บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนแบบเชิงรุกด้วยบทเรียนออนไลน์เพื่อเสริมทักษะการคิด
วิเคราะห์ในการแก้ปัญหา รายวิชาสังคมศึกษา ส33101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 6
ผู้วิจัย นางสาวนิภาภรณ์ พิมพ์ทอง
ปีที่พิมพ์ 2562
หน่วยงาน โรงเรียนพิบูลมังสาหาร องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนารูปแบบการสอนแบบเชิงรุกด้วยบทเรียนออนไลน์เพื่อเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ในการแก้ปัญหา รายวิชาสังคมศึกษา ส33101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีขั้นตอนในการพัฒนารูปแบบ 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) การออกแบบและพัฒนารูปแบบการสอน 3) การทดลองใช้รูปแบบการสอน และ 4) การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการสอน โดยการวิจัยครั้งนี้ได้ทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/7 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 36 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม แบบแผนการทดลองคือ One Group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานเพื่อการจัดการเรียนรู้ 2) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนเพื่อรวบรวมแนวคิดในการจัดกิจกรรมรูปแบบการสอน 3) รูปแบบการสอนแบบเชิงรุกด้วยบทเรียนออนไลน์เพื่อเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ในการแก้ปัญหา 4) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 6) แบบวัดทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา และ 7) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนแบบเชิงรุกด้วยบทเรียนออนไลน์เพื่อเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ในการแก้ปัญหา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า T-test (Dependent Samples) ค่า One Sample T-test และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า นักเรียนมีความสนใจในการจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการสอนแบบเชิงรุกด้วยบทเรียนออนไลน์เพื่อเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ในการแก้ปัญหา รายวิชาสังคมศึกษา ส33101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เนื่องจากนักเรียนต้องการที่จะพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ในการแก้ปัญหาเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นสำคัญในการจัดการเรียนการสอน และกำหนดสมรรถนะหลักที่สำคัญให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนคือ มีภูมิคุ้มกันที่ดีต่อการเผชิญสถานการณ์และรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างมีสติปัญญา ปรับตัวในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม เลือกตัดสินใจแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างรอบด้านโดยอาศัยหลักการของเหตุผล และคุณธรรมเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา ครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษาเห็นด้วยกับรูปแบบการสอนแบบ เชิงรุกด้วยบทเรียนออนไลน์เพื่อเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ในการแก้ปัญหา รายวิชาสังคมศึกษา ส33101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อนำมาพัฒนาศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ และส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ในการแก้ปัญหาของนักเรียน
2) ผลการพัฒนารูปแบบการสอนแบบเชิงรุกด้วยบทเรียนออนไลน์เพื่อเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ในการแก้ปัญหา รายวิชาสังคมศึกษา ส33101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีชื่อเรียกว่า PADREC Model โดยรูปแบบมีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการกิจกรรม สิ่งที่เสริมการเรียนรู้ได้แก่ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน สำหรับกระบวนการจัดกิจกรรมรูปแบบการสอนแบบเชิงรุกด้วยบทเรียนออนไลน์เพื่อเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ในการแก้ปัญหา รายวิชาสังคมศึกษา ส33101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นกำหนดวัตถุประสงค์และวางแผน (Purposive Setting and Planning) 2) ขั้นวิเคราะห์ปัญหาด้วยผังเชื่อมโยง (Analysis on Problems with Diagrams) 3) ขั้นอภิปรายแนวทางแก้ปัญหา (Discussion on Solutions for Problems) 4) ขั้นคิดทบทวนและปรับแก้ (Revision and Correction) 5) ขั้นประเมินผลและตรวจสอบ (Evaluation and Verification) และ 6) ขั้นสรุปและนำเสนอ (Conclusion and Presentation)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนแบบเชิงรุกด้วยบทเรียนออนไลน์เพื่อเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ในการแก้ปัญหา รายวิชาสังคมศึกษา ส33101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่านักเรียนมีความสนใจและกระตือรือร้นในการเรียน ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมเป็นอย่างดี สามารถนำเสนอผลงานได้เป็นที่น่าพอใจ ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนมีประสิทธิภาพ E1/E2 = 81.71/82.62
4. ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการสอนแบบเชิงรุกด้วยบทเรียนออนไลน์เพื่อเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ในการแก้ปัญหา รายวิชาสังคมศึกษา ส33101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาสังคมศึกษา ส33101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 2) นักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์ในการแก้ปัญหา หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนแบบเชิงรุกด้วยบทเรียนออนไลน์เพื่อเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ในการแก้ปัญหา รายวิชาสังคมศึกษา ส33101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
TITLE: The Development of Active Learning with Online Lessons to Enhance the
Analytical Thinking on Problem Solving Skills in Social Studies (SO33101) for
Matthayomsuksa 6 Students
AUTHOR: Niphaphon Phimthong
PUBLISHED YEAR: 2019
ABSTRACT
The purpose of this research was to develop the active learning with online lessons to enhance the analytical thinking on problem solving skills in social studies (SO33101) for Matthayomsuksa 6 students. There were 4 steps in the development process: 1) to survey the fundamental data concerned, 2) to design and develop the instructional model 3) to implement the developed instructional model and 4) to evaluate and improve the developed instructional model. The subjects selected by cluster random sampling were 36 students of class 6/7 in the first semester of 2019 in Phibunmangsahan School, Ubonratchathani. The research method was One Group Pretest-Posttest Design. The instruments employed for the data collection consisted of: 1) the questionnaire to collect the fundamental data, 2) the interview form for the social studies teachers, 3) the PADREC model to enhance the problem solving thinking skills, 4) the lesson plans, 5) proficiency test, 6) the test of problem solving thinking process and 7) the satisfaction questionnaire towards the instructional model. The data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, content analysis, T-test dependent and One sample T-test.
The results were as follows:
1. The preliminary data investigation clearly revealed that the students were interested in studying with the active learning with online lessons to enhance the analytical thinking on problem solving skills in social studies because they wanted to develop their skills on problem solving thinking process so they are able to adapt and apply these experiences to their daily life living and dwell in the complicated society happily. Moreover, the analytical thinking on problem solving skills was consistent with the Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 and the National Education Act B.E. 2542 which both said that teaching would be child centered and main competency in students would be communication skills, technology literacy and critical thinking. Social Study teachers agreed that this instructional model of the active learning with online lessons to enhance the analytical thinking on problem solving skills in social studies (SO33101) for Matthayomsuksa 6 students could help the social studies teaching process more perfectly effective and do enhance the students analytical thinking on problem solving skills.
2. The instructional model developed was called PADREC Model. It consisted of principles, objectives, syntax, social system, principal of reaction, support system and evaluation. There were 6 stages in the model learning activities as follows: 1) Purposive Setting and Planning 2) Analysis on Problems with Diagrams 3) Discussion on Solutions for Problems 4) Revision and Correction 5) Evaluation and Verification and 6) Conclusion and Presentation.
3. The implementation of the instructional PADREC model was found that students were interested and enthusiastic in learning process. They also well participated during the process activities and presented lots of good presentations. The effective criteria of the PADREC model (E1/E2) was 81.71/82.62.
4. The evaluation and improvement of the instructional PADREC model showed as the followings: 1) the students learning achievement after studying with the instructional PADREC model to enhance the analytical thinking on problem solving skills was significantly higher than before at the .05 level 2) the students analytical thinking on problem solving skills after studying with the instructional PADREC model was significantly higher than the criteria of 80 percent at the .05 level and 3) the satisfaction of students towards the studying process with the instructional PADREC model as a whole was at the highest level.