บทคัดย่อ
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านนาสะเดา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model ของ Stufflebeam ใน 4 ด้าน คือ ด้านสภาพแวดล้อม (Context) ด้าน
ปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านผลผลิต (Output) และประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านนาสะเดา
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินเป็นนักเรียน ครูที่ปรึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านนาสะเดา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครพนม เขต 1 จำนวน 130 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ผู้ประเมินได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน เพื่อหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) หาค่าอำนาจจำแนก (Item discriminates) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และ
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการประเมินพบว่า
การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านนาสะเดา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 ปีการศึกษา 2562 ตามรูปแบบ CIPP Model ใน 4 ด้านโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านผลผลิต (Output) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านสภาพแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) และประเมินความพึงพอใจ
1. ด้านสภาพแวดล้อม (Context) โดยรวมมีผลการประเมินระดับการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.36) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ผลการประเมินระดับการดำเนินงานอยู่ในระดับ มากที่สุด 3 ข้อ และผลการประเมินระดับการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก 9 ข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โครงการมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (x̄ = 4.65) รองลงมาคือ โรงเรียนมีกิจกรรมเสริมสร้างการเรียนรู้และพัฒนาความสามารถนักเรียนอย่างหลากลาย (x̄= 4.53) และโรงเรียนมีกิจกรรมให้ความรู้ บทบาทในการดำเนินงานตามโครงการแก่ครูและบุคลากร (x̄ = 4.52) ตามลำดับ
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) โดยรวมมีผลการประเมินระดับการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก (x̄ =4.33) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า มีผลการประเมินระดับการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ข้อ และผลการประเมินระดับการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก 7 ข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ผู้บริหารเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (x̄=4.55) รองลงมา คือ ครู บุคลากร ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา และนักเรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามโครงการ ( x̄=4.53) และโรงเรียนมีสถานที่จัดกิจกรรมต่างๆตามโครงการอย่างเหมาะสมและเพียงพอ (x̄=4.52) ตามลำดับ
3. ด้านกระบวนการ (Process) โดยรวมมีผลการประเมินระดับการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก ( x̄= 4.37) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า มีผลการประเมินระดับการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ข้อ และผลการประเมินระดับการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก 13 ข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีการดำเนินงานตามแผนของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล (x̄ =4.55) รองลงมาคือ มีการดำเนินงานตามแผนของการดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้านการเรียน ( x̄=4.53) และมีการดำเนินงานตามแผนของการคัดกรองนักเรียนแยกกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และมีปัญหา (x̄ =4.44) ตามลำดับ
4. ด้านผลผลิต (Output) โดยรวมมีผลการประเมินระดับการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก ( x̄= 4.41) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า มีผลการประเมินระดับการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ข้อ และผลการประเมินระดับการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก 10 ข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้บริหาร ครู และบุคลากรในโรงเรียนรู้จักข้อมูลนักเรียนรายบุคคลอย่างรอบด้าน ( x̄=4.61) รองลงมาคือ ครูและบุคลากรในโรงเรียนคัดกรองนักเรียนกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง เพื่อหาแนวทางการส่งเสริมและแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสม ( x̄=4.55) และครูกับนักเรียนสัมพันธภาพที่ดีมีความอบอุ่น (x̄=4.53) ตามลำดับ
5. สรุปผลการประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านนาสะเดา ของผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน โดยรวมมีผลการประเมินระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.41) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า มีผลการประเมินระดับความ พึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ข้อ และผลการประเมินระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 8 ข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ครูที่ปรึกษาได้ออกเยี่ยมบ้าน และรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลอย่างครอบคลุม (x̄ =4.61) รองลงมาคือ นักเรียนมีความกล้าแสดงออก และภาคภูมิใจในตนเองมากขึ้น (x̄ =4.51) และนักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์เป็นที่พึงพอใจของครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และสาธารณชนทั่วไป (x̄ =4.43) ตามลำดับ