รายงานการศึกษาในครั้งนี้ผู้ศึกษามีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อหาค่าประสิทธิภาพ
ของแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำไม่ตรงมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านจือนือแร ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐
๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้
แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำไม่ตรงมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านจือนือแร ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการใช้
แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำไม่ตรงมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านจือนือแร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านจือนือแร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 จำนวน 23 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 22 แผน 2) แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำไม่ตรงมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านจือนือแร จำนวน 4 เล่ม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา จำนวน 30 ข้อ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 4 ที่มีต่อแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำไม่ตรงมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านจือนือแร จำนวน ๑๐ ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) ใช้ค่า E1 และ E2 หาค่าประสิทธิภาพเครื่องมือ และเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยค่า ที (T-test ) พบว่าได้ผลดังนี้
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำไม่ตรงมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านจือนือแร ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 87.28/92.03 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ ๘๐/๘๐
2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อน
การจัดการเรียนรู้และหลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำไม่ตรงมาตราตัวสะกด
โดยก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 20.83 คะแนน หรือร้อยละ 69.42 และ ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน เท่ากับ 1.67 และหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 27.61 คะแนน ร้อยละ 92.03 ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน เท่ากับ 2.67 มีค่าพัฒนา Mean เท่ากับ 6.87 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 2.28 ที (T-test ) 14.2950 ตามลำดับและเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านจือนือแร สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำไม่ตรงมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านจือนือแร ทั้งหมดจำนวน 4 เล่ม โดยภาพรวมมีระดับความพึงพอใจสูงสุด คือ สื่อมีความเหมาะสมทำให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหา มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.91 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.29 อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด รองลงมา คือ บุคลากร มีความรู้ความสามารถ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.87 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.34 อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด และมีระดับความพึงพอใจน้อยที่สุด คือ เนื้อหามีความเหมาะสม และนักเรียนชอบเนื้อหาสาระนี้ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.13 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.63 อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก สรุป รายการประเมินความพึงพอใจ ทั้ง 10 รายการ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.63 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.45 อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด
สรุปได้ว่า แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำไม่ตรงมาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านจือนือแร ตำบลบุดี อำเภอเมือง จังหวัดยะลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลาเขต 1 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับนักเรียน สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาทักษะการเขียนสะกดคำไม่ตรงมาตราตัวสะกด และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้เป็นอย่างดียิ่ง และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน