การประเมินนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินโครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ ในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ภายใต้กรอบการประเมินเชิงระบบตามรูปแบบ CIPPIEST Model ดังนี้ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ ในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ ในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ ในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ ในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 5) เพื่อประเมินผลกระทบของโครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ ในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 6) เพื่อประเมินประสิทธิผลของโครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ ในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 7) เพื่อประเมินความยั่งยืนของโครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ ในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 และ 8) เพื่อประเมินการถ่ายโยงความรู้ของโครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ ในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18
กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่สอนรายวิชาออกแบบและเทคโนโลยี และรายวิชาวิทยาการคำนวณ ปีการศึกษา 2563 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ที่เข้าร่วมโครงการ โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครู นักเรียน และศึกษานิเทศก์ ในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18
จากการประเมิน พบว่า
1. ด้านบริบทของโครงการโดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
2. ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการโดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมด้านบุคลากร งบประมาณ วัสดุ-อุปกรณ์ และสถานที่ในการดำเนินการ อยู่ในระดับมากที่สุด
3. ด้านกระบวนการ ประเมินการดำเนินการบริหารงานโครงการ ตลอดจนการวางแผน การแก้ไข การปฏิบัติการดูแล ติดตาม และการนิเทศ การดำเนินงานหรือการบริหารโครงการ โดยผลการประเมินของครูที่ร่วมโครงการ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินของศึกษานิเทศก์ที่ร่วมโครงการ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ด้านผลผลิต ประเมินในด้านความรู้ความเข้าใจของครูในการจัดการเรียนรู้การออกแบบและเทคโนโลยี และวิทยาการคำนวณ โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด
5. ด้านผลกระทบ ประเมินผลสะท้อนการยอมรับจากเพื่อนครูและนักเรียน โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด
6. ด้านประสิทธิผล ประเมินผลที่เกิดกับครูผู้สอนภายหลังสิ้นสุดโครงการ ได้แก่ ความมั่นใจในองค์ความรู้ที่มีอยู่ โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด
7. ด้านความยั่งยืน ประเมินความรู้ความสามารถของครูผู้สอนในการนำความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์ที่ได้จากโครงการไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน และการมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนด้วยวิธีการที่เหมาะสม โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด
8. ด้านการถ่ายโยงความรู้ ประเมินผลที่เกิดขึ้นกับครูผู้สอนในด้านการมีผลงานด้านการจัดการเรียนการสอนที่เป็นแบบอย่าง และมีแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพกับเพื่อนร่วมงาน โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด