การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินผลแผนกลยุทธ์พัฒนาการจัดการเรียนรู้
ศูนย์ศาสตร์พระราชา โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงดาว โดยประเมินเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพบริบทสภาพแวดล้อมก่อนดำเนินการตามแผนกลยุทธ์พัฒนาการจัดการเรียนรู้ศูนย์การเรียนรู้ศาสตร์พระราชา ระยะที่ 2 ประเมินแผนกลยุทธ์พัฒนาการจัดการเรียนรู้ศูนย์ศาสตร์พระราชา โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงดาว โดยใช้แบบจำลอง CIPP ระยะที่ 3 ศึกษาแนวทางการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ศาสตร์พระราชา กลุ่มประชากรทั้งหมด 484 คน เก็บข้อมูลปฐมภูมิด้วยแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และสถิติเชิงพรรณนา
ผลการประเมินพบว่า ระยะที่ 1 ผลการศึกษาสภาพบริบทสภาพแวดล้อมก่อนและหลังดำเนินการตามแผนกลยุทธ์การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ศูนย์การเรียนรู้ศาสตร์พระราชา พบว่า สภาพแวดล้อมก่อน มีระดับการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับน้อย (X ̅=2.69,S.D.=0.21) และสภาพแวดล้อมหลังการใช้กลยุทธ์การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ศูนย์การเรียนรู้ศาสตร์พระราชาโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงดาว มีระดับการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅=4.77,
S.D.=0.37) ระยะที่ 2 การประเมินแผนกลยุทธ์พัฒนาการจัดการเรียนรู้ศูนย์การเรียนรู้ศาสตร์พระราชาโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงดาว ในภาพรวม 4 ด้าน 1) ด้านบริบท พบว่า ค่าเฉลี่ย 4.77
คิดเป็นร้อยละ 95.33 2) ด้านปัจจัยนำเข้ากลยุทธ์ มีค่าเฉลี่ย 4.44 คิดเป็นร้อยละ 88.84
3) ด้านกระบวนการ มีค่าเฉลี่ย4.45 คิดเป็นร้อยละ 89.00 4) ด้านผลผลิต โดยรวมพบว่า ค่าเฉลี่ย 4.92 คิดเป็นร้อยละ 98.39 ระยะที่ 3 แนวทางการพัฒนาผู้เรียนได้มีการพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถณะเด่น
4 ด้าน ด้านภาวะผู้นำ ด้านทักษะอาชีพ ด้านการใช้เทคโนโลยี (เก่งดิจิทัล) และด้านการมีจิตสาธารณะ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลจากผู้เชี่ยวชาญจากการประชุมกลุ่ม ภาพรวมกลยุทธ์อยู่ในระดับดีมาก เหมาะสม มีประโยชน์ สามารถนำไปใช้ได้จริง
ปัญหาในการดำเนินการ คือ โรงเรียนมีพื้นที่จำกัด ทำให้ดำเนินการจัดสร้างฐานการเรียนรู้
ไม่สามารถรองรับผู้เข้าใช้บริการศูนย์การเรียนรู้ ได้ตามความต้องการ
คำสำคัญ : CIPP Model; แผนกลยุทธ์พัฒนาการจัดการเรียนรู้; ศูนย์การเรียนรู้ศาสตร์พระราชา