ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสอนแบบแสดงบทบาทสมมติเพื่อ
พัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางสาวเดือนฉาย อำทะวงษ์
หน่วยงาน โรงเรียนซับสมบูรณ์พิทยาลัย อำเภอโคกโพธิ์ไชย จังหวัดขอนแก่น
ปีที่พิมพ์ 2563
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสอนแบบแสดงบทบาทสมมติเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สร้างขึ้นโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสอนแบบแสดงบทบาทสมมติเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสอนแบบแสดงบทบาทสมมุติ เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสอนแบบแสดงบทบาทสมมติ เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ4) เพื่อประเมินการใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสอนแบบแสดงบทบาทสมมติเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมายสำหรับใช้ในการวิจัย จำนวน 23 คน เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนซับสมบูรณ์พิทยาลัย อำเภอโคกโพธิ์ไชย จังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน ใช้เวลา 22 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และ 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสอนแบบแสดงบทบาทสมมติเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าประสิทธิภาพ(E1 / E2) และการทดสอบสมมติฐานใช้ t test (Dependent Samples) สรุปผลการวิจัยตามลำดับดังนี้
ผลการวิจัยพบว่า
1.รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสอนแบบแสดงบทบาทสมมติเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 3 ที่สร้างขึ้นมีชื่อว่า PSPPSD Model
ประกอบด้วย 6 ขั้นตอนดังนี้ 1) ขั้นเตรียมสถานการณ์ (Preparing for situation : P) เตรียม
สถานการณ์และบทบาทสมมติให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความชัดเจน และควรมีความใกล้เคียงกับความจริง2)ขั้นเลือกผู้แสดง (Selection the performer : S) เลือกผู้แสดงให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการแสดง ผู้แสดงควรมีบุคลิกลักษณะ มีความสามารถตามบทบาทที่ต้องการ 3) ขั้นเตรียมภาษา (Preparing the language : P) ฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษทั้ง 4 ทักษะ คือ ทักษะการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน เพื่อให้สามารถใช้คำศัพท์วลีสำนวนประโยคที่ถูกต้องในการแสดงบทบาทสมมุติ 4) ขั้นเตรียมผู้สังเกตการณ์ (Preparing the observer: P) เตรียมผู้สังเกตการณ์หรือผู้ชมในการสังเกตการแสดงบทบาทสมมุติของผู้แสดงมีข้อคิดและข้อเสนอที่ได้จากการชมและบันทึกข้อมูลในการแสดงบทบาทสมมุติ 5) ขั้นแสดง (Show : S) แสดงตามบทบาทที่ได้รับมอบหมายให้แสดงโดยคำนึงถึงเวลาในการแสดง การออกเสียง การแสดงท่าทางที่เหมาะสมกับบทบาทนั้น 6) ขั้นอภิปรายและสรุปผลการแสดง(Discussion and conclusion : D) ครูและผู้เรียนร่วมกันอภิปรายผลจากเรื่องที่ได้ชมแสดงความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของแต่ละคนและสรุปความรู้ที่ได้จากการเรียนการสอนแบบแสดงบทบาทสมมุติและ
2. ประสิทธิภาพผลของรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสอนแบบแสดงบทบาทสมมติ เพื่อ
2.1 รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสอนแบบแสดงบทบาทสมมติ เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษมีค่าประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ E1/E2=80.43/80.54 ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานที่
2.2 คะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน โดยใช้วิธีการสอนแบบแสดงบทบาทสมมติ เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีค่าเฉลี่ย 25.73 และ 32.21 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพบว่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.3 นักเรียนมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสอนแบบแสดงบทบาทสมมติเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
สรุปได้ว่า รูปแบบการเรียนการสอน โดยใช้วิธีการสอนแบบแสดงบทบาทสมมติเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ ช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น ช่วยพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงตามขึ้นไปด้วย และช่วยนักเรียนให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการวิจัยได้