ชื่อเรื่อง : รายงานการนิเทศเพื่อพัฒนาครูโดยใช้ชุดฝึกอบรม เรื่อง การสร้างหนังสือ
อิเล็กทรอนิกส์ (e-book) สำหรับครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ใน
โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ศรีสะเกษ เขต 2
ผู้รายงาน : ว่าที่ร้อยตรีชาตรี ไชยโยธา
ตำแหน่ง : ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ชำนาญการ
สังกัด : กลุ่มงานส่งเสริม พัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2
ปีที่รายงาน พ.ศ. 2562
บทคัดย่อ
รายงานการนิเทศเพื่อพัฒนาครูโดยใช้ชุดฝึกอบรม เรื่อง การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
(e-book) สำหรับครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อพัฒนาชุดฝึกอบรมการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) ให้มีประสิทธิภาพไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2)เพื่อเปรียบเทียบความรู้ของครูก่อนและหลังการอบรม เรื่องการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อการใช้ชุดฝึกอบรมเรื่อง การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อการนิเทศติดตามการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) กลุ่มเป้าหมาย ที่ใช้ในการรายงานครั้งนี้เป็นครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 จำนวน 25 คน ที่ได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้เวลาอบรม 18 ชั่วโมงเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 1) ชุดฝึกอบรม เรื่องการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) จำนวน 5 หน่วย ใช้เวลาอบรม 18 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 3) แบบวัดความพึงพอใจที่ใช้ชุดฝึกอบรมการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) จำนวน 10 ข้อ แบบตรวจสอบรายการ 4) แบบวัดความพึงพอใจของครูที่มีต่อการนิเทศ ติดตาม การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) จำนวน 10 ข้อ แบบตรวจสอบรายการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดฝึกอบรม เรื่อง การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) มีประสิทธิภาพมีค่าเท่ากับ 87.57/89.91 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ครูที่เข้ารับการอบรมโดยชุดฝึกอบรม เรื่อง การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) มีความรู้ความเข้าใจ หลังการอบรมสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
3. ครูที่เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจต่อการใช้ชุดฝึกอบรม เรื่อง การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) อยู่ในระดับมากที่สุด
4. ครูมีความพึงพอใจต่อการนิเทศ ติดตาม การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) อยู่ในระดับมาก
โดยสรุปรายงานการนิเทศเพื่อพัฒนาครูโดยใช้ชุดฝึกอบรม เรื่อง การสร้างหนังสือ
อิเล็กทรอนิกส์ (e-book) สำหรับครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดีจึงควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาชุดสื่อการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในหลายๆรูปแบบเพื่อให้มีความเหมาะสมกับการเรียนการสอนในรายวิชาที่มีเนื้อหาที่เข้าใจยากจะทำให้ผู้ศึกษาหาความรู้ได้มีเวลาศึกษาด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น