ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์
และทักษะการใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint ๒๐๑๖
สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
ผู้วิจัย นางสาวพรรณทิพา คำสิงห์
หน่วยงาน โรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ปีที่ทำการวิจัย ๒๕๖๒
บทคัดย่อ
ในการพัฒนาครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อ ๑) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะการใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint ๒๐๑๖ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ๒) สร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะการใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint ๒๐๑๖ ๓) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้ เชิงรุก (Active Learning) เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะการใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint ๒๐๑๖ ดังนี้ ๓.๑) หาประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๓.๒) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ๓.๓) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ๓.๔) เปรียบเทียบทักษะการใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint ๒๐๑๖ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ๓.๕) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ๔) ประเมินการใช้รูปแบบการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะการใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint ๒๐๑๖ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ระยะการวิจัยแบ่งเป็น ๔ ระยะ ได้แก่ ๑) การวิจัย (Research : R1) ๒) การพัฒนา (Development : D1) ๓) การวิจัย (Research : R2) และ ๔) การพัฒนา (Development : R2) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ระยะที่ ๑ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ครูผู้สอนรายวิชาคอมพิวเตอร์ จำนวน ๕ คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ จำนวน ๑๒ คน ระยะที่ ๒ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา และรองผู้บริหารฝ่ายวิชาการ และครูผู้สอนรายวิชาคอมพิวเตอร์ จำนวน ๗ คน ระยะที่ ๓ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ ๒ โรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม จำนวน ๒๒ คน ระยะที่ ๔ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอนรายวิชาคอมพิวเตอร์ จำนวน ๒๐ คน เครื่องมือที่ใช้ ๑) แบบสัมภาษณ์ ๒) คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอน ๓) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ๔) แบบ วัดความพึงพอใจ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง ๐.๒๙ - ๐.๗๖ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๒ ๕) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ ๐.๓๒ - ๐.๗๗ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๓ ๖) แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง ๐.๖๐ - ๑.๐๐ ๗) แบบวัดทักษะการใช้โปรแกรม และ ๘) แบบประเมินรูปแบบการเรียนการสอนสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t - test (Independent system)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
๑. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า ครูผู้สอนรายวิชาคอมพิวเตอร์มีปัญหามากที่สุดใน
ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รองลงมา คือ ปัญหาด้านการวัดและประเมินผล และปัญหาน้อยที่สุด คือ ด้านเนื้อหา ปัญหาของนักเรียน คือ แต่ละคนสร้างความรู้ความเข้าใจได้ไม่เหมือนกัน ครูควรมีวิธีการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะ ให้นักเรียนได้ฝึกคิด ฝึกทำด้วยตนเอง จะนำไปสู่ความคิดที่หลาก หลายเกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ครูยังให้ความสำคัญกับลำดับขั้นตอน แล้วนักเรียนปฏิบัติตาม ไม่ได้เปิดโอกาสให้นักเรียนฝึกคิดค้นหาวิธีการตามแนวทางใหม่ จึงส่งผลให้นักเรียนขาดโอกาสได้รับการพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์และทักษะการใช้โปรแกรมต่าง ๆ
๒. รูปแบบการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียน รู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะการใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint ๒๐๑๖ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ (ILPCM MODEL) มีองค์ประกอบที่พัฒนาขึ้น ๖ องค์ประกอบ คือ ๑) หลักการ ๒) วัตถุประสงค์ ๓) ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
๔) ระบบสังคม ๕) หลักการตอบสนอง และ ๖) ระบบสนับสนุน มีขั้นตอนในการดำเนินการจัดกิจกรรม ๕ ขั้นตอน คือ ขั้นที่ ๑ นำเข้าสู่บทเรียน ขั้นที่ ๒ จัดการเรียนรู้ ขั้นที่ ๓ ฝึกทักษะและการนำไปใช้ ขั้นที่ ๔ สื่อสารและนำเสนอ ขั้นที่ ๕ วัดและประเมินผล ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญ มีคุณภาพเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๕๒
๓. ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะการใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint ๒๐๑๖ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ (ILPCM MODEL) พบว่า ๑) ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ (E๑/E๒) เท่ากับ ๘๔.๐๕/๘๓.๙๖ ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ที่ตั้งไว้ ๒) นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ๓) นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ๔) นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนา ขึ้น มีทักษะการใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint ๒๐๑๖ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ๕) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
๔. ครูผู้สอนรายวิชาคอมพิวเตอร์ มีความคิดเห็นต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะการใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint ๒๐๑๖ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก