ชื่อผู้วิจัย นางสาวณัฏฐติกาน อุทธาทอง
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนประทาย อำเภอประทาย องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและจิตวิทยาศาสตร์ เรื่อง เคมีอินทรีย์ สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและจิตวิทยาศาสตร์ เรื่อง เคมีอินทรีย์ สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและจิตวิทยาศาสตร์ เรื่อง เคมีอินทรีย์ สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิ -ภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและจิตวิทยาศาสตร์ เรื่อง เคมีอินทรีย์ สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและจิตวิทยาศาสตร์ เรื่อง เคมีอินทรีย์ สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ 1) ผลการจัดการศึกษาตามนโยบายการศึกษา จุดมุ่งหมายการจัดการศึกษาโรงเรียนประทาย และแนวทางการจัดการศึกษาของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 2) การจัดการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 และผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนประทาย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการทดลองใช้และประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนประทาย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนตามแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและจิตวิทยาศาสตร์ เรื่อง เคมีอินทรีย์ สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เคมีอินทรีย์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ชนิดตัวเลือก 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 5) แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและจิตวิทยาศาสตร์ เรื่อง เคมีอินทรีย์ สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ การทดสอบค่าที (t-test Dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและจิตวิทยาศาสตร์ เรื่อง เคมีอินทรีย์ สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า
1.1 การวิเคราะห์ข้อมูลนโยบาย สภาพที่คาดหวังในการจัดการเรียนรู้ มุ่งผลลัพธ์ และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 อันได้แก่ ทักษะการคิดและแก้ปัญหา ทักษะการใช้ชีวิตและการทำงาน มุ่งเน้นการปฏิบัติจริง มีเจตคติและแรงจูงใจในการเรียนรู้ โดยเตรียมพร้อมให้ผู้เรียนรู้จักคิด เรียนรู้ ทำงาน แก้ปัญหา สื่อสาร ร่วมกันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผู้เรียนต้องเรียนรู้ในสาระวิชาแกนต่างๆ โดยการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ การใช้ความคิด จนเกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถสร้างสรรค์ความรู้และเกิดทักษะการคิด จนนำมาปฏิบัติได้ถูกต้องและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตต่อไปได้
1.2 การวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี สาระสำคัญ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียน มีทักษะการคิด มีทักษะกระบวนการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี มีการแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ นำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ มีทักษะการทำงานร่วมกัน การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ การใช้ความคิด จนเกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถสร้างสรรค์ความรู้และมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารญาณ จนนำมาปฏิบัติได้ถูกต้องและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตต่อไปได้
1.3 การวิเคราะห์ข้อมูลสภาพปัจจุบัน การจัดการเรียนรู้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนตามเนื้อหา เน้นความรู้ความจำ ขาดสื่อการเรียนรู้ที่ฝึกให้มีการปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอนอย่างเป็นระบบ ขาดการแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ การปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอนที่สามารถเรียนรู้ได้รวดเร็วและเข้าใจได้ง่าย ขาดทักษะการคิดและการเรียนรู้ด้วยตนเอง ขาดทักษะการทำงานกระบวนการกลุ่ม การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ ที่นำไปสู่การสร้างสรรค์ความรู้และความสารารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รวมไปถึงการนำเสนอผลจากการเรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนทั้งระหว่างจัดการเรียนรู้ และหลังการจัดการเรียนรู้เสร็จสิ้น
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและจิตวิทยาศาสตร์ เรื่อง เคมีอินทรีย์ สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 4) สาระหลัก 5) ระบบสังคม 6) หลักการตอบสนอง 7) สิ่งสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ และ 8) เงื่อนไขในการนำไปใช้ โดยมีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1. ทบทวนเพื่อเกิดความสนใจ 2. กระตุ้นให้สืบค้นค้นคว้าแสวงหา 3. นำมาแลกเปลี่ยนร่วมทำกิจกรรม 4. จัดทำการสรุปรวมความรู้ 5. นำสู่การประเมินและประยุกต์ใช้ เมื่อนำไปทดลองใช้กับผู้เรียนแบบภาคสนาม จำนวน 30 คน พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.94/81.67 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและจิตวิทยาศาสตร์ เรื่อง เคมีอินทรีย์ สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า
3.1 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและจิตวิทยาศาสตร์ เรื่อง เคมีอินทรีย์ สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและจิตวิทยาศาสตร์ เรื่อง เคมีอินทรีย์ สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 การประเมินจิตวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนของผู้เรียนที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและจิตวิทยาศาสตร์ เรื่อง เคมีอินทรีย์ สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและจิตวิทยาศาสตร์ เรื่อง เคมีอินทรีย์ สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและจิตวิทยาศาสตร์ เรื่อง เคมีอินทรีย์ สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55