ชื่อเรื่อง รายงานผลนวัตกรรม เรื่อง การพัฒนาความรู้ความเข้าใจด้านการประยุกต์ใช้
การเรียนรู้คู่วิถีพอเพียง เคียงคู่สมุนไพรโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี)
ชื่อผู้วิจัย นางมาเดียนา ยูโซะ ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี) สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองนราธิวาส
อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
การพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาความรู้ความเข้าใจด้านการประยุกต์ใช้การเรียนรู้คู่วิถีพอเพียง เคียงคู่สมุนไพร ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม และเพื่อศึกษาประโยชน์ที่ครูได้รับจากหนังสือชุดนี้เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มประชากรเป้าหมายที่ใช้ในการพัฒนาเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปี 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน จากโรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี) สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองนราธิวาส โดยครูผู้สอน ครูวิชาการ ผู้บริหาร จากโรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี) จำนวน 10 คน และครูผู้สอนจากโรงเรียนอื่นๆรวมทั้งศึกษานิเทศก์ จำนวน 7 คน ใช้ข้อสอบเป็นเครื่องมือในการวัดผลสัมฤทธิ์ ส่วนความเหมาะสมของหนังสืออ่านเพิ่มเติม ใช้แบบสอบถามประเภทจัดอันดับคุณภาพ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทำได้โดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ( = 3.92) และผลการทดสอบค่าที (t-test) มีความแตกต่างกันที่ระดับความเชื่อมั่น .01 นั่นคือ หลังเรียนหนังสืออ่านเพิ่มเติมนักเรียนได้รับความรู้เพิ่มขึ้นจริง เชื่อได้ 90 %
2. ครูผู้สอน ครูวิชาการโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ และผู้บริหารโรงเรียน มีความคิดเห็นโดยรวมเกี่ยวกับความเหมาะสมของหนังสืออ่านเพิ่มเติม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 3.77)
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
หลักสูตรเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้โดยเปิดโอกาสให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โรงเรียนจัดทำสาระของหลักสูตรเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับชุมชน เพื่อเป็นการตอบสนองต่อความต้องการ อันเป็นประโยชน์ต่อพื้นฐานการดำรงชีวิตของประชาชน ครูผู้สอนพัฒนากิจกรรมกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดและความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และเกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ โดยประสานความร่วมมือกับคณะครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดเนื้อหาสาระที่เหมาะสมมุ่งให้ผู้เรียน มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับชีวิต อาชีพ เศรษฐกิจ และสังคม นำทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด อันจะทำให้การจัดการเรียนรู้บรรลุเป้าประสงค์เป็นการศึกษาเพื่อชีวิต เป็นประโยชน์ต่อสังคม ท้องถิ่น ประเทศชาติ กรมวิชาการ (2555 : 6 - 7)
กลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กำหนดเป้าหมายในการจัดเพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ที่หลากหลาย เกิดความรู้ ความชำนาญ ทั้งวิชาการและวิชาชีพอย่างกว้างขวาง ค้นพบความสนใจ ความถนัด และพัฒนาความสามารถพิเศษเฉพาะตัว มองเห็นช่องทางในการสร้างงานอาชีพในอนาคตได้เหมาะสมกับตนเอง เห็นคุณค่าขององค์ความรู้ต่างๆสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปใช้ในการพัฒนาตนเองและประกอบอาชีพ พัฒนาบุคลิกภาพ เจตคติ ค่านิยมในการดำเนินชีวิตและเสริมสร้างจริยธรรม ตลอดจนมีจิตสำนึกและประโยชน์เพื่อสังคมและประเทศชาติ กรมวิชาการ (2555 : 9) ซึ่งประกอบกิจกรรม 3 ลักษณะ กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมแนะแนว เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาความสามารถของผู้เรียนให้เหมาะสมตามความแตกต่างของบุคคล กิจกรรม 2 กิจกรรมนักเรียน เป็นกิจกรรมที่พัฒนาตามความถนัด ความสนใจ ตามความต้องการของผู้เรียน ที่มุ่งเน้นการเติมเต็มความรู้ความชำนาญและประสบการณ์ของผู้เรียนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด มุ้งเน้นปลูกฝังระเบียบวินัย กฎเกณฑ์เมื่อการอยู่ร่วมในสภาพชีวิตต่าง ๆ นำไปพื้นฐานการทำประโยชน์ให้แก่สังคม กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ชุมชนและท้องถิ่นตามความสนใจในลักษณะอาสาสมัคร กรมวิชาการ (2555: 17-22)
การจัดการเรียนการสอนให้คนเกิดการเรียนรู้ที่ผ่านมาพบว่า คุณภาพการศึกษายังไม่ดีเท่าที่ควร เพราะกระบวนการเรียนการสอนและการวัดผลไม่เอื้อให้เด็กได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพก่อให้เกิดปัญหาแก่ผู้เรียน คือผู้เรียนอ่อนลงในด้านกระบวนการคิดการวิเคราะห์ สังเคราะห์ อย่างมีเหตุผล รวมทั้งคุณลักษณะในการใฝ่รู้ ผลดังกล่าวเกิดจากกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นการท่องจำมากกว่าการใช้ทักษะกระบวนการ ซึ่งทำให้ผลสัมฤทธิ์ในกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของผู้เรียนอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ ทั้งนี้เพราะผู้เรียนมีพื้นความรู้ต่างกัน สุคนธ์ สินธพานนท์ (2553 : 38) และเนื่องจากวิธีการสอนของครูส่วนใหญ่จะสอนแบบบรรยายยึดตนเองเป็นสำคัญ ผูกขาดการถ่ายทอดความรู้ ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนที่จะทำให้ผู้เรียนพัฒนาความรู้ทักษะและเจตคติ ครูจะต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทการสอนจากครูเป็นสำคัญมาเป็นการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติจริงจนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครูจะมีบทบาทในการวางแผนจัดประสบการณ์หรือกิจกรรมการเรียนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ อาศัยกระบวนการเรียนรู้และเทคนิควิธีสอนที่หลากหลายรูปแบบ เช่น การใช้เกม สถานการณ์จำลอง การอภิปราย การทำโครงงาน การทดลองและการเรียนรู้แบบร่วมมือ นอกจากปัญหาการสอนของครูแล้วยังมีปัญหาการเรียนของนักเรียนเช่น นักเรียนไม่ทำการบ้าน ไม่ทบทวนบทเรียน ไม่ตั้งใจเรียน หรือบทเรียนยากเกินไป ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาในการเรียนสอนทั้งสิ้น ซึ่งผู้เรียนจะต้องอาศัยทักษะ สติปัญญาจึงจะทำให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการเรียนได้ จากผลการวิจัยของ วัชระ มะรังศรี (2558 :บทคัดย่อ) พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่สอนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง เพาะเลี้ยงจิ้งหรีด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่าวิธีสอนแบบปกติ นักเรียนมีความสนใจกระตือรือร้นและไม่เบื่อหน่ายเนื้อหาที่จะเรียน ทั้งนี้เพราะการเรียนโดยให้นักเรียนได้ลงมือกระทำ ช่วยทำให้นักเรียน ได้สัมพันธ์กับบทเรียนตลอดเวลา
จากหลักสูตรแกนการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่เน้นจุดประสงค์ของกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้ค้นพบ และฝึกใช้ศักยภาพที่มีในตนอย่างเต็มที่ เลือก ตัดสินใจ ได้อย่างมีเหตุผลเหมาะสมกับตนเอง สามารถวางแผนชีวิต และอาชีพได้อย่างมีคุณภาพ เน้นการเล่นสร้างทักษะชีวิต วุฒิภาวะทางอารมณ์ ศีลธรรมและจริยธรรม ซึ่งจะเห็นได้ว่า นอกจากมุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่นแล้ว หลักสูตรยังต้องการให้กระบวนการเรียนรู้กลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นสิ่งฝึกฝนให้ผู้เรียนมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ มีกระบวนการคิด มีทักษะในการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสมและมีความสุข ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเน้นการพัฒนาความสามารถของนักเรียนในการให้เห็นความสำคัญของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้การเรียนรู้คู่วิถีพอเพียง เคียงคู่สมุนไพรตามสถานการณ์ที่เหมาะสม เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ซึ่งสามารถตัดสินใจแก้ปัญหาง่ายๆของตนได้ และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข อย่างไรก็ตามแม้ว่าการจัดการเรียนการสอนกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน แต่จากผลการประเมินคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนในสังกัด สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองนราธิวาส ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2559 - 2561 พบว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละของกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนภาพรวมระหว่าง 25-43 และพบว่าร้อยละของนักเรียนที่มีผลน่าพอใจอยู่ในช่วง 11-39 สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองนราธิวาส (2559 : 33, 2558 : 25) ซึ่งจากผลดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการเรียนกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนยังเป็นปัญหาที่สำคัญของความสามารถในกระบวนการคิด ตลอดจน มีทักษะในการดำเนินชีวิต นักเรียนส่วนใหญ่ไม่สามารถเรียนกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนได้ดี
โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี) ที่ผู้วิจัยสอนอยู่ก็มีปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เช่นกัน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่เป็นที่น่าพอใจ เพราะนักเรียนส่วนมากจะใช้วิธีการจำที่ขาดพื้นฐานของความเข้าใจ จึงไม่สามารถวิเคราะห์ปัญหาได้ คิดไม่ได้ ทำไม่เป็น ไม่รู้ว่าจะต้องใช้วิธีอะไรมาแก้ปัญหานั้นที่มีความสัมพันธ์กับชีวิต
จากปัญหาดังกล่าว ผู้รายงานได้ศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลการจัดทำนวัตกรรมที่เหมาะสมกับวัยและระดับชั้น พบว่า หนังสืออ่านเพิ่มเติม เป็นสื่อที่ช่วยพัฒนาการเรียนรู้การทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องราวของการประยุกต์ใช้การเรียนรู้คู่วิถีพอเพียง เคียงคู่สมุนไพรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพราะนักเรียนสามารถศึกษาได้ทั้งในและนอกเวลาเรียน โดยมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับหลักสูตร เรื่องราว สนุกสนาน มีภาพประกอบสวยงามเร้าความสนใจ กระตุ้นให้มีความอยากอ่าน เน้นเรื่องสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม จึงได้จัดทำหนังสืออ่านเพิ่มเติมขึ้น จำนวน 15 เรื่อง เพื่อพัฒนานักเรียนได้เรียนรู้ความเป็นมา และทำความเข้าใจ เกี่ยวกับเรื่องราวของการเรียนรู้คู่วิถีพอเพียง เคียงคู่สมุนไพรได้อย่างถ่องแท้
คำถามการพัฒนา
1. หนังสืออ่านเพิ่มเติมส่งผลต่อการพัฒนาความรู้ความเข้าใจด้านการประยุกต์ใช้การเรียนรู้คู่วิถีพอเพียง เคียงคู่สมุนไพรของนักเรียนได้เพียงใด
2. ครูได้รับประโยชน์จากหนังสือชุดนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดหนังสืออ่านเพิ่มเติมเพียงใด
วัตถุประสงค์การพัฒนา
1. เพื่อศึกษาผลการพัฒนาความรู้ความเข้าใจด้านการประยุกต์ใช้การเรียนรู้คู่วิถีพอเพียง เคียงคู่สมุนไพรก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม
2. เพื่อศึกษาประโยชน์ที่ครูได้รับจากหนังสือชุดนี้ เป็นแนวทางในการจัดทำหนังสืออ่านเพิ่มเติม
สมมติฐานการพัฒนา
1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการประยุกต์ใช้การเรียนรู้คู่วิถีพอเพียง เคียงคู่สมุนไพรโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
2. ครูมีความคิดเห็นโดยรวมเกี่ยวกับความเหมาะสมของหนังสืออ่านเพิ่มเติมชุดนี้ อยู่ในระดับมากที่สุด
ประโยชน์ของการพัฒนา
ประโยชน์ของนักเรียน
ผลการพัฒนาทำให้ทราบผลความรู้ความเข้าใจด้านการประยุกต์ใช้การเรียนรู้คู่วิถีพอเพียง เคียงคู่สมุนไพรของนักเรียน อันเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปปรับปรุง แก้ไขและพัฒนาผู้เรียน ให้เป็นผู้มีความสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตน เพื่อการแก้ปัญหาในสถานการณ์จริงได้
ประโยชน์ต่อครูผู้สอน
ผลการพัฒนาทำให้ครูผู้สอนและผู้เกี่ยวข้อง ได้แนวทางในการจัดทำหนังสืออ่านเพิ่มเติมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริง
ประโยชน์ต่อโรงเรียน
ผลจากการพัฒนาทำให้โรงเรียนได้มีหนังสือทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ไปยังโรงเรียนอื่น ชุมชน และผู้ปกครองนักเรียนที่สนใจที่จะพัฒนานักเรียนให้เป็นผู้มีนิสัยรักการอ่าน และมีความใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
ขอบเขตการพัฒนา
1. เนื้อหา/กิจกรรมที่พัฒนา
หนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อการพัฒนาความรู้ความเข้าใจด้านการประยุกต์ใช้การเรียนรู้คู่วิถีพอเพียง เคียงคู่สมุนไพรของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มี 15 เรื่อง ประกอบด้วย
เรื่องที่ 1 ต. ตะไคร้ไล่ยุง
เรื่องที่ 2 น. น้อยหน่าฆ่าเหา
เรื่องที่ 3 ล. ลูกประคบสยบรอยซ้ำ
เรื่องที่ 4 ข. ขิงสมุนไพรต้านลมหนาว
เรื่องที่ 5 ของขวัญปีใหม่จากคุณย่า
เรื่องที่ 6 ดินสอพองของโบราณ
เรื่องที่ 7 หอมเล็กหอมใหญ่
เรื่องที่ 8 มะเฟืองฝานแล้ว
เรื่องที่ 9 คุณตาสับปะรด
เรื่องที่ 10 เหม็นๆหอมๆของหนุ่มน้อย
เรื่องที่ 11 เพิ่มพลังจากนมข้าวโพด
เรื่องที่ 12 ด้วยรักและบูชา
เรื่องที่ 13 ยาระบาย
เรื่องที่ 14 ขมๆหวานๆ
เรื่องที่ 15 ยาหม่องสมุนไพรทาถู ทาถู
2. ประชากร
ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการพัฒนาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน จากโรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี) สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองนราธิวาส ครูโรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี) และครูผู้สอน ครูวิชาการ ผู้บริหาร จากโรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี) จำนวน 10 คน และครูผู้สอนจากโรงเรียนอื่น ๆ รวมทั้งศึกษานิเทศก์ จำนวน 7 คน
3. ระยะเวลา
3.1 ทำการสอนเสริมในชั่วโมงซ่อมเสริม (คาบ LOCK ให้นักเรียนทำกิจกรรม) โดยสอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 คน สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ๆ ละ 1 ชั่วโมง
3.2 ระยะเวลาทำการสอนในภาคเรียนที่ 1 ระหว่างวันที่ 21 พฤษภาคม 2562 ถึงวันที่ 28 สิงหาคม 2562
4. ตัวแปร
4.1 ตัวแปรต้น คือ การพัฒนาความรู้ความเข้าใจด้านการประยุกต์ใช้การเรียนรู้คู่วิถีพอเพียง เคียงคู่สมุนไพร โดยใช้หนังสือเพิ่มเติม จำนวน 15 เรื่อง
4.2 ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
สรุปผลการวิจัย
1. ผลจากการอ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติม การประยุกต์ใช้การเรียนรู้คู่วิถีพอเพียง เคียงคู่สมุนไพร โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองนราธิวาสจำนวน 30 คน ซึ่งได้สรุปวิเคราะห์ผลจากการทดสอบก่อนเรียนกับผลการทดสอบหลังเรียน โดยเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ( = 3.92) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) และทดสอบค่าที (t-test) ปรากฏว่าค่าเฉลี่ย ( ) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )ก่อนเรียนที่มีค่ามากกว่าหลังเรียนส่วนผลการทดสอบที (t-test) มีความแตกต่างกันที่ระดับความเชื่อมั่นที่ .01 นั่นคือหลังเรียนหนังสืออ่านเพิ่มเติม นักเรียนได้รับความรู้เพิ่มขึ้นจริงเชื่อได้ 99%
2. ผลการสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอน ครูวิชาการศึกษานิเทศก์ เกี่ยวกับความเหมาะสม ของหนังสืออ่านเพิ่มเติม ด้วยการประยุกต์ใช้การเรียนรู้คู่วิถีพอเพียง เคียงคู่สมุนไพร โดยใช้หนังสือของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.77 ค่าเฉลี่ย ( ) ความเหมาะสมของหนังสืออ่านเพิ่มเติมทั้ง 15 เล่มมีรายละเอียดดังนี้
2.1 เรื่อง ต. ตะไคร้ไล่ยุง ค่าเฉลี่ยโดยรวม เท่ากับ 3.80 รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ รายการที่ 3 เกี่ยวกับเรื่องสอดคล้องกับวัยและความสนใจของผู้เรียน ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.88 รายการที่ 5 เกี่ยวกับการใช้ภาษาเหมาะสมกับระดับและวัยของผู้เรียน เฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.88 รายการที่ 8 เกี่ยวกับการจัดรูปเล่มหนังสือช่วยให้อ่านได้ง่าย เฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.88 รายการที่ 9 เกี่ยวกับช่วยกระตุ้นรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.88 รายการที่ 10 ช่วยปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์เฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.88 ส่วนค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ รายการที่ 7 เกี่ยวกับภาพประกอบเหมาะสมกับเนื้อเรื่อง ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.59
2.2 เรื่อง น. น้อยหน่าฆ่าเหา ค่าเฉลี่ยโดยรวม เท่ากับ 3.79 รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ รายการที่ 4 เกี่ยวกับการเขียนเรื่องช่วยให้เข้าใจเนื้อเรื่องได้ดีและน่าอ่าน ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.94 และรายการที่ 10 เกี่ยวกับช่วยปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.94 ส่วนค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ รายการที่ 7 เกี่ยวกับภาพประกอบเหมาะสมกับเนื้อเรื่องค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.53
2.3 เรื่อง ล. ลูกประคบสยบรอยซ้ำ ค่าเฉลี่ยโดยรวม เท่ากับ 3.57 รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ รายการที่ 2 เกี่ยวกับเนื้อเรื่องมีสารประโยชน์ ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.82 รายการที่ 3 เกี่ยวกับเรื่องสอดคล้องกับวัยและความสนใจของผู้เรียน ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.82 ส่วนค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ รายการที่ 5 เกี่ยวกับการใช้ภาษาเหมาะสมกับระดับและวัยของผู้เรียน ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 2.94
2.4 เรื่อง ข. ขิงสมุนไพรต้านลมหนาว ค่าเฉลี่ยโดยรวม เท่ากับ 3.71 รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่รายการที่ 1 เกี่ยวกับเนื้อเรื่องมีเนื้อหาถูกต้อง ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.00 ส่วนค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ รายการที่ 5 เกี่ยวกับการใช้ภาษาเหมาะสมกับระดับและวัยของผู้เรียนเกี่ยวกับ ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 2.94
2.5 เรื่อง ของขวัญปีใหม่จากคุณย่า ค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 3.73 รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่รายการที่ 3 เกี่ยวกับเรื่องสอดคล้องกับวัย และความสนใจของผู้เรียน ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.88 รายการที่ 5 เกี่ยวกับเรื่องการใช้ภาษาเหมาะสมกับระดับและวัยของผู้เรียน ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.88 และรายการที่ 9 เกี่ยวกับเรื่องช่วยกระตุ้นให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน ใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.88 ส่วนค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ รายการที่ 10 เกี่ยวกับเรื่องการช่วยปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างของโบราณให้เกิดประโยชน์ ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.41
2.6 เรื่อง ดินสอพองของโบราณ ค่าเฉลี่ยโดยรวม เท่ากับ 3.83 รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ รายการที่ 1 เกี่ยวกับเนื้อเรื่องมีเนื้อหาถูกต้อง ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.00 และรายการที่ 5 เกี่ยวกับการใช้ภาษาเหมาะสมกับระดับและวัยของผู้เรียน ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.00 ส่วนค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ รายการที่ 9 เกี่ยวกับเรื่องช่วยกระตุ้นให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน ใฝ่หาความรู้อย่างอยู่เสมอ ค่าเฉลี่ย( ) เท่ากับ 3.29
2.7 เรื่อง หอมเล็กหอมใหญ่ ค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 3.73 รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ รายการที่ 11 เกี่ยวกับเรื่องเป็นสื่อการสอนที่สามารถใช้ประกอบการเรียนการสอนของครูและนักเรียนได้เป็นอย่างดี ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.94 ส่วนค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ รายการที่ 10 เกี่ยวกับเรื่องการช่วยปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.41
2.8 เรื่อง มะเฟืองฝานแล้ว ค่าเฉลี่ยโดยรวม เท่ากับ 3.79 รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ รายการที่ 1 เกี่ยวกับเนื้อเรื่องมีเนื้อหาถูกต้อง ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.94 และรายการที่ 2 เกี่ยวกับเนื้อเรื่องมีสารประโยชน์ ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.94 ส่วนค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ รายการที่ 10 เกี่ยวกับเรื่องการช่วยปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.41
2.9 เรื่อง คุณตาสับปะรด ค่าเฉลี่ยโดยรวม เท่ากับ 3.79 รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ รายการที่ 1 เกี่ยวกับเนื้อเรื่องมีเนื้อหาถูกต้อง ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.94 และรายการที่ 2 เกี่ยวกับเนื้อเรื่องมีสารประโยชน์ ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.94 ส่วนค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ รายการที่ 10 เกี่ยวกับเรื่องการช่วยปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.41
2.10 เรื่อง เหม็นๆหอมๆของหนุ่มน้อย ค่าเฉลี่ยโดยรวม เท่ากับ 3.79 รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ รายการที่ 1 เกี่ยวกับเนื้อเรื่องมีเนื้อหาถูกต้อง ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.94 และรายการที่ 2 เกี่ยวกับเนื้อเรื่องมีสารประโยชน์ ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.94 ส่วนค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ รายการที่ 10 เกี่ยวกับเรื่องการช่วยปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.41
2.11 เรื่อง เพิ่มพลังจากนมข้าวโพด ค่าเฉลี่ยโดยรวม เท่ากับ 3.79 รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ รายการที่ 1 เกี่ยวกับเนื้อเรื่องมีเนื้อหาถูกต้อง ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.94 และรายการที่ 2 เกี่ยวกับเนื้อเรื่องมีสารประโยชน์ ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.94 ส่วนค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ รายการที่ 10 เกี่ยวกับเรื่องการช่วยปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.41
2.12 เรื่อง ด้วยรักและบูชา ค่าเฉลี่ยโดยรวม เท่ากับ 3.79 รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ รายการที่ 1 เกี่ยวกับเนื้อเรื่องมีเนื้อหาถูกต้อง ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.94 และรายการที่ 2 เกี่ยวกับเนื้อเรื่องมีสารประโยชน์ ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.94 ส่วนค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ รายการที่ 10 เกี่ยวกับเรื่องการช่วยปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.41
2.13 เรื่อง ยาระบาย ค่าเฉลี่ยโดยรวม เท่ากับ 3.79 รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ รายการที่ 1 เกี่ยวกับเนื้อเรื่องมีเนื้อหาถูกต้อง ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.94 และรายการที่ 2 เกี่ยวกับเนื้อเรื่องมีสารประโยชน์ ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.94 ส่วนค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ รายการที่ 10 เกี่ยวกับเรื่องการช่วยปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.41
2.14 เรื่อง ขมๆหวานๆ ค่าเฉลี่ยโดยรวม เท่ากับ 3.79 รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ รายการที่ 1 เกี่ยวกับเนื้อเรื่องมีเนื้อหาถูกต้อง ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.94 และรายการที่ 2 เกี่ยวกับเนื้อเรื่องมีสารประโยชน์ ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.94 ส่วนค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ รายการที่ 10 เกี่ยวกับเรื่องการช่วยปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.41
2.15 เรื่อง ยาหม่องสมุนไพรทาถู ทาถู ค่าเฉลี่ยโดยรวม เท่ากับ 3.79 รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ รายการที่ 1 เกี่ยวกับเนื้อเรื่องมีเนื้อหาถูกต้อง ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.94 และรายการที่ 2 เกี่ยวกับเนื้อเรื่องมีสารประโยชน์ ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.94 ส่วนค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ รายการที่ 10 เกี่ยวกับเรื่องการช่วยปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.41
ข้อเสนอแนะ
1. ควรหารูปแบบใหม่ๆในการสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาคุณภาพหนังสืออ่านเพิ่มเติม ด้วยเทคนิคต่างๆ ที่แปลกใหม่ เพื่อให้นักเรียนเกิดความสนุกสนาน เพลินเพลิน ได้ความรู้จากการเรียนมากยิ่งขึ้น
2. ครูผู้สอน กลุ่มสาระการเรียน ควรจัดทำและพัฒนาประเภทหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องอื่นๆ และใช้ระดับชั้นอื่นๆ ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภารการเรียนการสอน
3. ครูผู้สอน กลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ ควรเลือกและจัดทำพัฒนาสื่อประเภทนี้ ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน
4. ครูผู้สอนควรเลือกสื่อประเภทอื่นๆ โดยจัดทำพัฒนาและทดลองใช้ตามขั้นตอนในลักษณะเดียวกันเพื่อความหลากหลายของสื่อ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน
5. สถานศึกษาทุกแห่งควรส่งเสริมสนับสนุนให้ครูผู้สอนได้จัดทำ และพัฒนาสื่อการเรียนการสอนด้วยตนเองตามสภาพปัญหา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนอย่างจริงจัง
6. สถานศึกษาทุกแห่ง ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูผู้สอนได้จัดทำ และพัฒนาสื่อในลักษณะของงานวิจัย เพื่อเป็นนวัตกรรมและผลงานของครู และเผยแพร่ต่อไป
7. สถานศึกษา ควรมีโครงการประกวดสื่อการเรียนรู้ หรือนวัตกรรม ระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ อันจะทำให้ครูได้สร้างสื่อการเรียนรู้ หรือนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น