ผู้วิจัย นางศิริโชค นาคดิลก
ปีที่ทำวิจัย 2562
บทคัดย่อ
การดำเนินการวิจัยครั้งเป็นการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ SHINE MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กระบวนการของการวิจัยและพัฒนา (Research and development) 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ขั้นที่ 2 การออกแบบและพัฒนา ขั้นที่ 3 การทดลองรูปแบบการสอน ขั้นที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการสอน โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ SHINE MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามความต้องการจัดการเรียนรู้ใน SHINE MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับของลิเคิร์ท จำนวน 15 ข้อ 2) แบบสัมภาษณ์ เรื่อง แนวทางการพัฒนารูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ระดับชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4
2. เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ SHINE MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด
แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ 1) แบบประเมินความเหมาะสมของร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ SHINE MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 20 ข้อ 2) แบบสอบถามความเหมาะสมของคู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SHINE MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 25 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เซต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ
4) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง เซต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
เป็นแบบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ
3. เพื่อทดลองใช้รูปแบบการรูปแบบการจัดการเรียนรู้ SHINE MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่
1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เซต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบปรนัย
ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 2) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
เรื่อง เซต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ 3) คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SHINE MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ SHINE MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ SHINE MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 15 ข้อ
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพ การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ SHINE MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ระดับชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4 พบว่า
1.1 องค์ประกอบของรูปแบบมี 3 องค์ประกอบ ดังนี้ 1. องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ 1.1 หลักการของรูปแบบ 1.2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 2. องค์ประกอบเชิงกระบวนการ (กระบวนการสอน) 3. องค์ประกอบเชิงเงื่อนไขของการใช้รูปแบบ 3.1 ข้อตกลงเบื้องต้น 3.2 หลักการตอบสนอง 3.3 ระบบสังคม 3.4 ระบบสนับสนุนกระบวนการสอนตามรูปแบบของผู้วิจัย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นการแบ่งกลุ่มเพื่อศึกษา (Separate : S) ขั้นนำเนื้อหาเดิมมาใช้ประโยชน์ (Help : H) ขั้นรุ่งโรจน์ด้วยเนื้อหาความรู้ (Instruct : I) ขั้นเปิดประตูสร้างเครือข่าย (Network : N) ใส่ใจประเมินผล (Evaluate : E)
1.2 ความต้องการในการจัดการเรียนรู้ SHINE MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
1.3 การจัดการเรียนรู้ที่ใช้ส่วนมากจะใช้วิธีการถ่ายทอดความรู้โดยการบรรยาย
ปัญหาคือนักเรียนยังยึดติดกับการเรียนการสอนที่เน้นการบอกให้จดให้จำมากกว่าการเรียนการสอน
ที่เน้นทักษะกระบวนการ ครูผู้สอนไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอน มีเทคนิคการสอนไม่หลากหลายเน้นให้นักเรียนท่องจำสูตร มิได้ปลูกฝังให้มีกระบวนการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา
ครูต้องการพัฒนาตนเองในด้านการสอนและเทคนิคการสอนใหม่ๆ โดยเฉพาะการเรียนรู้จากการกระทำและการปฏิบัติ
2. การสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ SHINE MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด
แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า
2.1 รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SHINE MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด
แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มี 3 องค์ประกอบ ดังนี้
1. องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ 1.1 หลักการของรูปแบบ 1.2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 2. องค์ประกอบเชิงกระบวนการ (กระบวนการสอน) 3. องค์ประกอบเชิงเงื่อนไขของการใช้รูปแบบ 3.1 ข้อตกลงเบื้องต้น 3.2 หลักการตอบสนอง 3.3 ระบบสังคม 3.4 ระบบสนับสนุนกระบวนการสอนตามรูปแบบของผู้วิจัย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นการแบ่งกลุ่มเพื่อศึกษา (Separate : S) ขั้นนำเนื้อหาเดิมมาใช้ประโยชน์ (Help : H) ขั้นรุ่งโรจน์ด้วยเนื้อหาความรู้ (Instruct : I) ขั้นเปิดประตูสร้างเครือข่าย (Network : N) ใส่ใจประเมินผล (Evaluate : E) ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ SHINE MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2.2 ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของคู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SHINE MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2.3 ผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ SHINE MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของกลุ่มทดลองใช้ทดลองแบบรายบุคคล มีค่าประสิทธิภาพ 67.95/65.56 การทดลองแบบกลุ่มเล็ก มีค่าประสิทธิภาพ 73.05/72.59 การทดลองภาคสนาม มีค่าประสิทธิภาพ 81.34/80.33 เป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนดไว้คือ 80/80
3. ผลการทดลองรูปแบบการจัดการเรียนรู้ SHINE MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
3.1ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ SHINE MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 84.15/83.69 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
3.2 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ SHINE MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01
3.3 นักเรียนมีทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์หลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ SHINE MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ SHINE MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด