ื่อเรื่อง การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนาความเป็นครูมืออาชีพ
ในศตวรรษที่ 21
ผู้วิจัย นายอวยชัย ปัจจัยมงคล
สถานศึกษา โรงเรียนขามป้อมพิทยาคม อ าเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ปีที่วิจัย 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม
และความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และวิธีการ
เสริมสร้างทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม เพื่อพัฒนาความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 3) เพื่อสร้าง
และพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนาความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษ
ที่ 21 4) เพื่อประเมินความคิดต่อการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนา
ความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 แบ่งการวิจัยออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
จ านวน 5 คน เพื่อยืนยันความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวชี้วัดของทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม
และความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 ที่ผู้วิจัยสังเคราะห์ได้จากการศึกษาเอกสาร ระยะที่ 2
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการครูในโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
มหาสารคาม ปีการศึกษา 2561 จ านวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive
Sampling) จากครูในสังกัด 20 โรงเรียน โรงเรียนละ 2 คน ระยะที่ 3 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ
ผู้บริหารและครูจากโรงเรียนต้นแบบ จ านวน 4 คน กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์
อาจารย์ในสถานบันอุดมศึกษา ได้มาโดยคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จ านวน 9 คน
และกลุ่มเป้าหมาย เป็นข้าราชการครูโรงเรียนขามป้อมพิทยาคม ที่สมัครเข้าร่วมโรงเรียนจ านวน 5 คน
ระยะที่ 4 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการครูสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
มหาสารคาม จ านวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน
โปรแกรม และแบบประเมินความคิดเห็นต่อการพัฒนาโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบของทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูทั้งหมด 6 องค์ประกอบ ได้แก่
ตีความบริบท การสร้างแนวคิด ความร่วมมือกับผู้อื่น การสะท้อนแนวคิด การน าเสนอแนวคิด และ
การประเมินความส าเร็จ ส่วนองค์ประกอบของความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 มี 3 องค์ประกอบ
ได้แก่ การปฏิบัติตนตามมาตรฐานวิชาชีพ ภาวะผู้น าทางวิชาการและบริหารจัดการ และประสิทธิผล
ส่วนบุคคล มีผลการประเมินองค์ประกอบจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในเกณฑ์ระหว่าง 0.60-1.00 หมายความ
ว่าใช้ได้ทุกองค์ประกอบ
2. สภาพปัจจุบันของทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครู โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ
ปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.21 และสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมมีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด
มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 สภาพปัจจุบันของความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย
อยู่ในระดับมาก (

=3.76) และสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมมีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด (

=4.55)
3. โปรแกรมส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนาความเป็นครูมืออาชีพใน
ศตวรรษที่ 21 มีองค์ประกอบดังนี้คือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา วิธีการพัฒนา และ
การประเมินผล ผู้วิจัยได้ออกแบบเนื้อหาของโปรแกรมโดยเน้นเนื้อหาตามค่าดัชนีความต้องการจ าเป็น
ที่มีความต้องการอันดับแรก คือ ความร่วมมือกับผู้อื่น (Collaborate) และต้องการปฏิบัติตนตาม
มาตรฐานวิชาชีพเพื่อพัฒนาความเป็นครูมืออาชีพ วิธีการพัฒนาโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทาง
วิชาชีพ (PLC) ประกอบด้วย การฝึกอบรม การใช้ระบบพี่เลี้ยง และการนิเทศ ผลการประเมิน
โปรแกรมพัฒนาโดยผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับ
การพัฒนาด้วยโปรแกรมส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม เพื่อพัฒนาความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษ
ที่ 21 มีคะแนนทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมอยู่ในระดับน้อย (

=1.79) ภายเข้าร่วมการพัฒนาผ่านไป
4 สัปดาห์ กลุ่มเป้าหมายมีคะแนนทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมอยู่ในระดับมาก (

=4.40) หมายความว่า
กลุ่มเป้าหมายได้น าหลักการและแนวคิดจากการพัฒนาน าไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ส าหรับผู้เรียน
4. ครูผู้สอนของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม มีความคิดเห็นต่อ
โปรแกรมส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนาความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 โดยรวม
อยู่ในระดับมาก (
 =4.34)