บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของพัฒนา
รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาศิลปะเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาศิลปะ
เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มี
ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 ที่ 80/80 และมีค่าดัชนีประสิทธิผล ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป 3) เปรียบเทียบ
ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาศิลปะ เพื่อส่งเสริม
ความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลัง
เรียน และ 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้วิชาศิลปะเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วย
รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาศิลปะเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
การดำเนินการวิจัยมี 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ (Analysis) โดยการวิเคราะห์
ข้อมูลที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ระยะที่ 2 การออกแบบและพัฒนา (Design
and Development) การดำเนินการแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) การออกแบบรูปแบบ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาศิลปะเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน คู่มือการใช้รูปแบบ ฯ แผนการ
จัดการเรียนรู้ และเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ระยะที่ 3 การนำไปใช้ (Implementation)
โดยการนำรูปแบบการเรียนการสอนไปทดลองใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 2/1 จำนวน 26 คนซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยการจับ
สลาก เนื่องจากนักเรียนในโรงเรียนเทศบาล 1 สว่างวิทยา สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลเมืองหนองคาย มีการจัดนักเรียนเข้าชั้นเรียนแบบคละความสามารถกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามแบบสัมภาษณ์ สภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในวิชาศิลปะ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาศิลปะ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 3) แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ จำนวน 30 ข้อ ประกอบด้วย 4 ด้าน 4)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบปรนัยเลือกตอบ ชนิด 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่าย ระหว่าง 0.20-0.80 มีค่าอำนาจจำแนก 0.20 ขึ้นไป และมีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.760 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที t-test
ผลการวิจัย พบว่า
1. จากการสำรวจสภาพปัญหาและผลการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 1 สว่างวิทยา สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย ผลการสำรวจพบว่า สาระสำคัญจากการศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอน ทำให้ทราบปัญหาและความต้องการของผู้เกี่ยวข้องทั้งด้านครูผู้สอนและผู้เรียน ทำให้ได้ข้อมูลพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ ที่สามารถนำไปเป็นแนวทางในการวางแผนเพี่อพัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอนให้ตอบสนองความต้องการ ความสนใจ และความสามารถของผู้เรียน และเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพโดยใช้แบบประเมินค่าดัชนีความสอดคล้องแบบวิเคราะห์เอกสาร และแบบสัมภาษณ์ จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน พบว่า มีความสอดคล้อง ผลการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ผลการสำรวจพบว่า การพัฒนาให้ผู้เรียนมีความคิดริเริมสร้างสรรค์ มีจินตนาการทางศิลปะ ชื่นชมความงาม มีสุนทรียภาพ ความมีคุณค่าซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตมนุษย์ กิจกรรมทางศิลปะช่วยพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม ตลอดจนการนำไปสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง อันเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพก็ได้
2. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาศิลปะเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.86/84.73
และมีมีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7694
3. ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้วิชาศิลปะ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้วิชาศิลปะ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. ความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
วิชาศิลปะเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด