ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์และความคงทนทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง
สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
(Problem Based Learning) ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังความคิด
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 : การวิจัยแบบผสานวิธี
ผู้วิจัย นางภวดี สวนดี
โรงเรียน วัดประชานิมิตร อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
สำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สมการ เชิงเส้นตัวแปรเดียวโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) ร่วมกับเทคนิคการใช้ ผังความคิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวก่อนและหลังการจัดกิจกรรม การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังความคิด 3) ศึกษาความคงทนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังความคิด เมื่อผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังความคิด การดำเนินการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี (Mixed-method Research) มี 2 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร และงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการสัมภาษณ์ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 3 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 9 คน รวม 12 คน เพื่อนำข้อมูลจากการสัมภาษณ์มาสังเคราะห์เป็นแนวทางการจัด กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังความคิด ตอนที่ 2 การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) ด้วยแบบแผนการทดลองแบบ One Group Pretest-Posttest Design ตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนวัดประชานิมิตร สังกัดสำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 3 ชนิด ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังความคิด เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 16 แผน 16 ชั่วโมง แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว จำนวน 30 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังความคิดจำนวน 1 ฉบับ 15 ข้อ สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน (t-test) for Dependent Samples ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. ผลการทดสอบประสิทธิภาพแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สมการเชิงเส้น ตัวแปรเดียวด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังความคิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.28/77.44 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 75/75
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังความคิดของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง สมการเชิงเส้น ตัวแปรเดียวหลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังความคิด มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 23.20 คิดเป็นร้อยละ 77.33 จากนั้นเว้นระยะไป 2 สัปดาห์หลังการทดลองแล้วทดสอบอีกครั้งพบว่า มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 24.36 คิดเป็นร้อยละ 81.20 และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนครั้งที่ 1 กับครั้งที่ 2 หลังการทดลอง 2 สัปดาห์พบว่า คะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียนไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังความคิด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.78 และ S.D. = 0.43)
TITLE The Development of Learning Achievement and Learning Retention of Mathematics Entitled One Variable Linear Equation by Using Problem Based Learning with Mind Mapping Technique of Mattayomsuksa 1 Students: Mixed Method Research
AUTHOR Pawadee Suandee
SCHOOL Watprachanimit School BuaYai District Nakhon Ratchasima Province
Division of Education Religious and Culture Nakhon Ratchasima Provincial Administration Organization
Department of Local Administration Ministry of Interior
DATE 2020
ABSTRACT
The purposes of the present study were 1) to develop lesson plans of one
variable linear equation by using problem based learning with mind mapping technique of Mattayomsuksa 1 students to achieve the criteria 75/75 of effectiveness, 2) to compare learning achievement before and after learning through one variable linear equation by using problem based learning with mind mapping technique, 3) to study learning retention after learning through one variable linear equation by using problem based learning with mind mapping technique for two weeks and 4) to study Mattayomsuksa 1 students satisfaction toward learning one variable linear equation by using problem based learning with mind mapping technique. The present study was a mixed-method research comprised of 2 phases of study. Phase 1 was the qualitative research investigated concepts, theory and related studies of learning development with the interview of 3 Mathematics teachers and 9 Mattayomsuksa 1 students. The data were analyzed in order to design lesson plans of problem based learning with mind mapping technique. Phase 2 was the quantitative research using experimental research by one group pre-test, post-test design. The sample of the experiment was 30 of Mattayomsuksa 1/1 students of Watprachanimit school Nakhon Ratchasima provincial administration organization who were studying in the 2nd semester and they were selected by cluster random sampling.
The instruments used in the study consisted of16 lesson plans of problem based learning with mind mapping technique titled one variable linear equation for Mattayomsuksa 1 students. The mean of suitability of each lesson plan was raged between 4.82-4.90 which shown that the suitability of all lesson plans was in more level. The learning achievement test consisted of 30 items. The difficulty (P) of the test was .30 to .80, the discrimination (B) of the test was .27 to .73 and the reliability of the test was .92. The satisfaction questionnaire of Mattayomsuksa 1 students toward problem based learning with mind mapping technique which was 15 items with 5 rating scale. The items consisted of the principle, contents, learning process, learning materials and evaluation and assessment. The discrimination was .32 to .86 and the reliability was .93. The statistics used in the study consisted of mean, standard deviation and t-test dependent.
The results of the study revealed that
1) The results of the effectiveness of the lesson plans titled one variable
linear equation by using problem based learning with mind mapping technique for Mattayomsuksa 1 students shown that there was 74.68/76.33 of the effectiveness which in accordance with the criteria.
2) Learning achievement of Mattayomsuksa 1 students after learning through
one variable linear equation by using problem based learning with mind mapping technique was higher with .05 statistics significantly.
3) Learning retention of Mattayomsuksa 1 students after learning through
one variable linear equation by using problem based learning with mind mapping technique shown that the mean of was 23.72 or 79.00 of percentage. 2 weeks later, the results of the test revealed that the mean was 24.36 or 81.20 of percentage. The comparison of the first test and the second test 2 weeks later after the implementation shown that the results of the test indifferent when there was 0.5 of the statistics significance.
1) Mattayomsuksa 1 students satisfied with the learning through
problem based learning with mind mapping technique which rated in the most level ( = 4.78 และ S.D. = 0.43).