บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านอาชีพ เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติ
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางสุกุลยา พันธ์โนเรศน์
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครอุบลราชธานี
จังหวัดอุบลราชธานี
ปีที่วิจัย 2561
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านอาชีพ เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านอาชีพ เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านอาชีพ เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านอาชีพ เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ที่ศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 27 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัด การเรียนรู้โดยใช้ทักษะปฏิบัติ 2) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน 3) แบบทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูล จะเป็นการวิเคราะห์ โดยใช้โปรแกรมคำนวณสำเร็จรูป และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สถิติที่ใช้ได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านอาชีพ
เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนอยู่ในระดับพอใช้ จากรายงานผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา (Self Assessment) ปีการศึกษา 2554-2556 สภาพปัจจุบัน มีปัญหาการจัดการเรียนการสอน ด้านการใช้สื่อ และครู มีความต้องการในการพัฒนาเทคนิคหรือกระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อช่วยพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน นักเรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม การปฏิบัติ หรือฝึกทักษะกระบวนการต่าง ๆ น้อยมากนักเรียนได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบรรยายเป็นส่วนมาก คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครอง นักเรียน ต้องการให้ครูจัดการเรียนการสอนโดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ได้ฝึกคิด ฝึกปฏิบัติ และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้มากยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะปฏิบัติงานและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
2. ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านอาชีพ เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคุณภาพและเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.50) ประสิทธิภาพจากการทดลองแบบรายบุคคล เท่ากับ 78.89/77.78 แบบกลุ่มย่อยหรือลุ่มเล็ก เท่ากับ 79.54/79.26 และแบบภาคสนาม เท่ากับ 81.28/81.89 ทักษะการปฏิบัติงานของนักเรียนจากการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านอาชีพ เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 82.59 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.58 และคะแนนร้อยละเท่ากับ 82.59 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ70
3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านอาชีพ เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่าประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านอาชีพ เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เท่ากับ 83.61/82.10 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ค่าดัชนีประสิทธิผล (The Effectiveness Index : E.I. ) มีค่าเท่ากับ 0.6908 หรือ คิดเป็นร้อยละ 69.08 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านอาชีพ เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.42