ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โรงเรียนเทิงวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36
ผู้วิจัย สุดา นันไชยวงค์
ปีที่ทำวิจัย 2561
บทสรุปผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โรงเรียนเทิงวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และด้านผลกระทบของโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โรงเรียนเทิงวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 โดยกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน รวมจำนวน 821 คน ได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ คือ แบบประเมิน มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมิน
ผลการประเมินโครงการ สรุปได้ดังนี้
ผลการประเมินโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โรงเรียนเทิงวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีผลการประเมินสูงสุด ได้แก่ ด้านผลผลิต รองลงมา คือ ด้านบริบท ด้านผลกระทบ ด้านกระบวนการ และด้านปัจจัยนำเข้า ตามลำดับ
ด้านบริบทของโครงการ โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยโครงการมีการกำหนดวิธีดำเนินงานและการวัดประเมินผลที่ชัดเจน โครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นและมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และโครงการมีเป้าหมายเพื่อสร้างความพร้อมด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกให้แก่ครูเพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด
ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยคณะกรรมการดำเนินงานของโครงการมีจำนวนที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการดำเนินโครงการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
ด้านกระบวนการของโครงการ โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยดำเนินกิจกรรมการนำการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสู่การปฏิบัติจริงในโรงเรียน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ กิจกรรมเสวนาด้านเทคนิคการสอนการเรียนรู้เชิงรุกกับครูต้นแบบ กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแก่คณะครู กิจกรรมการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแก่คณะครู กิจกรรมการสังเกตการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ และกิจกรรมการจัดนิทรรศการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เชิงรุก มีการปฏิบัติในระดับมากที่สุด ตามลำดับ
ด้านผลผลิตของโครงการ โดยรวมผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ดังนี้ (1) ครูมีความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเป็นกระบวนการเรียนการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ได้และมีความเข้าใจในตนเอง การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเป็นกระบวนการเรียนการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนมีทักษะวิชาการ ทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ และบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ และการจัดการเรียนรู้เชิงรุกทำให้ครูมีทักษะและประสบการณ์ในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการจัดการเรียนรู้เชิงรุก อยู่ในระดับมากที่สุด (2) ครูมีทักษะและกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกอยู่ในระดับมาก โดยมีทักษะและประสบการณ์เกี่ยวกับครูใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและแก้ปัญหาผู้เรียน ครูส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับผู้เรียนและผู้เรียนกับผู้เรียน ครูจัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และครูตั้งใจสอน ให้คำแนะนำนักเรียนในการทำกิจกรรม และดูแลนักเรียนอย่างทั่วถึง ทันเหตุการณ์ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด และ (3) ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการจัดการเรียนรู้เชิงรุกปีการศึกษา 2561 ทั้งหมดจำนวน 124 เรื่อง
ด้านผลกระทบของโครงการ โดยรวมผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยพบว่า ครูทำการวิจัยในชั้นเรียนในการจัดการเรียนการสอนที่ใช้แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและสื่อการสอน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด นักเรียนมีทักษะใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ ออกแบบ สร้างสรรค์ผลงาน เผยแพร่และนำเสนอสู่สาธารณชนในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค และระดับชาติ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านความพึงพอใจต่อโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โรงเรียนเทิงวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 โดยรวมมีความพึงพอใจมากที่สุด
ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการประเมินไปใช้ มีดังนี้
1. ควรมีหลักการและเหตุผลในการสนับสนุนการพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกได้อย่างเหมาะสมและชัดเจน
2. ควรจัดสรรงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการให้เพียงพอและเหมาะสม
3. ควรมีการดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างชัดเจน สอดคล้องกับสภาพปัญหาและเป้าหมายของโครงการ ก่อนริเริ่มโครงการ
4. ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก ควรส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักการแบ่งหน้าที่ มีความรับผิดชอบ และมีวินัยในการทำงานร่วมกัน
5. ควรส่งเสริมให้ครูมีประสบการณ์ในการนำการจัดการเรียนรู้เชิงรุกไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้มากขึ้น
6. ควรจัดการเรียนรู้เชิงรุกอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมนักเรียนให้เข้าร่วมการแข่งขันทักษะทางวิชาการในระดับจังหวัด ระดับภาคเหนือ และระดับชาติ ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงานของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
7. ควรส่งเสริมให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้จากการจัดการเรียนรู้เชิงรุกไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือใช้ในสถานการณ์ใหม่ในสภาพแวดล้อมใกล้ตัว ปัญหาชุมชม และสังคม
8. ครูควรเผยแพร่ผลงานวิชาการและการจัดนิทรรศการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกแก่ชุมชน หน่วยงาน และบุคคลที่สนใจมากขึ้น
ข้อเสนอแนะสำหรับหัวข้อการประเมินครั้งต่อไป
1. ควรศึกษาความสันพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้กับประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในชั้นเรียนและการส่งเสริมพัฒนาทักษะทางวิชาการในระดับระดับจังหวัด ระดับภาคเหนือ และระดับชาติ
2. ควรศึกษาและสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21