ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เพื่อ
พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง สมการเชิงเส้น
ตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นางสาวสมพร ขวัญสันเทียะ
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยกำหนดรูปแบบการทดลองแบบหนึ่งกลุ่ม ทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (One-Group Pre-test Post-test Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ จำนวน 19 แผน (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฉบับรวมก่อนเรียนและหลังเรียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.50 - 0.77 และมีค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.20 - 0.37 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 (3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาฉบับรวมก่อนเรียนและหลังเรียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 25 ข้อ ซึ่งค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.50 - 0.70 และมีค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.20 - 0.33 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 (4) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ฉบับย่อยก่อนเรียนและหลังเรียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 4 แบบทดสอบ รวม 40 ข้อ และ (5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น ซึ่งผ่านการทดลองใช้และมีประสิทธิภาพ โดยผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญเรียบร้อยแล้ว เป็นแบบประเมินชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/6 โรงเรียนสีคิ้วสวัสดิ์ผดุงวิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 36 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) สถิติทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ข้อมูลพื้นฐานตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) และหลักสูตรสถานศึกษาในการพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพโดยยึดความแตกต่างระหว่างบุคคล ส่งเสริมทักษะกระบวนการ ให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเอง และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการคิด ส่วนผลการศึกษาความต้องการของครูและนักเรียนต้องการรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่มีการฝึกทักษะการคิดของนักเรียน มีกิจกรรมร่วมมือกันเรียนรู้ และนักเรียนสร้างและพบความรู้ด้วยตนเอง
2. การพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 84.09/82.13 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
4. การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (x̄) = 4.74 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) = 0.42 รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์นี้ควรปรับขั้นตอนการนำเข้าสู่บทเรียน (Introduction : I) โดยปรับเวลาให้กระชับขึ้น เพื่อให้มีเวลาในการทำกิจกรรมในขั้นตอนอื่นเพิ่มขึ้น และปรับจำนวนนักเรียนในกลุ่มให้น้อยลง เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และปรับขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Sharing : S) โดยให้นักเรียนเข้ากลุ่มเดิม และทุกคนได้เปลี่ยนกันออกมานำเสนองานหน้าชั้นเรียน