ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการพัฒนา
และบริหารหลักสูตรการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่หลักสูตร
สถานศึกษา โรงเรียนหินดาดวิทยา
ผู้เขียน สิบเอกไกรศรี ชิดนอก
ปีที่ศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการพัฒนาและบริหารหลักสูตรการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนหินดาดวิทยา และมีวัตถุประสงค์เฉพาะ 1) เพื่อจำแนกข้อมูลพื้นฐานและสภาพการพัฒนาและบริหารหลักสูตรการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนหินดาดวิทยา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) ในการพัฒนาและบริหารหลักสูตรการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนหินดาดวิทยา 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) ในการพัฒนาและบริหารหลักสูตรการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนหินดาดวิทยา และปรับปรุงรูปแบบ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการพัฒนาและบริหารหลักสูตรการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนหินดาดวิทยา โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนาแบ่งเป็น 4 ระยะคือระยะที่ 1 การจำแนกข้อมูลพื้นฐานและสภาพการพัฒนาและบริหารหลักสูตรการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนหินดาดวิทยาโดยการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้บริหารและครูรวม 25 คน เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาและบริหารหลักสูตรการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนหินดาดวิทยา โดยใช้แบบบันทึกการประชุมและการตอบแบบสอบถามการปฏิบัติงาน การพัฒนาและบริหารหลักสูตรการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่หลักสูตรสถานศึกษา เพื่อศึกษาระดับปฏิบัติ และระดับปัญหา โดยใช้แบบสอบถาม ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการพัฒนาและบริหารหลักสูตรการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนหินดาดวิทยา โดยประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้บริหาร หัวหน้าฝ่ายวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระและหัวหน้ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและบริหารหลักสูตรการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่หลักสูตรสถานศึกษา รวม 11 คนเพื่อร่วมกันกำหนดปัญหา ระบุสาเหตุของปัญหาจัดลำดับความสำคัญของปัญหา และเลือกแนวปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติร่วมกันในการพัฒนาและบริหารหลักสูตรการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่หลักสูตรสถานศึกษา โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อให้ได้องค์ประกอบของรูปแบบ ในการยกร่างรูปแบบ โดยใช้แบบบันทึกการประชุม แล้วให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คนประเมินรูปแบบด้วยแบบประเมินความสอดคล้อง ระยะที่3 การทดลองใช้รูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการพัฒนาและบริหารหลักสูตรการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนหินดาดวิทยา โดยใช้คู่มือการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในการพัฒนาและบริหารหลักสูตรการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่หลักสูตรสถานศึกษา ดำเนินการตามขั้นตอน กระบวนการ และองค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จำนวน 2 รอบและบันทึกผล และสอบถามผลหลังการทดลองใช้รูปแบบของผู้บริหารและครู จำนวน 25 คนโดยแบบสอบถาม และปรับปรุงรูปแบบ ระยะที่ 4 ประเมินรูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการพัฒนาและบริหารหลักสูตรการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนหินดาดวิทยาโดยสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้รูปแบบคือผู้บริหารและครู จำนวน25คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน13 คนรวมทั้งสิ้นจำนวน 38 คน และสอบถามนักเรียนที่เรียนหลักสูตรการบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงจำนวน 138 คนและผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 138 คนรวมทั้งสิ้นจำนวน 276 คนสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. สภาพการพัฒนาและบริหารหลักสูตรการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนหินดาดวิทยา ได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลระเบียบแนวปฏิบัติจากหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนหินดาดวิทยา เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำหลักสูตรการบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง และนำข้อมูลที่ได้มากำหนดโครงสร้างเวลาเรียนของหลักสูตร ต่อจากนั้นนำมาตรวจสอบกับโครงสร้างเวลาเรียนของหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐานให้สอดคล้องกับเกณฑ์การจบหลักสูตร และผลจากการตอบแบบสอบถามการปฏิบัติงานการพัฒนาและบริหารหลักสูตรการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่หลักสูตรสถานศึกษา พบว่าระดับการปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษามีระดับการปฏิบัติระดับปานกลาง ด้านการกำกับดูแลคุณภาพมีระดับการปฏิบัติระดับปานกลาง และด้านการส่งเสริมสนับสนุนมีระดับปฏิบัติระดับน้อย ส่วนระดับปัญหาโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการส่งเสริมสนับสนุนมีระดับปัญหาระดับมากที่สุด ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษามีระดับปัญหาระดับมาก และด้านการกำกับดูแลคุณภาพมีระดับปัญหาระดับมาก ตามลำดับ
2. การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC)ในการพัฒนาและบริหารหลักสูตรการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนหินดาดวิทยา โดยการศึกษาและสังเคราะห์แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประกอบด้วย1)ขั้นการกำหนดเป้าหมาย 2) ขั้นการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 3) ขั้นการนำชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสู่การปฏิบัติ 4) ขั้นการสะท้อนผลและมี 6 องค์ประกอบ คือ 1) ร่วมวิสัยทัศน์ 2) ร่วมทีมพัฒนา 3) ร่วมเรียนรู้ 4) ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5) ร่วมสะท้อนคิด 6) การหนุนเสริมชุมชนได้แก่ นโยบาย สิ่งอำนวยความสะดวก วัสดุ อุปกรณ์ เวลา และขวัญ กำลังใจ และจากการประชุมครูและผู้บริหารเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการพัฒนารูปแบบ พบว่า มี 2 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นกำหนดปัญหาระบุสาเหตุของปัญหา และจัดลำดับความสำคัญของปัญหาการพัฒนาและบริหารหลักสูตรการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่หลักสูตรสถานศึกษา 2) ขั้นการเลือกแนวปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติร่วมกันในการพัฒนาและบริหารหลักสูตรการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่หลักสูตรสถานศึกษา เพื่อกำหนดเป็นองค์ประกอบของรูปแบบ เพื่อยกร่างรูปแบบพบว่า องค์ประกอบของรูปแบบตามหลักการบริหารหลักสูตร มี 3 ด้านได้แก่ ด้านการส่งเสริมสนับสนุน มีจำนวน 13 ข้อ ด้านการจัดทำหลักสูตรการบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีจำนวน 10 ข้อ และด้านการกำกับดูแลคุณภาพ มีจำนวน 10 ข้อ
3. การทดลองใช้รูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) ในการพัฒนาและบริหารหลักสูตรการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนหินดาดวิทยา โดยทดลองกับผู้บริหาร 1 คนและ ครู 24 คน โดยใช้คู่มือการสร้างชุมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการพัฒนาและบริหารหลักสูตรการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนหินดาดวิทยา จากขั้นตอนการสะท้อนผล มีการปรับปรุงองค์ประกอบของรูปแบบทั้ง 3 ด้านๆละ1 องค์ประกอบคือ ด้านการส่งเสริมสนับสนุนข้อ1จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดทำหลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงร่วมกับองค์กรในชุมชน ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ข้อ8 จัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสะท้อนคิดการจัดทำโครงสร้างรายวิชาของครูร่วมกับองค์กรในชุมชนทุกปีการศึกษา และด้านการกำกับดูแลคุณภาพข้อ 5 เปลี่ยนเป็น ร่วมกันกำหนดรูปแบบการสำรวจความต้องการศึกษาต่อการประกอบอาชีพของนักเรียนร่วมกับองค์กรในชุมชน และผลจากการตอบแบบสอบถามหลังการใช้รูปแบบ พบว่าการปฏิบัติงานการพัฒนาและบริหารหลักสูตรการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่หลักสูตรสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการจัดทำหลักสูตรมีระดับการปฏิบัติระดับมากที่สุดด้าน การกำกับดูแลคุณภาพมีระดับการปฏิบัติระดับมากที่สุด และด้านการส่งเสริมสนับสนุน มีระดับการปฏิบัติระดับมาก และผลจากข้อเสนอแนะให้เพิ่มอีกจำนวน 2 องค์ประกอบ คือ ด้านการจัดทำหลักสูตร ข้อ11.ร่วมเรียนรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและด้านPLC และด้านการกำกับดูแลคุณภาพ ข้อ 11.ร่วมเรียนรู้และสะท้อนคิดแนวทางการติดตามผลการจบหลักสูตร
4. การประเมินรูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการพัฒนาและบริหารหลักสูตรการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนหินดาดวิทยาจากการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจพบว่า 1) ความพึงพอใจของผู้บริหารครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการส่งเสริมสนับสนุนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการจัดทำหลักสูตรมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านการกำกับดูแลคุณภาพมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียนโดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ด้านการส่งเสริมสนับสนุนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ด้านการจัดทำหลักสูตรมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และด้านการกำกับดูแลคุณภาพมีความพึงพอใจอยู่ในระดับระดับมาก