บทคัดย่อ
รายงานการดำเนินงานตามแนวทางการส่งเสริมการอ่านของศูนย์การศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดัง นี้ 1) เพื่อศึกษา
แนวทางการดำเนินงานการส่งเสริมการอ่านของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อศึกษาผลที่เกิดจากการจัดกิจกรรมการดำเนินงานการ
ส่งเสริมการอ่านของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเขมราฐ จังหวัด
อุบลราชธานี 3) เพื่อศ ึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาและผู้ร ับบริการที่มีต่อกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี และ
4) เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะเป็นแนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านของศูนย์การ ศึกษานอก
ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
วิธีดำเนินการครั้งนี้เป็นการศึกษาโดยการสำรวจความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องในการ
ดำเนินงานที่ผ่านมา ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง มี 5 กลุ่ม คือ 1) ครูและบุคลากร 2) คณะกรรมการ
สถานศึกษา กศน. อำเภอ 3) กลุ่มภาคีเครือข่าย 4) นักศึกษา และ 5) ผู้รับบริกรศูนย์การศึกษานอก
ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี รวมทั้งส ิ้น 941 คน เครื่องมือที่
ใช้ในการศึกษา มี 2 แบบ คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และข้อคำถามปลายเปิด
วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ข้อมูลเชิง
คุณภาพทำการวิเคราะห์เนื้อหาและการบรรยายเป็นความเรียง
สรุปผลการศึกษ าในประเด็นสำคัญ ตามวัตถุประสงค์ คือ
1. ผลการศึกษาสภาพการดำเนินงานการส่งเสริมการอ่านของศูนย์การศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ตามความคิดเห็นของบุคลากร
คณะกรรมการ กศน.อำเภอ และกลุ่มภาคีเครือข่าย โดยรวมเห็นด้วยอยู่ใน ระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็น
รายด้าน พบว่า
1.1 ด้านนโยบายและกลยุทธ์การส่งเส ริมการ อ่ าน โดยรวมเห็นด้วยอยู่ในระดั บ มา ก
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมากทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีการ
วางแผนการติดตามประเมิน ผลทั้งระหว่างการดำเนินงานและหลังเสร็จสิ้นการดำเนินงานการส่งเ สริม
การอ่าน รองลงมาคือ มีการกำหนดแนวทาง หลักการหรือวิธีการปฏิบัติ เพื่อนำไปสู่การส่งเสริมการ
อ่าน และมีการกำหนดแนวดำเนินการและเทคนิคต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ มีกา รแต่งตั้งคณะกรรมการดูแลรับผิดชอบในการดำเนินง านส่งเสริมการ
อ่าน
1.2 ด้านการพัฒ นา บุ คล า กร เ พื่ อส ่งเส ริ มการ อ่า น โดยรวมเห็นด้ วย อยู ่ในร ะดั บ มา ก
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมากทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ
ส่งเสริม สนับสนุนครูและบ ุคล า กร ทุ กค นใ ห้ มีส่ว นเ กี่ ยวข ้ อง กั บก ารส่ งเส ริม ก ารส่ งเส ริ มก าร อ่ า น
รองลงมาคือ มีการจัดศึกษาดูงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ประสบการณ์แก่ครูและบุคลากรเพื่อพัฒนาให้
เกิดผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ด้านการส่งเสริมการอ่าน และส่งเสริม
สนับสนุนการนำเทคโนโลยี/เทคนิค/วิทยาการสมัยใหม่เพื่อให้ความรู้แก่ครูและบุคลากรด้านการ
ส่งเสริมการอ่าน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ย ต่ำสุด คือ มีการเชิญวิทยากรจากภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญด้าน
การรู้การอ่านมาบรรยายให้ความรู้เพิ่มเ ติมเกี่ยวกับการรู้การอ่านแก่บุคลากรด้านการส่งเสริมการอ่าน
1.3 ด้านการพัฒนาทรัพยากร สารสนเทศเพื่อส่งเสริมการอ่าน โดยรวมเห็นด้วยอยู่ใน
ระดับมาก เมื่อพ ิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความเห็นด้วยอยู่ใน ระดับมากทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด
คือ มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเข้ามามีส่วนร่วมในการกระตุ้นความสนใจเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการ
อ่าน รองลงมาคือ จัด หาวัสดุอุปกรณ์ที่ทัน สมัยเพื่อการเข้าถึงข้อมูลที่เ ป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการ
อ่าน และมีการให้บริการข้อมูล/สารสนเทศต่าง ๆ เช่น การแนะนำหนังสือใหม่ ห นังสือดีที่น่าอ่านบน
เว็บไซต์ของ กศน. ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ สนับสนุน ส่งเสริมให้มีก ารวิจัยและพัฒนานวั ตกรรม
การส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
1.4 ด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ตามความคิดเห็นของบุคลากร คณะกรรมการ
กศน.อำเภอ และกลุ่มภาคีเครือข่าย โดยรวมเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า
ม ี ค ว า ม เ ห ็ น ด ้ ว ย อย ู ่ ใ น ร ะด ั บ ม า ก ท ุ ก ข ้ อ ข ้ อท ี ่ ม ี ค ่ า เ ฉ ลี่ ย ส ู ง ส ุ ด ค ื อ ก ิ จ ก ร ร ม ท ี ่ จ ั ด ท ำ ใ ห ้ เ ก ิ ด ค ว า ม
สนุกสนานเพลิดเพลิน และแฝงการเรียนรู้ตามอัธยาศัยจากการร่วมกิจกรรม รองลงมาคือ กิจกรรมที่
จัดสามารถจูงใจให้อยากอ่านและกระตุ้นให้อยากอ่าน และกิจกรรมที่จัดมีค วามยากง่ายเหมาะสมกับ
เพศ ระดับอายุ และการศึกษาของผู้อ่านแต่ละกลุ่ม ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ กิจกรรมที่จัดช่วย
ส่งเสริมทักษะการใช้ภาษาด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียน
1.5 ด้านการกำกับ ติดตามและประเมินผลการส่งเสริมการอ่าน ตามความคิดเห็นของ
บุคลากร คณะกรรมการ กศน.อำเภอ และกลุ่มภาคีเครือข่าย โดยรวมเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก เมื่อ
พิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมากทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ รายงาน
ผลต่อหน่วยงานต้นสังกัดและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยวิเคราะห์ถึงจุดเด่นและจุดที่ต้องแก้ไข เพื่อใช้
ประกอบการตัดสินใจกิจกรรมส่งเสริมการอ่า นครั้งต่อไป รองลงมาคือ ตรวจสอบการดำเนินงาน
กิจกรรมส่งเสริมการอ่านทั้งก่อน ระหว่างดำเนินงาน และหลังการเสร็จสิ้นการดำเนินงาน และมีการ
ประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมโดยใช้แบบสอบถามหรือแบบสัมภาษณ์ ส่วนข้อที่มี
ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ มีการประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมโดยใช้แบบสอบถามหรือแบบ
สัมภาษณ์
1.6 ด้านการสร้างขวัญกำลังใจและยกยองเชิดชูเกียรติบุคลากร ตามความคิดเห็นของ
บุคลากร คณะกรรมการ กศน.อำเภอ และกลุ่มภาคีเครือข่าย โดยรวมเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก เมื่อ
พิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมากทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ เผยแพร่
ผลงานรางวัลด้านการส่งเสริมการอ่านแก่สาธารณะ รองลงมาคือ สร้างบรรยากาศการทำงานให้ทุกคน
มีความสุขและสนุกในการทำงานด้านการส่งเสริมการอ่าน และส่งเสริม สนับสนุนบุคลากรด้านการ
ส่งเสริมการอ่านให้สามารถนำความรู้ที่ได ้รับไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ส่งเสริม สนับสนุนบุคลากรด้านการส่งเสริมการอ่านให้มี
การศึกษาค้นคว้าด้ว ยตนเองและมีนิสัยรักการอ่าน
2. ผลที่เกิดจากการจัดกิจกรรมการดำเนินงานการส่งเสริมการอ่านของศู นย์การศึกษานอก
ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า
2.1 ผลที่เกิดจากการจัดกิจกรรมการดำเนินงานการส่งเสริมการอ่านของศูนย์การศึกษา
นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ตามความคิดเห็นของ
นักศึกษา โดยรวมมีเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความเห็นด้วยอยู่ใน
ระดับมากทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การอ่านหนังสือช่วยให้นักศึกษาเกิดความสนุกสนาน
เพลิดเพลิน รองลงมาคือ นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมการอ่านที่ห้องสมุดจัดเป็นประจำ
ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักศึกษาชอบยืมหนังสือในห้องสมุดไปอ่านที่บ้านเสมอ
2.2 ผลที่เกิดจากการจัดกิจกรรมการดำเนินงานการส่งเสริมการอ่านของศูนย์การศึกษา
นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ตามความคิดเห็นของ
ผู้รับบริการ โดยรวมมีเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความเห็นด้วยอยู่ใน
ระดับมากทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ท่านมองเห็นคุณค่าที่ได้รับจากการอ่านหนังสือมากขึ้น
รองลงมาคือ ท่านคิดว่าการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านทำให้เกิดทักษะความรู้ และความคิดริเริ่ม
สร้างสรรค์ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ท่านได้รับแนวคิด ทักษะและประสบการณ์ใหม่ ๆ จากการ
เข้าร่วมกิจกรรมการส่งเสริมการอ่านของ กศน.อำเภอเขมราฐ
3. ค ว า ม พ ึ ง พ อ ใ จ ท ี ่ ม ี ต ่ อ ก ิ จ ก ร ร ม ส ่ ง เ ส ร ิ ม ก า ร อ ่ า น ข อ ง ศ ู น ย ์ ก า ร ศ ึ ก ษ า น อ ก ร ะ บ บ แ ล ะ
การศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า
3.1 ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมส่งเสริมการอ่านของศูนย์การศึกษานอก
ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี โดยรวมมีพึงพอใจอยู่ในระดับ
มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ
มีความพึงพอใจเกี่ยวกับกิจกรรมพี่พาน้องอ่าน รองลงมาคือ มีความพึงพอใจเกี่ยวกับกิจกรรมรถ
ห้องสมุดเคลื่อนที่สำหรับชาวตลาด ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ มีความพึงพอใจเกี่ยวกับการอ่า นผ่าน
อาชีพการทำแซนวิสสะดุ้ง
3.2 ความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อกิจกรรมส่งเสริมก ารอ่านของศูนย์การศึกษา
นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่
ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ย
สูงสุด คือ มีความพึงพอใจเกี่ยวกับกิจกรรมการอ่านผ่านอาชีพ การทำข้าวจี่โ ดนัท รองลงมาคือ มีความ
พึงพอใจเกี่ยวกับกิจกรรมพี่พาน้องอ่าน ส่วนข้อที่มีค่า เฉลี่ยต่ำสุด คือ มีความพึงพอใจเกี่ยวกับการอ่าน
ผ่านอาชีพการทำแซนวิสสะดุ้ง
4. ผลการสำรวจความคิดเห็นปลายเปิด โดยการสรุปความคิดเห็นเกี่ยวกับ ข้อเสนอแนะแนว
ทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ
เขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า บุคลากร กศน. อำเภอเขมราฐ คณะกรรมการ กศน.อำเภอ
เขมราฐ และกลุ่มภาคีเครือข่าย ที่ให้ข้อมูลสำคัญส่วนใหญ่ได้ให้แนวทางในการส่งเสริมการอ่าน
ไว้ดังนี้คือ ควรส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนใช้สื่อการอ่านที่หลากหลายทั้งในห้องเรียนและนอก
ห้องเรียนอย่างสม่ำเสมอ มีผู้ให้ความคิดเห็นมากที่สุด 110 คน คิดเป็น ร้อยละ 47.01 รองลงมาคือ
ควรส่งเสริมสนับสนุนและสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการส่งเสริมการอ่านแก่นักศึกษาและ
ประชาชนในพื้นที่อย่างทั่วถึง มีผู้ให้ความคิดเห็น 92 คน คิดเป็นร้อยละ 39.32 และควรมีการเพิ่ม
งบประมาณสำหรับการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้มีความเพียงพอ และครอบคลุมความต้องการ
ของผู้เรียนและผู้ร ับบริการ มีผู้ให้ความคิดเห็น 82 คน คิดเป็นร้อยละ 35.04