ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการ เพื่อส่งเสริม
การคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์และการรู้เรื่องคณิตศาสตร์
(Mathematical Literacy) ตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางสาวชุษณมน ชัยโยธา
หน่วยงาน โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม
องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ปีที่วิจัย 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์และการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy) ตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อประเมินประสิทธิของผลการใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์และการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy) ตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ดังนี้ (2.1) เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการสอน (2.2) เปรียบเทียบการคิดสังเคราะห์ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการสอน (2.3) เปรียบเทียบการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการสอน (2.4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการสอน และ 3) เพื่อขยายผลการใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์และการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy) ตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม จำนวน 32 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการขยายผลการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 1/2562 โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการ 2) คู่มือการใช้รูปแบบ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ 5) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ 6) แบบทดสอบวัดการคิดสังเคราะห์ 7) แบบทดสอบวัดการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ และ 8) แบบสอบถามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนขยายผลที่มีต่อรูปแบบการสอนแบบบูรณาการ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทีแบบไม่เป็นอิสระ
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์และการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy) ตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า SPACE Model ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ (1) องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ (2) องค์ประกอบเชิงกระบวนการ ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ คือ ขั้นที่ 1 ขั้นกระตุ้นและทบทวนประสบการณ์เดิม (Stimulant and Review of Experience) ขั้นที่ 2 ขั้นนำเสนอเนื้อหา (Presentation) ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติกิจกรรม (Activities Integration) ขั้นที่ 4 ขั้นการสื่อสารและนำเสนอผลงาน (Communication Skill) ขั้นที่5ขั้นประเมินผล(Evaluation) และ (3) องค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ โดยผลการทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์และการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy) ตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ( SPACE Model) ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.16/81.35
2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์และการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy) ตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า
2.1) นักเรียนมีผลการทดสอบการคิดวิเคราะห์หลังเรียนตามรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการสูงกว่าก่อนเรียน
2.2) นักเรียนมีผลการทดสอบการคิดสังเคราะห์หลังเรียนตามรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการสูงกว่าก่อนเรียน
2.3) นักเรียนมีผลการทดสอบการรู้เรื่องคณิตศาสตร์หลังเรียนตามรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการสูงกว่าก่อนเรียน
2.4) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการโดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก
3. ผลการขยายผลรูปแบบการสอน พบว่า หลังการใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์และการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy) ตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก และครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีความคิดเห็นต่อรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์และการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy) ตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก