ชื่อผลงาน การใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ชุด ครอบครัวของพิ้งกี้
ชื่อผู้นำเสนอ นายนพเดช นวลละออง ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
โรงเรียนนิบงชนูปถัมภ์ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1
ปีที่ทำการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้
สุขศึกษาและพลศึกษา(สุขศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชุด ครอบครัวของพิ้งกี้ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน การใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา(สุขศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชุด ครอบครัวของพิ้งกี้
3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา(สุขศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชุด ครอบครัวของพิ้งกี้ กลุ่มประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนนิบงชนูปถัมภ์ จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 38 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยการใช้แบบฝึกทักษะชุด ครอบครัวของพิ้งกี้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 14 แผน 2) หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ครอบครัวของพิ้งกี้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 6 เล่ม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง การใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา(สุขศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชุด ครอบครัวของพิ้งกี้ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา(สุขศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชุด ครอบครัวของพิ้งกี้ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลจากการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดครอบครัวของพิ้งกี้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เท่ากับ 85.64/86.92 พบว่า มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ คือ 80/80
2. ผลเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา(สุขศึกษา) ชุดครอบครัวของพิ้งกี้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่าคะแนนเฉลี่ยและความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ก่อนเรียนเท่ากับ 12.89 และ 1.75 ตามลำดับ และหลังจากได้รับการเรียน โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดครอบครัวของพิ้งกี้ มีคะแนนเฉลี่ยและความเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 26.45 และ 0.95 ตามลำดับ
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา(สุขศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม (X = 2.66, S.D. = 0.48) สอดคล้องกับสมมติฐาน ข้อที่ 3 ที่ตั้งไว้