บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชันนิซึม เพื่อส่งเสริม
ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสร้างสรรค์ชิ้นงานแอนิเมชั่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชันนิซึมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสร้างสรรค์ชิ้นงานแอนิเมชั่นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชันนิซึมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสร้างสรรค์ชิ้นงานแอนิเมชั่นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชันนิซึมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสร้างสรรค์ชิ้นงานแอนิเมชั่นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชันนิซึมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสร้างสรรค์ชิ้นงานแอนิเมชั่นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผลการวิจัยพบว่า
1) ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชันนิซึมเพื่อ
ส่งเสริมความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสร้างสรรค์ชิ้นงานแอนิเมชั่นส าหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีโรงเรียนประทายมุ่งส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะการคิด ทักษะการใช้เทคโนโลยี ทักษะการใช้ชีวิตเน้นการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน และส่งเสริมความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนประทาย
2)รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชันนิซึมเพื่อส่งเสริมความสามารถใน
การใช้เทคโนโลยีสร้างสรรค์ชิ้นงานแอนิเมชั่นส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5มีองค์ประกอบ 8องค์ประกอบได้แก่ 1)หลักการ2)วัตถุประสงค์ 3)กระบวนการจัดการเรียนรู้
4)สาระความรู้ 5)ระบบสังคม6) หลักการตอบสนอง7) สิ่งสนับสนุนการจัดการเรียนรู้8)สิ่งส่งเสริมการเรียนรู้โดยมีขั้นตอนการเรียนรู้6 ขั้นตอนได้แก่ 1) ขั้นสร้างแรงจูงใจ (Motivation) 2) ขั้นวางแผนและออกแบบการเรียนรู้ (Planning and Designing) 3) ขั้นปฏิบัติการเรียนรู้(Practice) 4) ขั้นจัดองค์ความรู้(Comprehension)5) ขั้นน าเสนอผลงาน (Presentation) 6)ขั้นวิเคราะห์และประเมินผล (Analyzingand Evaluating) เมื่อน าไปทดลองใช้เพื่อหาประสิทธิภาพ (E1/E2)ได้ค่าประสิทธิภาพเท่ากับ
82.94/81.67สูงกว่าเกณฑ์ที่ก าหนดไว้ 80/80ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1
3)ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชันนิซึมเพื่อส่งเสริม
ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสร้างสรรค์ชิ้นงานแอนิเมชั่นส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5ผลปรากฏว่านักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2.1 และความสามารถในการใช้เทคโนโลยีของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยข้อที่2.2
4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตาม
ทฤษฎีคอนสตรัคชันนิซึมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสร้างสรรค์ชิ้นงานแอนิเมชั่นส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด