ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การจัดการศึกษาในรายวิชาสังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในปีการศึกษาปีที่ผ่านมาผลการเรียนของนักเรียนอยู่ในเกณฑ์ไม่ดีมากนัก และจากการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนในปีการศึกษา 2561 เรื่องทัศนคติที่มีต่อสาระภูมิศาสตร์ในรายวิชา ส 21104 สังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านคลองครก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา ๒๕๖๑ได้ผลสรุปด้านครูผู้สอนมีความรู้ความสามรถในการถ่ายทอดความรู้เนื้อหาวิชาภูมิศาสตร์ แต่ยังขาดกาการเรียนการสอนที่เหมาะสมใช้สื่อ ครูพูดเร็วทำให้นักเรียนฟังไม่ทัน ในการฝึกปฏิบัติแผนที่อาจต้องเลือกปฏิบัติจากง่ายไปหายากเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหา ด้านผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาภูมิศาสตร์และครูผู้สอนวิชาภูมิศาสตร์ทำให้ผลการเรียนไม่ดีเท่าที่ควรนั้น แต่สิ่งที่ผลการเรียนไม่ดี สาเหตุมาจาก เนื้อหาวิชาที่ยากและไม่ต่อเนื่องกัน อีกทั้งผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานในด้านวิชาภูมิศาสตร์น้อย ไม่ทบทวนเนื้อหาและไม่ชอบค้นคว้าเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอ่านหนังสือทบทวนเมื่อเรียนเนื้อหาในระดับสูงขึ้นทำให้ไม่เข้าใจเนื้อหาวิชาที่เรียน ดังนั้นครูผู้สอนควรปรับการเรียนการสอนโดยเมื่อเริ่ม ควรมีการสอนพื้นฐานเดิมก่อน โดยเฉพาะวิธีการทางแผนที่ อาทิเช่น เส้นต่าง ๆ บนแผนที่ สัญลักษณ์ที่ปรากฎบนแผนที่ ความหมายของสีต่าง ๆ บนแผนที่รวมทั้งต้องฝึกปฏิบัติแผนที่อย่างสม่ำเสมอและการจัดทำสื่อการเรียนการสอนที่กระตุ้นความสนใจและเพื่อให้นักเรียนลงมือปฏิบัติและสร้างความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาภูมิศาสตร์ด้วยตนเองจำทำให้นักเรียนมีความรู้ที่คงทนมากยิ่งขึ้น จึงได้นำผลจากการวิจัยมาใช้ในการสร้างเครื่องมือการเรียนการสอนที่กระตุ้นความสนใจในลักษณะของการเรียนในรูปแบบ Learning by doing
การใช้ชุดสื่อการสอนเครื่องมือทางภูมิศาสตร์และการแบ่งเขตเวลาโลกในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และการแบ่งเขตเวลาโลก โดยมีลักษณะชุดสื่อการสอนที่เน้นกิจกรรมแบบ Learning by doing เพื่อสร้างแรงจูงใจและสร้างความกระตือรือร้นในการเรียนรู้
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงเห็นว่าควรสร้างชุดสื่อการสอนเครื่องมือทางภูมิศาสตร์และการแบ่งเขตเวลาโลกในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และการแบ่งเขตเวลาโลก เพื่อสร้างความเข้าใจ สร้างความสนุกและจดจำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และการแบ่งเขตเวลาโลก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านคลองครก
2. เพื่อสร้างเจตคติที่ดีต่อวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านคลองครก
คำจำกัดความในการวิจัย
1. Learning by doing คือ การเรียนรู้ท่ามกลางการปฏิบัติ คือในขณะที่ปฏิบัติแล้วเกิดแนวความคิดใหม่ประสบการณ์เกิดการเรียนรู้ในช่วงการปฏิบัติกิจกรรม วิธีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองได้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาเรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และการแบ่งเขตเวลาโลก คือ คะแนนที่วัดจากแบบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนเรื่องเครื่องมือทางภูมิศาสตร์และการแบ่งเขตเวลาโลกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
ขอบเขตการวิจัย
1. ประชากร : นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 19 คน โรงเรียนบ้านคลองครก
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
2.1 แบบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนเรื่องเครื่องมือทางภูมิศาสตร์และการแบ่งเขตเวลาโลก
2.2 ชุดสื่อการสอนเครื่องมือทางภูมิศาสตร์และการแบ่งเขตเวลาโลก
3. ตัวแปร มี 2 ประเภท คือ
3.1 ตัวแปรต้น คือ ชุดสื่อการสอนเครื่องมือทางภูมิศาสตร์และการแบ่งเขตเวลาโลก
3.2 ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาเรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และการ
แบ่งเขตเวลาโลก
ผลการวิจัยพบว่า
1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านคลองครกที่เรียนด้วยชุดสื่อการสอนเครื่องมือทงภูมิศาสตร์และการแบ่งเขตเวลาโลกมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เครื่องมือทงภูมิศาสตร์และการแบ่งเขตเวลาโลกเพิ่มขึ้น พบว่า คะแนนพัฒนาการเฉลี่ยของนักเรียน มีร้อยละ 17.30 แสดงว่ามีพัฒนาการอยู่ระดับดี
2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านคลองครกที่เรียนด้วยชุดสื่อการสอนเครื่องมือทงภูมิศาสตร์และการแบ่งเขตเวลาโลก คะแนนแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปเอเชียเฉลี่ยเปรียบเทียบก่อนเรียนและหลังเรียนเพิ่มขึ้น พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยจากแบบทดสอบก่อนเรียนอยู่ที่ 13.63 คะแนน จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน และคะแนนเฉลี่ยจากแบบทดสอบหลังเรียนอยู่ที่ 22.79 คะแนน จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน