ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคของโพลยา
เพื่อส่งความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นางลัดดา เชื้อฉ่ำหลวง
โรงเรียน โรงเรียนบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
สังกัด สำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคของโพลยา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบการเรียนการสอนแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคของโพลยา เพื่อส่งเสริมความสมารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปการเรียนการสอนแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคของโพลยา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน จากการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน
แบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคของโพลยา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนในการประเมิน
รูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคของโพลยา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 จำนวน 40 คน โรงเรียนบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา สังกัดสำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวน 4 ชนิด คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีคำอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.33-0.67 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (KR-20) เท่ากับ 0.81 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.33-0.8 และคำความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (KR-20) เท่กับ 0.75 และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคของโพลยา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบมาตราประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 20 ข้อ มีคำอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.33-0.71 และคำความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (0) เท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที่ (t - test for Dependent Sample)
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) มุ่งให้เยาวชนทุกคนได้เรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างต่อเนื่องตามศักยภาพ เนื่องจากคณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิด ทำให้คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ แบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้ ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และยังเป็นเครื่องมือ
ในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและศาสตร์อื่น ๆ คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ตีขึ้น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข อีกทั้งรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคของโพลยา เป็นวิธีหนึ่งที่ส่งเสริมความร่วมมือภายในกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันมาทำงานร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ มีความรับผิดชอบร่วมกัน และสามารถทำให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ ให้เหตุผล สื่อความหมายและความถึงเทคนิคของโพลยาสามารถส่งเสริมการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ในแต่ละขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการสำรวจปัญหา ขั้นตอนการวางแผนแก้ปัญญา เชื่อมโยงความรู้เดิมและความรู้ใหม่ที่จะนำไปใช้ในขั้นตอนการแก้ปัญหาตามแผนและขั้นตอนการตรวจสอบผล สำหรับการสำรวจความต้องการของนักเรียนและครูผู้สอน พบว่าต้องการให้การจัดกิจกรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคของโพลยา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์
2. รูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคของโพลยา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีขั้นดำเนินการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับของโพลยา มี 5 ชั้น คือ 1) ขั้นเตรียมความพร้อม 2) ขั้นนำเสนอบทเรียนและเทคนิคของโพลยา 3) ขั้นกิจกรรมกลุ่มและตรวจสอบผลงาน 4) ขั้นทดสอบย่อยและประเมินผลการทำงานกลุ่มและ 5) ขั้นสรุปบทเรียน รูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคของโพลยา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) ของรูปแบบการเรียนการสอน เท่ากับ 84.29/82.53 เมื่อเทียบกับเกณฑ์80/80 ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคของโพลยา
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนมีความสามารถในการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. การประเมินรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคของโพลยา เพื่อส่งเสริม
ความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า นักเรียน
มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคของโพลยา
เพื่อส่งเสริมสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
อยู่ในระดับมาก (X-bar=4.82,S.D.=0.68)