บทคัดย่อ
หัวข้องานวิจัย การพัฒนารูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โดยบูรณาการจิตศึกษา โรงเรียนกุญชรศิรวิทย์
ผู้วิจัย นางคุณากร บุญสาลี
หน่วยงานที่รับผิดชอบ โรงเรียนกุญชรศิรวิทย์
ปีการศึกษา 2562
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการใน การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยบูรณาการจิตศึกษา โรงเรียนกุญชรศิรวิทย์ 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยบูรณาการ จิตศึกษา โรงเรียนกุญชรศิรวิทย์ 3) เพื่อใช้รูปแบบและศึกษาสภาพปัญหาการใช้รูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยบูรณาการจิตศึกษา โรงเรียนกุญชรศิรวิทย์ และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยบูรณาการจิตศึกษา โรงเรียนกุญชรศิรวิทย์ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร ประเด็นสนทนากลุ่ม แบบทดสอบ แบบประเมิน และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
การพัฒนารูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยบูรณาการจิตศึกษา โรงเรียนกุญชรศิรวิทย์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ผู้วิจัยนำเสนอรายละเอียด ดังนี้
1. การสำรวจสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนกุญชรศิรวิทย์ จากการสนทนากลุ่มของผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มงาน งานกิจการนักเรียน และครูแนะแนว จำนวน 13 คน สรุปสาระสำคัญ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1.1 สภาพปัจจุบันในการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน กุญชรศิรวิทย์ พบว่า การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนยังมีปัญหาในการดำเนินงานที่ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ส่งผลต่อพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์หลายอย่างของนักเรียนที่เป็นปัญหา ทั้งต่อตัวนักเรียนเอง เพื่อน ครู รวมถึงผู้ปกครอง โดยร่วมกันสรุปพฤติกรรมที่ควรเร่งแก้ไข 5 อันดับแรกที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อตัวนักเรียนค่อนข้างมาก และอาจส่งผลกระทบต่อการเรียน จนนักเรียนอาจต้องออกกลางคัน ได้แก่ การมาสาย หนีเรียน แต่งกายผิดระเบียบ และแสดงกิริยาไม่ดีต่อครู ซึ่งผู้ร่วมสนทนาทุกคนมองว่าระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ที่จะนำมาใช้แก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านี้ เพราะเป็นระบบที่ช่วยสอดส่องดูแลนักเรียนทั้งด้านการเรียน สุขภาพ และพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงต่างๆ ช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูที่ปรึกษากับนักเรียน และช่วยให้ครูรู้จักนักเรียนของตนเองมากขึ้นด้วย
1.2 ปัญหาในการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนกุญชรศิรวิทย์โดยสรุปปัญหาและอุปสรรคได้ดังนี้ ด้านปัจจัย คือ ครูที่ปรึกษายังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของ ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครูขาดความรู้ในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน งบประมาณสนับสนุนไม่เพียงพอ ผู้ปกครองปิดบังข้อมูลบางส่วน ผู้ปกครองบางส่วนไม่ให้ความร่วมมือ ด้านกระบวนการ คือ กระบวนการนิเทศกำกับ ติดตามยังไม่ต่อเนื่อง กิจกรรมที่ใช้ในการส่งเสริมและแก้ไขปัญหายังไม่เพียงพอ ครูที่ปรึกษาติดต่อผู้ปกครองไม่ได้ ขาดการวิเคราะห์สภาพปัญหา กิจกรรมในขั้นที่ 3 และขั้นที่ 4 ยังไม่เพียงพอกับสภาพปัญหาของนักเรียน ด้านผลผลิต คือ นักเรียนไม่ได้รับการดูแลช่วยเหลือที่ทั่วถึง ครูที่ปรึกษายังนำข้อมูลที่ได้มาใช้น้อยเกินไป และนักเรียนบางส่วนต้องออกกลางคัน
1.3 ความต้องการในการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน กุญชรศิรวิทย์ ได้แก่ ควรมีการวิเคราะห์ SWOT Analysis บริบทของโรงเรียนก่อนวางแผนในการดำเนินการ ควรเพิ่มกิจกรรมในขั้นที่ 3 และขั้นที่ 4 ให้มีความหลากหลายและมีความเหมาะสมในการแก้ปัญหาหรือส่งเสริมพฤติกรรมของนักเรียน ผู้บริหารควรมีการนิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ และงานกิจการนักเรียน เป็นคณะกรรมการทีมนำ ควรมีความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้สำเร็จ และบุคลากรทุกคน ทุกฝ่ายควรให้ความร่วมมือและตระหนักถึงความสำคัญของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
2. การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนกุญชรศิรวิทย์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 7 ท่าน พบว่า
2.1 ความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ผลการตรวจสอบ พบว่า ค่าดัชนีความสอดคล้องความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎีรายข้อ มีค่า 1.00 ทุกข้อ และค่าดัชนีความสอดคล้องความเป็นไปได้ มีค่าระหว่าง 0.80 1.00
2.2 ความสอดคล้องของรูปแบบ ผลการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อมีค่า 1.00 ทุกข้อ
2.3 ความเหมาะสมของรูปแบบ ผลการตรวจสอบ พบว่า ค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อมีค่าระหว่าง 0.80 1.00
2.4 ความเหมาะสมของคู่มือการใช้ ผลการตรวจสอบ พบว่า ค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อมีค่าระหว่าง 0.80 1.00
3. การทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยบูรณาการ จิตศึกษา โรงเรียนกุญชรศิรวิทย์
3.1 ผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจของผู้บริหารและครู เกี่ยวกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และจิตศึกษา ผู้เข้าประชุมสัมมนามีความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังการประชุมสัมมนาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5
3.2 ผลการประเมินความสามารถในการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยบูรณาการจิตศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.53 )
3.3 ความคิดเห็นของที่มีต่อพฤติกรรมนักเรียนหลังใช้รูปแบบบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยบูรณาการจิตศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยระดับพฤติกรรมหลังใช้รูปแบบโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.55)
3.4 ประเมินความคิดเห็นของ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาที่มีต่อรูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยบูรณาการกระบวนทัศน์จิตศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.53)
3.5 ความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดย บูรณาการจิตศึกษา พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( x̄= 4.57)
4. การประเมินรูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยบูรณาการจิตศึกษา โรงเรียนกุญชรศิรวิทย์ พบว่า ผลการประเมินมาตรฐาน ของรูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยบูรณาการจิตศึกษา ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวม พบว่า มาตรฐานรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.54)