสำรวจมาสรุปตามรายชั้นเรียน โดยนับจำนวนเต็ม เทียบเป็นร้อยละ

2) จำนวนนักเรียนที่ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น ได้นำแบบสำรวจมาสรุปเป็นรายชั้น รายปัญหา โดยนับจำนวนเต็ม เทียบเป็นร้อยละ

3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้นำแบบสำรวจผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมาสรุปตามรายกลุ่มสาระการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ

9.3 ข้อมูลความพึงพอใจของคณะครู และนักเรียนที่มีต่อการพัฒนางานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านใหม่สามัคคี ดำเนินการดังนี้

1) ตรวจสอบแบบสอบถามที่เก็บได้ เฉพาะฉบับที่ตอบแบบสอบถามได้ครบทุกข้อ ได้แบบสอบถามจำนวน 120 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100

2) คัดแยกแบบสอบถาม จำแนกตามกลุ่มตัวอย่าง

3) ตรวจให้คะแนนแบบสอบถามตอนที่ 2 ตามเกณฑ์ ดังนี้

มีความพึงพอใจมากที่สุด ให้ 5 คะแนน

มีความพึงพอใจมาก ให้ 4 คะแนน

มีความพึงพอใจปานกลาง ให้ 3 คะแนน

มีความพึงพอใจน้อย ให้ 2 คะแนน

มีความพึงพอใจน้อยที่สุด ให้ 1 คะแนน

4) หาค่าเฉลี่ยรายข้อและค่าเฉลี่รวม โดยใช้เกณฑ์ในการแปลความหมาย ดังนี้ (ประคอง กรรณสูตร, 2542 : 40)

คะแนนเฉลี่ย 4.50-5.00 หมายถึง มีความพึงพอใจมากที่สุด

คะแนนเฉลี่ย 3.50-4.49 หมายถึง มีความพึงพอใจมาก

คะแนนเฉลี่ย 2.50-3.49 หมายถึง มีความพึงพอใจปานกลาง

คะแนนเฉลี่ย 1.50-2.49 หมายถึง มีความพึงพอใจน้อย

คะแนนเฉลี่ย 1.00-1.49 หมายถึง มีความพึงพอใจน้อยที่สุด

3.7.4 ข้อมูลความพึงพอใจของกรรมการสถานศึกษา กรรมการที่ปรึกษา และผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อการพัฒนางานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ที่ได้จากการสนทนากลุ่มนำมาวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แล้วนำเสนอแบบพรรณนาความ

10. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้รายงานใช้สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่

10.1 ค่าร้อยละ

10.2 ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC)

10.3 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยหาค่าสัมประสิทธิ์

10.4 ค่าเฉลี่ย

10.5 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน

11. อภิปรายผล

การพัฒนางานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านใหม่สามัคคี ตามองค์ประกอบการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการรู้จักนักเรียนรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมนักเรียน การป้องกันและช่วยเหลือนักเรียน และการส่งต่อนักเรียน โดยใช้โครงการพัฒนา จำนวน 5 โครงการ ได้แก่ โครงการสำรวจข้อมูลนักเรียนรายบุคคล โครงการข้อมูลสารสนเทศ โครงการ เก่ง ดี มีสุข โครงการเด็กดีสร้างได้ และโครงการภาคีเครือข่ายร่วมพัฒนาซึ่งได้ดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2560 สิ้นสุดโครงการ ในปีการศึกษา 2561 รวมระยะเวลาในการพัฒนา จำนวน 2 ปีการศึกษา ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งมีประเด็นที่นำมาอภิปราย ดังนี้

11.1 ผลการดำเนินงานตามโครงการพัฒนางานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

1) โครงการสำรวจข้อมูลนักเรียนรายบุคคล จากการดำเนินงานพัฒนาตามดครงการทำให้ครูทราบสถานภาพของนักเรียนทุกคน ทุกด้าน ทั้งด้านสถานภาพครอบครัว ด้านสุขภาพ ด้านพฤติกรรม และด้านการเรียน ทั้งสถานภาพที่เป็นปัญหา และที่เป็นจุดเด่น รวมถึงความถนัดและความสนใจของนักเรียนแต่ละคน สามารถสนับสนุน และดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้สอดคล้องกับความถนัดและความสนใจ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะคณะครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนบ้านใหม่สามัคคีทุกคน เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการเก็บรวบรวมข้อมูลนักเรียนรายบุคคล จึงหาความรู้เพิ่มเติมโดยเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการคัดกรองนักเรียนด้านต่าง ๆ จากหน่วยงานต้นสังกัด และแหล่งเรียนรู้จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สถาบันการศึกษาพิเศษและการสงเคราะห์ กรมอนามัย และแหล่งเรียนรู้ online จนเกิดความชัดเจนในการปฏิบัติ ปฏิบัติการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยออกเยี่ยมบ้านนักเรียน สัมภาษณ์ผู้ปกครองและนักเรียน และเก็บข้อมูลจากเอกสารอื่น ๆ เช่น แฟ้มสะสมงานของนักเรียน ข้อมูลด้านการอ่าน การเขียนการคิดเลข บันทึกข้อมูลด้านสุขภาพ เป็นต้น สามารถรวบรวมข้อมูลได้ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งด้านความรู้ความสามารถ ด้านครอบครัว ด้านสุขภาพ และด้านพฤติกรรมนักเรียน อันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนานักเรียนได้ตรงประเด็นมากขึ้น

2) โครงการข้อมูลสารสนเทศ ผลการจัดทำข้อมูลสารสนเทศทำให้โรงเรียนมีระบบข้อมูล

สารสนเทศระดับโรงเรียน ที่ทันสมัย ชัดเจน ถูกต้อง และคลอบคลุมสถานภาพทุกด้านของนักเรียน สามารถบริการข้อมูล แก่บุคลากรฝ่ายต่าง ๆ เพื่อนำไปวางแผนส่งเสริมและพัฒนานักเรียน ตามสถานภาพทุกด้าน ได้อย่างรวดเร็ว นักเรียนทุกกลุ่ม ได้รับการดูแลช่วยเหลือตรงตามความต้องการ ตรงตามสถานภาพ ทั้งด้านความยากจนขาดแคลน ด้านพฤติกรรม และด้านการเรียน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะความเอาใจใส่ ความรับผิดชอบ และความเสียสละของคณะครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านใหม่สามัคคี ในการดำเนินงานรวบรวมข้อมูลนักเรียนอย่างเป็นระบบ เป็นปัจจุบัน นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการจัดเก็บข้อมูล นำข้อมูลไปไว้ในเว็บไซต์ของโรงเรียน ทำให้ข้อมูลทันสมัยสืบค้นได้ง่าย และรวดเร็ว จึงทำให้มีระบบข้อมูลสารสนเทศของนักเรียนที่มีประสิทธิภาพ พร้อมนำไปใช้ในการวางแผนพัฒนานักเรียนได้ตลอดเวลา

3) โครงการเก่ง ดี มีสุข ผลจากการดำเนินโครงการ เก่ง ดี มีสุขทำให้นักเรียนมีความพร้อมด้านการเรียน มีความพร้อมด้านจิตใจ มีพฤติกรรมเป็นคนดีของสังคม ในการประพฤติตนในทางที่ดี ด้านวินัย และความรับผิดชอบ มีทักษะพื้นฐานในการดำรงชีวิต มีพื้นฐานการประกอบอาชีพ มีแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข ตามสถานภาพของตนเอง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผู้บริหารมีกระบวนการบริหารที่ดี ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม มีการสื่อสารทำความเข้าใจกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย อย่างชัดเจน ครูมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะส่งเสริมพัฒนานักเรียน นำกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาไปสอดแทรกในกิจกรรมการเรียนการสอนทุกขั้นตอน มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน มีกระบวนการเรียนการสอนแบบร่วมมือ นักเรียนเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง ในสถานการณ์จริง จึงเกิดทักษะและความรู้ความชำนาญ

4) โครงการเด็กดีสร้างได้ ผลการดำเนินโครงการเด็กดีสร้างได้ทำให้นักเรียนมีพฤติกรรมเป็นคนดี ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและอบายมุข มีความรักความสามัคคี ไม่ทะเลาะวิวาท ไม่ประพฤติผิดทางชู้สาว สามารถใช้ชีวิตในสภาพแวดล้อมสังคมปัจจุบันได้อย่างมีความสุข ทั้งนี้อาจเป็นเพราะความตระหนักของผู้บริหารและคณะครูที่มีความมุ่งมั่นในการที่จะป้องกันและแก้ปัญหานักเรียน แบบมีส่วนร่วม ผู้บริหารและคณะครูใช้ความมีมนุษยสัมพันธ์ ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ขอรับความช่วยเหลือ ความร่วมมือ ทั้งเรื่องการแก้ปัญหายาเสพติด ทั้งเรื่องพฤติกรรม รวมทั้งขอความช่วยเหลือด้านทุนการศึกษา เพื่อนำมาช่วยเหลือนักเรียน

5) โครงการภาคีเครือข่ายร่วมพัฒนา โครงการภาคีเครือข่ายร่วมพัฒนาทำให้นักเรียนมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี แสดงให้เห็นว่ามีระบบการส่งต่อนักเรียนที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผู้บริหารใช้กระบวนการบริหารแบบ PIE มีการวิเคราะห์ข้อมูลด้านต่าง ๆ เพื่อการวางแผน (Planning) สร้างทางเลือกและเสนอข้อมูลแก่ผู้ที่มีส่วนร่วมประกอบการตัดสินใจในการดำเนินงาน นำแผนสู่การปฏิบัติ (Implementation) ด้วยกลยุทธ์ร่วมคิดร่วมทำร่วมเป็นเจ้าของ ร่วมภาคภูมิใจในผลงาน และหลักความมีมนุษยสัมพันธ์ในการประสานงานกับบุคลากรและหน่วยงานต่าง ๆ วัดและประเมินผล (Evaluation) งานที่ปฏิบัติเพื่อนำข้อบกพร่องมาหารือหาวิธีการแก้ไขปัญหาร่วมกัน จากกระบวนการบริหารของผู้บริหาร ทำให้ครูมีความรู้สึกว่าไม่ถูกสั่งให้ทำงาน แต่ทำงานจากสิ่งที่ครูคิดเอง จึงเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของงาน เกิดความภาคภูมิใจในผลงาน ชุมชนและองค์กรต่าง ๆ มีความรู้สึกว่าได้รับเกียรติในการมีส่วนร่วมในการทำงาน จึงให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

11.2 ผลการแก้ปัญหานักเรียน

1) การแก้ปัญหานักเรียนยากจนขาดแคลน จากการติดตามผลการดำเนินงาน สังเกตพฤติกรรมนักเรียน สังเกตความกระตือรือร้น ความเอาใจใส่ และความตั้งใจของนักเรียน เพื่อให้ทราบผลการช่วยเหลือนักเรียนแต่ละคน นักเรียนที่มีปัญหาความยากจนขาดแคลน เมื่อได้รับการช่วยเหลือ ปัญหาได้บรรเทาลงหรือหมดไป จะสามารถศึกษาเล่าเรียนได้อย่างเต็มกำลังความสามารถ ไม่ขาดเรียนบ่อย สุขภาพจิตดี ร่าเริงแจ่มใส สุขภาพกายแข็งแรง มีกำลังใจในการศึกษาเล่าเรียน ทั้งนี้ต้องเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม โดยคณะครูและกรรมการสถานศึกษาช่วยกันคิดหาแนวทางแก้ปัญหา แล้วจึงระดมทุนจากทุกภาคส่วนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนช่วยเหลือนักเรียน เช่น หน่วยงาน มูลนิธิ บริษัท ห้างร้าน และองค์กรการกุศลต่าง ๆ จึงทำให้เกิดความสำเร็จดังที่กล่าวมา

2) การแก้ปัญหานักเรียนที่แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม ผลจากการพัฒนางานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามโครงการพัฒนาทำให้นักเรียนมีพฤติกรรมดีขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้ เป็นเพราะโรงเรียนบ้านใหม่สามัคคีได้รับความร่วมมือร่วมใจจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย การแก้ปัญหาพฤติกรรมนักเรียนจึงประสบความสำเร็จด้วยดี

3) การแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเป้าหมาย จากการดำเนินการพัฒนานักเรียนด้วย 5 โครงการ ผลทำให้นักเรียนมีผลสำฤทธิ์ทางการเรียนเป็นไปตามเป้าหมาย อาจเนื่องมาจากการที่นักเรียนได้รับการดูแลจากระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านใหม่สามัคคี จนสามารถปรับพฤติกรรมของตนเองได้ดีขึ้น มีความพร้อมในการเรียน และเรียนได้เต็มศักยภาพ เต็มกำลังความสามารถ เช่น นักเรียนยากจนขาดแคลนได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษา ค่าพาหนะ ค่าอาหารกลางวัน ค่าเครื่องเขียนแบบเรียน ค่าเครื่องแต่งกายและชุดกีฬา รวมถึงการส่งเสริมให้มีรายได้ระหว่างเรียน จึงมีกำลังใจมาเรียนและตั้งใจเรียนดีขึ้น ส่วนนักเรียนที่มีปัญหาพฤติกรรม เมื่อได้รับการดูแลจากระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน บ่มเพาะพัฒนานักเรียนให้เป็นคนดี ภายใต้ความเชื่อเด็กดีสร้างได้ ด้วยโครงการเด็กดีสร้างได้ จนมีพัฒนาพฤติกรรมดีขึ้น ไม่มีปัญหาทะเลาะวิวาท สุ่มเสี่ยงในเรื่องยาเสพติดและอบายมุข และปัญหาชู้สาว และโครงการเก่ง ดี มีสุข จัดกิจกรรมคลินิกวิชาการส่งเสริมพัฒนาด้านการเรียน ให้กับนักเรียนทุกลุ่ม ทั้งกลุ่มเก่ง กลุ่มอ่อน และกลุ่มบกพร่องทางการเรียนรู้ พัฒนาข้อบกพร่องทางการเรียนของนักเรียนตามความแตกต่างของแต่ละบุคคล ส่งผลให้นักเรียนหันมาเอาใจใส่เรื่องการเรียนมากขึ้น ตั้งใจเรียน จนสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ตามเป้าหมายที่กำหนด

11.3 ผลความพึงพอใจของคณะครู นักเรียน กรรมการสถานศึกษา กรรมการที่ปรึกษา และผู้ปกครองนักเรียน พบว่า ครูมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด นักเรียนมึวามพึงพอใจระดับมาก ส่วนกรรมการสถานศึกษา กรรมการที่ปรึกษา และผู้ปกครองนักเรียนมีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า นักเรียนมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี มีความพร้อมในการเรียน โรงเรียนผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่ 4 ผ่านเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด ได้รับการยืนยันจาก สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)

โพสต์โดย เตือน : [13 ก.พ. 2564 เวลา 09:54 น.]
อ่าน [4514] ไอพี : 49.48.247.96
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 13,196 ครั้ง
10 วิธีสร้าง "บ้านสุข" ที่ไม่ใช่แค่ทฤษฎี
10 วิธีสร้าง "บ้านสุข" ที่ไม่ใช่แค่ทฤษฎี

เปิดอ่าน 17,548 ครั้ง
กินช็อกโกแลต ดื่มชาและเหล้าไวน์ ช่วยบำรุงสติปัญญาได้
กินช็อกโกแลต ดื่มชาและเหล้าไวน์ ช่วยบำรุงสติปัญญาได้

เปิดอ่าน 27,598 ครั้ง
องค์ประกอบของมัลติมีเดีย
องค์ประกอบของมัลติมีเดีย

เปิดอ่าน 15,360 ครั้ง
ประโยชน์ของ ADSL
ประโยชน์ของ ADSL

เปิดอ่าน 15,606 ครั้ง
สตอร์มเสิร์จ (Storm surge) คืออะไร
สตอร์มเสิร์จ (Storm surge) คืออะไร

เปิดอ่าน 12,744 ครั้ง
ทดลองวิทยาศาสตร์ หน้าชั้นเรียน ทำเอารร.แทบไหม้
ทดลองวิทยาศาสตร์ หน้าชั้นเรียน ทำเอารร.แทบไหม้

เปิดอ่าน 46,846 ครั้ง
บัญชีเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
บัญชีเงินเดือนข้าราชการพลเรือน

เปิดอ่าน 17,883 ครั้ง
ระบบการศึกษา กุญแจความสำเร็จของเกาหลี
ระบบการศึกษา กุญแจความสำเร็จของเกาหลี

เปิดอ่าน 15,891 ครั้ง
อยากรวย! ต้องขยันอ่านหนังสือ เคล็ดลับความรวยที่ไม่ค่อยมีใครบอก!!
อยากรวย! ต้องขยันอ่านหนังสือ เคล็ดลับความรวยที่ไม่ค่อยมีใครบอก!!

เปิดอ่าน 11,410 ครั้ง
โรคไบโพลาร์
โรคไบโพลาร์

เปิดอ่าน 16,674 ครั้ง
ไม่ชอบออกกำลังกาย ก็แข็งแรงได้ด้วย 10 วิธีนี้
ไม่ชอบออกกำลังกาย ก็แข็งแรงได้ด้วย 10 วิธีนี้

เปิดอ่าน 55,552 ครั้ง
ธรรมชาติของห่วงโซ่อาหาร
ธรรมชาติของห่วงโซ่อาหาร

เปิดอ่าน 39,600 ครั้ง
การคิดเลขในใจ
การคิดเลขในใจ

เปิดอ่าน 26,935 ครั้ง
แมงมุม
แมงมุม

เปิดอ่าน 19,783 ครั้ง
สมุนไพร"บัวบก"คุณค่าที่มากกว่าแก้ช้ำใน
สมุนไพร"บัวบก"คุณค่าที่มากกว่าแก้ช้ำใน

เปิดอ่าน 1,355 ครั้ง
"สมาคมธนาคารไทย" แนะ 6 วิธีป้องกันแอปดูดเงิน
"สมาคมธนาคารไทย" แนะ 6 วิธีป้องกันแอปดูดเงิน
เปิดอ่าน 15,209 ครั้ง
พระสรัสวดี
พระสรัสวดี
เปิดอ่าน 153,174 ครั้ง
เพลง   :   Jingle Bell
เพลง : Jingle Bell
เปิดอ่าน 9,884 ครั้ง
ประหยัดน้ำมันทำยังไง
ประหยัดน้ำมันทำยังไง
เปิดอ่าน 11,117 ครั้ง
 ประโยชน์ของการดื่มน้ำ
ประโยชน์ของการดื่มน้ำ

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ