บทคัดย่อ
การวิจัยการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการความรู้ (KM) ร่วมกับวิธีการอ่านแบบ SQ4R มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การจัดการความรู้ (KM) ร่วมกับวิธีการอ่านแบบ SQ4R 2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การจัดการความรู้ (KM) ร่วมกับวิธีการอ่านแบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การจัดการความรู้ (KM) ร่วมกับวิธีการอ่านแบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การจัดการความรู้ (KM) ร่วมกับวิธีการอ่านแบบ SQ4R
วิธีการวิจัยประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การจัดการความรู้ (KM) ร่วมกับวิธีการอ่านแบบ SQ4R โดยการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ศึกษาหลักการ แนวการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลตามแนวคิดการสอนวิชาภาษาไทย ศึกษาหลักการ แนวการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการความรู้ (KM) ร่วมกับวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก 2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การจัดการความรู้ (KM) ร่วมกับวิธีการอ่านแบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการร่างรูปแบบฯ ประเมินรูปแบบฯ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ และทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การจัดการความรู้ (KM) ร่วมกับวิธีการอ่านแบบ SQ4R เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การจัดการความรู้ (KM) ร่วมกับวิธีการอ่านแบบ SQ4R เรื่อง การอ่านภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แบบบันทึกการประชุมแบบมีส่วนร่วม แบบประเมินรูปแบบการเรียนการสอน คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอน แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การจัดการความรู้ (KM) ร่วมกับวิธีการอ่านแบบ SQ4R เรื่อง การอ่านภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การจัดการความรู้ (KM) ร่วมกับวิธีการอ่านแบบ SQ4R เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบฯ และคู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอนฯ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และแบบบันทึกสภาพการจัดการเรียนการสอน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การจัดการความรู้ (KM) ร่วมกับวิธีการอ่านแบบ SQ4R เรื่อง การอ่านภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การจัดการความรู้ (KM) ร่วมกับวิธีการอ่านแบบ SQ4R พบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย มีสภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยโดยเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพการจัดชั้นเรียนมีการจัดชั้นเรียนให้นักเรียนนั่งเป็นกลุ่มตามความสมัครใจ การจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยส่วนใหญ่มีขั้นนำเข้าสู่บทเรียนโดยการตั้งคำถามเพื่อทบทวนความรู้เดิม ขั้นสอนส่วนใหญ่ใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนโดยครูเป็นผู้บรรยายและให้นักเรียนศึกษาเนื้อหาในแบบเรียนหรือใบความรู้ประกอบการบรรยาย เนื้อหาในการจัดการเรียนการสอนใช้ตามแบบเรียนของสำนักพิมพ์ต่างๆ และครูจะจัดทำเอกสารประกอบการสอนเพิ่มเติม การสอนส่วนใหญ่เน้นด้านความรู้โดยให้นักเรียนปฏิบัติการทำใบงานหรือแบบฝึกหัด และมีการนำเสนอผลการทำงานเป็นบางครั้งเนื่องจากเวลาไม่เพียงพอ มีการสรุปบทเรียนโดยการใช้คำถาม หรือมอบหมายให้นักเรียนแต่ละกลุ่มไปสรุปความรู้ที่ได้ศึกษาเนื้อหาและทำกิจกรรมมาส่ง ครูส่วนใหญ่มีความเห็นว่า การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาด้านผลสัมฤทธิ์ ด้านความสามารถในการอ่าน ควรมีการนำเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบต่างๆ ที่เหมาะสมมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนได้มีการพัฒนาความรู้ความสามารถของนักเรียน เช่น เทคนิคการเรียนแบบโครงงาน การเรียนโดยใช้สมองเป็นฐาน การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน การเรียนแบบร่วมมือ การเรียนการสอนโดยใช้วิธีการอ่านแบบ SQ3R, SQ4R, เทคนิค 5W1H 2) ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทรงคุณวุฒิในด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย พบว่า ผู้บริหารควรมีภาวะผู้นำทางวิชาการโดยร่วมกำหนดนโยบายกับฝ่ายวิชาการและหัวหน้ากลุ่มสาระในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อต้องการให้การจัดการศึกษามุ่งสู่ความสำเร็จทั้งด้านผลสัมฤทธิ์และความเป็นเลิศทางวิชาการ คณะครูควรมีบทบาทในการจัดการเรียนการรู้ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามที่กำหนดเป็นเป้าหมาย เน้นการสอนโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลายและมีวิธีการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียน ลักษณะของนักเรียนควรมีนิสัยรักการอ่านและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง สอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ชาติ และทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 ควรจัดกระบวนการเรียนการสอนให้นักเรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความมั่นใจในตนเอง รู้จักแสวงหาความรู้ รู้เท่าทันสาระสนเทศในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มีความมุ่งมั่น อดทน รับผิดชอบต่อส่วนรวม ข้อสําคัญต้องจุดประกายด้วยประเด็นคำถามให้นักเรียนเกิดความอยากรู้ก่อนจึงจะอยากเรียน ครูต้องจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เป็นผู้ดำเนินการเรียนรู้โดยมีครูคอยเป็นผู้กระตุ้น ให้คำแนะนำ ให้ความช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกให้กับนักเรียน ให้นักเรียนเรียนรู้จากการเรียนแบบลงมือทํา โดยมีประเด็นคําถามอยากรู้เป็นตัวกระตุ้นสร้างแรงบันดาลใจให้อยากเรียน ที่จะนําไปสู่การกระตือรือร้นที่จะสืบค้น รวบรวมความรู้จากแหล่งต่าง ๆ มาสนับสนุน หรือโต้แย้งข้อสมมติฐานคําตอบที่คุ้นเคย 3) ผลการศึกษาและวิเคราะห์แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนภาษาไทย พบว่า แนวการจัดการเรียนรู้เน้นกระบวนการที่นักเรียนเป็นผู้คิด ลงมือปฏิบัติ ศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบด้วยกิจกรรมหลากหลาย มีความสามารถในการสืบเสาะหาความรู้ ลดบทบาทของครูผู้สอนจากการเป็นผู้บอกเล่า บรรยาย เป็นการวางแผนจัดกิจกรรมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ โดยใช้การจัดการความรู้ร่วมกับวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R
2. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การจัดการความรู้ (KM) ร่วมกับวิธีการอ่านแบบ SQ4R พบว่า 1) ผลการสร้างร่างรูปแบบการเรียนการสอนและร่างคู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยโดยใช้การจัดการความรู้ (KM) ร่วมกับวิธีการอ่านแบบ SQ4R เรื่อง การอ่านภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีองค์ประกอบของรูปแบบ ประกอบด้วย (1) แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานการเรียนรู้ (2) จุดมุ่งหมาย (3) กระบวนการเรียนการสอน ซึ่งมีขั้นตอนการเรียนการสอนโดยใช้การจัดการความรู้ (KM) ร่วมกับวิธีการอ่านแบบ SQ4R ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ 7 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นการสำรวจและกำหนดสิ่งที่ต้องเรียนรู้ (Survey and Identification) 2) การรวบรวมความรู้ (Knowledge Gathering) 3) ขั้นการสร้างความรู้ (Knowledge Creation) 4) ขั้นการแบ่งปันความรู้ (Knowledge Sharing) 5) ขั้นการบันทึกความรู้ (Knowledge Record) 6) ขั้นการนำความรู้ไปใช้ (Knowledge Apply) และ 7) ขั้นการประเมินความรู้ (Knowledge Evaluation) (4) การวัดและประเมินผล 2) ผลการประชุมแบบมีส่วนร่วมของครูผู้สอนรายวิชาภาษาไทย พบว่า ผู้เข้าร่วมประชุมเห็นด้วยกับองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนซึ่งมีความครบถ้วนเหมาะสม ในกระบวนการเรียนการสอนมีขั้นตอนการเรียนที่เหมาะสมในการพัฒนานักเรียนให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมได้ด้วยตนเอง 3) ผลการประเมินรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การจัดการความรู้ (KM) ร่วมกับวิธีการอ่านแบบ SQ4R โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ผลการประเมินรูปแบบการเรียนการสอนในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 4) ผลการทดสอบประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การจัดการความรู้ (KM) ร่วมกับวิธีการอ่านแบบ SQ4R ซึ่งไม่ใช่นักเรียนกลุ่มตัวอย่างเทียบกับเกณฑ์ 80/80 พบว่า ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนในการทดสอบประสิทธิภาพแบบกลุ่มเล็กมีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 78.42/78.02 และในการทดสอบประสิทธิภาพแบบภาคสนามมีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 80.79/80.19 ซึ่งค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การจัดการความรู้ (KM) ร่วมกับวิธีการอ่านแบบ SQ4R ที่พัฒนาขึ้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การจัดการความรู้ (KM) ร่วมกับวิธีการอ่านแบบ SQ4R เรื่อง การอ่านภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การจัดการความรู้ (KM) ร่วมกับวิธีการอ่านแบบ SQ4R สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การจัดการความรู้ (KM) ร่วมกับวิธีการอ่านแบบ SQ4R สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การจัดการความรู้ (KM) ร่วมกับวิธีการอ่านแบบ SQ4R ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด