การพัฒนานักเรียนตามแนวทางพุทธศาสตร์โดยใช้เทคนิค 3ร (ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ) โรงเรียนบ้านหมากหัววัง จังหวัดลำปาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อให้นักเรียนได้รับการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ตามที่โรงเรียนบ้านหมากหัววังกำหนดไว้ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการเสริมสร้างหลักไตรสิกขา สำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านหมากหัววังให้ยั่งยืน 3) เพื่อแก้ปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมากหัววัง 4) เพื่อสร้างให้นักเรียนเข้าใจหลักปฏิบัติของชาวพุทธที่ดี และปลูกศรัทธาในตัวนักเรียนนักเรียนสามารถแก้ไขปัญหาได้ โดยอาศัยหลักธรรมเป็นหลักในการดำเนินชีวิต
จากการดำเนินการ การพัฒนานักเรียนตามแนวทางพุทธศาสตร์โดยใช้เทคนิค 3ร (ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ) โรงเรียนบ้านหมากหัววัง จังหวัดลำปาง มีผลการดำเนินงานดังนี้
1. นักเรียนได้รับการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ตามที่โรงเรียนบ้านหมากหัววังกำหนดไว้
2. โรงเรียนบ้านหมากหัววังมีรูปแบบการเสริมสร้างหลักไตรสิกขา สำหรับนักเรียนโรงเรียน บ้านหมากหัววังให้ยั่งยืน
3. รูปแบบการเสริมสร้างหลักไตรสิกขา สำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านหมากหัววังสร้างขึ้น สามารถแก้ปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมากหัววัง
4. นักเรียนเข้าใจหลักปฏิบัติของชาวพุทธที่ดี และปลูกศรัทธาในตัวนักเรียน โดยนักเรียนสามารถแก้ไขปัญหาได้ โดยอาศัยหลักธรรมเป็นหลักในการดำเนินชีวิต
จากการดำเนินการ การพัฒนานักเรียนตามแนวทางพุทธศาสตร์โดยใช้เทคนิค 3ร (ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ) โรงเรียนบ้านหมากหัววัง จังหวัดลำปาง ส่งผลต่อคุณค่าทางด้านการส่งเสริมศีลธรรม จริยธรรม คุณธรรมดังนี้
1.ครูมีลักษณะเป็นครูมืออาชีพ ที่จะพัฒนานักเรียนตามแนวทางพุทธศาสตร์ โดยมีลักษณะสำคัญ 4 ด้านดังนี้
ภูมิรู้ เป็นผู้ที่มีพื้นฐานความรู้ มีสติปัญญาดี บูรณาการของหลักไตรสิขาได้
ภูมิธรรม การประพฤติดี กระทำในสิ่งที่ดี มีหลักฆราวาสธรรม
ภูมิปัญญา เป็นผู้มีพื้นความฉลาดปราดเปรื่อง มีความฉลาดทางปัญญาคู่กับความฉลาดทาง ด้านอารมณ์
ภูมิฐาน เป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพดี มีลักษณะเป็นครูที่ดี น่าเชื่อถือ
2. ให้เกิดการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม เกิดขึ้นกับผู้เรียน ดังนี้
1. นักเรียนมีศีล 5 เป็นพื้นฐานแห่งการดำเนินชีวิต
2. นักเรียนมีวินัย มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลามากขึ้น
3. นักเรียนมีจิตเมตตากรุณา รู้จักแบ่งปันต่อเพื่อมนุษย์
4. นักเรียนรู้จักอดทนขยัน หมั่นเพียร ทำงานและเรียนรู้อย่างตั้งใจ
5. นักเรียนมีสุขภาวะจิตที่ดีขึ้น มีศรัทธา และความเข้าใจถูกต้องในพระรัตนตรัย
6. ใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา แสวงหาความจริงพัฒนางานอยู่เสมอ
7. นักเรียนสามารถนำบทเรียนหลักไตรสิกขา ที่ครูสอนได้ถูกต้อง