บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้สื่อและเทคโนโลยี
เพื่อการเรียนรู้ เรื่อง แผนภูมิและความน่าจะเป็น เพื่อส่งเสริมทักษะความสามารถ ในการแปลความหมายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นางดารานี นาแว
ปีการศึกษา 2561
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง แผนภูมิและความน่าจะเป็น เพื่อส่งเสริมทักษะความสามารถในการแปลความหมายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2) เปรียบเทียบทักษะความสามารถในการแปลความหมายของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง แผนภูมิและความน่าจะเป็น เพื่อส่งเสริมทักษะความสามารถในการแปลความหมายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง แผนภูมิและความน่าจะเป็น เพื่อส่งเสริมทักษะความสามารถในการแปลความหมายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนบ้านตะโละซูแม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 19 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) โดยวิธีการจับฉลากโดยใช้ห้องเรียนในการสุ่มเครื่องมือที่ใช้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แผนการจัดการเรียนรู้ ชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์และแบบสอบถามความพึงพอใจ โดยวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทดสอบที (t-test) การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ผลการวิจัยได้ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ดังนี้
1. ชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง แผนภูมิและความน่าจะเป็น เพื่อส่งเสริมทักษะความสามารถในการแปลความหมายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.87/89.21 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ทักษะความสามารถในการแปลความหมายของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้ชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง แผนภูมิและความน่าจะเป็น เพื่อส่งเสริมทักษะความสามารถในการแปลความหมายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง แผนภูมิและความน่าจะเป็น เพื่อส่งเสริมทักษะความสามารถในการแปลความหมายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมาก