ชื่อเรื่อง รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม
ผู้วิจัย สวานิตย์ ศิริบูรณ์
สถานที่ โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม ประชากรผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ 1) ครูโรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม จำนวน 33 คน ซึ่งเป็นจำนวนครูที่ปฏิบัติงานในปีการศึกษา 2562 2) นักเรียนโรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม ปีการศึกษา 2562 จำนวน 236 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามสภาพและปัญหาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน จำนวน 2 ฉบับ แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน จำนวน 2 ฉบับ สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพและปัญหาของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
1.1 โดยใช้แบบสอบถามคณะครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับ น้อย ( =2.15)
1.2. โดยใช้แบบสอบถามนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับ น้อย ( =2.39)
2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 2 ส่วน
2.1 หลักการพื้นฐานของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
2.2 การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมตามแนวคิดของ เคมมิส และแม็คแทกการ์ท (Kemmis & McTaggart. 1988)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม ใช้หลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ใช้หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หลักการคืนอำนาจจัดการศึกษาให้ประชาชน (Return Power to People) หลักการบริหารตนเอง (Self-management) หลักการตรวจสอบและถ่วงดุล (Check and Balance)
4. ผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อรูปการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม พบว่า
4.1 ความพึงพอใจของครูผู้สอน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.51)
4.2 ความพึงพอใจของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.13)
4.3 ความพึงพอใจ โดยภาพรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก ( =4.32)