ชื่อเรื่อง การพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ
การสาธิตและที่เน้นการปฏิบัติ เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี)
ชื่อผู้วิจัย นางมาเดียนา ยูโซะ ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี) สำนักการศึกษา เทศบาลเมือง
นราธิวาส อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย ชั้นประถมศึกษาที่ 3 2) พัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) ทดลองจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4) ประเมินผลและปรับปรุงกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย ชั้นประถมปีที่ 3 ในด้านผลการเรียนรู้ เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัยด้านความสามารถในการปฏิบัติงาน และความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี) สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองนราธิวาส ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัยและแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน นักเรียนและผู้เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญและต้องการให้จัด
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาความรู้
เบื้องต้นเกี่ยวกับกิจกรรมผจญภัย โดยมีครูเป็นผู้จัดการเรียนรู้และประเมินผล
2. ผลการพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเรื่องสร้างสรรค์ ประกอบด้วย หลักการเป้าหมายคุณสมบัติของผู้เรียนแนวการจัดกิจกรรม รูปแบบการจัดกิจกรรม คำอธิบายรายวิชา จุดประสงค์ โครงสร้าง การจัดกิจกรรม สื่อ การวัดและประเมินผล คำชี้แจงและแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำนวน 13 แผน จัดกิจกรรมแบบการสาธิตและพัฒนาผู้เรียนให้เห็นคุณค่าของการใช้ชีวิตกลางแจ้ง โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ซึ่งกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมีความเหมาะสมและสอดคล้องระหว่าง 0.80 - 1.00
3. ผลการทดลองจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำนวน 26 ชั่วโมง แบบการสาธิตและที่เน้นการปฏิบัติ 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 2) ขั้นศึกษาวิเคราะห์ 3) ขั้นปฏิบัติฝึกหัดทดลอง
4) ขั้นสรุปเสนอผลการเรียน และ 5) ขั้นปรับปรุงการเรียนรู้ นำไปใช้นักเรียนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้นักเรียนได้ร่วมแสดงความคิดเห็นในการจัดกิจกรรม ฝึกการทำงานเป็นกลุ่มและฝึกการคิดสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัยตามความสนใจ
4. ผลการประเมินและปรับปรุงกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนพบว่า นักเรียนมีผลการเรียนรู้ เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย หลังการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีความสามารถในการปฏิบัติสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย อยู่ในระดับดี โดยมีความสามารถด้านการสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัยอยู่ในระดับสูง รองลงมามีความสามารถด้านการสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย และมีความสามารถด้านการสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย อยู่ในระดับต่ำสุด นักเรียนมีความคิดเห็นต่อกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก และเห็นว่ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย ทำให้นักเรียนมีความรู้และฝึกให้มีทักษะในการสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี เห็นควรให้มีการปรับปรุงด้านการนำเข้าสู่บทเรียนว่าควรมีสื่อหรือวิธีการที่หลากหลายเพื่อกระตุ้นผู้เรียนเกิดความสนใจ ปรับปรุงระยะเวลากับเนื้อหาสาระกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการด้านต่างๆ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วและไร้ซึ่งข้อขีดจำกัด ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยเป็นอย่างมาก พลังขับเคลื่อนของกระแสโลก คือ ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้เกิดการเชื่อมโยงทั่วโลก โลกจะขับเคลื่อนโดยกระแสเศรษฐกิจและเทคโนโลยี ทำให้เกิดการแข่งขันร่วมมือ และเชื่อมโยงเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการศึกษาที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของประชากร รวมทั้ง การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างชาตินับวันจะเข้มข้นขึ้น ค่านิยมที่แปลกใหม่จากต่างประเทศ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรมในหลาย ๆ ด้าน โลกยุคสังคมแห่งการเรียนรู้ ความรู้ และภูมิปัญญาของแต่ละสังคมได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมสร้างศักยภาพ และความสามารถในการแข่งขันกับนานาอารยประเทศได้ส่งผลให้หลายประเทศต่างหันกลับมาทบทวนบทบาท และแนวทางการจัดการศึกษาของประเทศอย่างจริงจัง เพื่อเป้าหมายสร้างและพัฒนากำลังคนที่มีความสามารถที่จะนำการพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมของประเทศให้ก้าวสู่สังคมในอนาคตได้อย่างมั่นคง (วิชัย วงษ์ใหญ่. 2554 : 1) ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุดในขณะนี้คือต้องร่วมมือกันสร้างพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการศึกษาประเทศใดที่คนมีคุณภาพประเทศนั้นก็สามารถพัฒนาประเทศไปได้อย่างรวดเร็ว ตรงกันข้ามประเทศใดที่คนด้อยคุณภาพก็จะเกิดปัญหามีความล่าช้าในการพัฒนาประเทศ หัวใจที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาประเทศคือการพัฒนาคุณภาพของคน สาเหตุอันมาจากความอ่อนแอการขาดคุณภาพของคนในประเทศ ซึ่งสิ่งที่จะช่วยในการพัฒนาคนก็คือการศึกษา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545 จึงมีจุดมุ่งหมายในการสร้างเด็กไทยให้เป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข ซึ่งมุ่งเน้นพัฒนาทั้งด้านสติปัญญา (Intelligence Quotuent : IQ) ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Quotuent : EQ) และด้านคุณธรรม จริยธรรม (Moral Quotuent : MQ) เพื่อให้เด็กไทยอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกได้อย่างมีคุณภาพและรู้เท่าทัน นอกจากนี้ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติในมาตรา 6 ได้กล่าวไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มาตรา 7 ได้กล่าวไว้ว่า ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาคและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545 สรุปได้ว่า การพัฒนาในการสร้างเด็กไทยให้เป็นมนุษย์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขนั้น นอกจากด้านคุณธรรม จริยธรรม สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ การส่งเสริมเกี่ยวกับด้านการสร้างสรรค์ ซึ่งถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุดและมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ดังนั้น การจัดเนื้อหาสาระกิจกรรมจึงต้องให้สอดคล้องกับความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน
หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นแผนหรือแนวทาง หรือข้อกำหนดการจัดการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี) ที่จะใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และการประกอบอาชีพ โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนมีความสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านสติปัญญา อีกทั้งมีความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต และมีคุณภาพได้มาตรฐานสากลสู่การแข่งขันในยุคปัจจุบัน โดยจัดเป็นสาระการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐานตามมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติม จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นรายปีในระดับประถมศึกษา กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษา ตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยกิจกรรมชุมนุมก็เป็นหนึ่งในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นกิจกรรมนักเรียนที่สถานศึกษาสนับสนุนให้ผู้เรียนรวมกลุ่มกัน จัดขึ้นตามความสนใจ ความถนัด ความสามารถของผู้เรียน เพื่อเติมเต็มศักยภาพของผู้เรียน ตามเจตนารมณ์ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551 : 51)
ชุมนุมผจญภัยด้วยใจรักษ์ เป็นส่วนหนึ่งของการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ที่สามารถจัดในโรงเรียนระดับประถมศึกษา การจัดชุมนุมผจญภัยด้วยใจรักษ์เป็นกิจกรรมที่เกิดจากความสมัครใจของผู้เรียน โดยมีครูเป็นที่ปรึกษาเป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนช่วยกันคิด ช่วยกันทำ และช่วยกันแก้ปัญหา พัฒนาผู้เรียนตามสาระที่กำหนดนอกเหนือจากการเรียนการสอน รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพของสถานศึกษาหรือท้องถิ่น กิจกรรมชุมนุมผจญภัยด้วยใจรักษ์ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมี่ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เน้นให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของวิชาความรู้ และการดำเนินชีวิต ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตมนุษย์ กิจกรรมทางการผจญภัยช่วยพัฒนาผู้เรียน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม ตลอดจนการนำไปสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง อันเป็นพื้นฐานการศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพได้ มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจ ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกในการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมในลักษณะต่างๆให้สามารถจัดการกับชีวิตและสังคมได้ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ รักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น มีค่านิยมที่ดีงาม
มีวินัยในตนเอง มีคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนจึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาผู้เรียนให้ได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย เห็นคุณค่าองค์ความรู้ด้านต่างๆ รู้จักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ สามารถค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตนเอง รวมทั้ง พัฒนาบุคลิกภาพ เจตคติ ค่านิยมในการดำเนินชีวิต เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เนื่องจากเป็นกิจกรรม
ที่ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้ และประสบการณ์ทางด้านกิจกรรมผจญภัยให้แก่ตนเอง ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ กล้าคิด กล้าแสดงออก ทำให้นักเรียนคิดอย่างมีเหตุผล สามารถตั้งตนเป็นผู้นำและผู้ตาม
ที่ดี สร้างนิสัยรักการทำงานด้วยความมุ่งมั่น อุตส่าห์พยายาม อดทน เพื่อผลสำเร็จของงาน นอกจากนี้ยังปลูกฝังให้ผู้เรียนได้พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ในฐานะที่ผู้วิจัยเป็นครูผู้สอนในสาระกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ได้พบปัญหาในการจัดการเรียนการสอนในสาระกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน คือ ขาดสื่อในการจัดการเรียนการสอน และขาดครูที่มีความชำนาญโดยเฉพาะในหน่วยของงานประดิษฐ์ คิดค้นซึ่งเป็นหน่วยการเรียน (ชุมนุม) ที่ผู้เรียนจะต้องลงมือประดิษฐ์เพื่อสร้างสรรค์ชิ้นงาน ซึ่งการประดิษฐ์สร้างสรรค์มีกระบวนการหลายขั้นตอน และเนื่องจากนักเรียนมีจำนวนมาก ทำให้ครูผู้สอนไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง ครูจะต้องสอนและสาธิตการประดิษฐ์หน้าชั้นเรียนพร้อมทั้งสอนสาธิตให้กับผู้เรียนเป็นรายบุคคลและรายกลุ่มหลายๆครั้ง และด้วยเวลาที่มีจำกัดในบางชั่วโมงเรียน ผู้เรียนจะต้องไปเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆที่โรงเรียนและหน่วยงานต้นสังกัดจัดขึ้น ทำให้การเรียนการสอนไม่ต่อเนื่อง ทำให้ผลการปฏิบัติงานประดิษฐ์คิดค้นของนักเรียนนั้นส่วนมากออกมาเป็นชิ้นงานที่ไม่สมบูรณ์ หรือไม่สามารถปฏิบัติงานประดิษฐ์สร้างสรรค์ได้ถูกต้องตามกระบวนการ นักเรียนขาดทักษะการทำงาน ขาดความรับผิดชอบ หากไม่ได้รับการแก้ไข จะทำให้การจัดการเรียนการสอนไม่บรรลุตามจุดประสงค์ จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
จากเหตุผลดังกล่าว ผู้วิจัยในฐานะครูผู้สอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๑
(ถนนภูผาภักดี) สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองนราธิวาส จึงมีความสนใจที่จะศึกษาและพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยนำเนื้อหาเรื่องสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย มาประกอบในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนชุมนุมผจญภัยด้วยใจรักษ์ เน้นให้ความสำคัญในการพัฒนาการปฏิบัติสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัยที่สอดคล้องกับความต้องการ ความสนใจของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย เกิดการเรียนรู้ความสามารถพื้นฐานทางด้านการปฏิบัติสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัยที่หลากหลายเพิ่มขึ้น สามารถนำมาเป็นพื้นฐานในการนำไปใช้แสวงหาความรู้ขั้นต่อไป มุ่งเน้นการเติมเต็มเกี่ยวกับกิจกรรมผจญภัย ทั้งด้านความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์ของผู้เรียนให้กว้างขึ้น ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาสำคัญ 3 ด้าน คือ ด้านผลการเรียนรู้ เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย ด้านความสามารถในการปฏิบัติสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย และด้านความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาเกี่ยวกับการพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์
กรอบแนวคิดในการวิจัย
การศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาจากแนวคิดและงานวิจัยต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมีรายละเอียดดังนี้ คือ
หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี) กำหนดสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตร ได้แบ่งกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ดังนี้ 1) กิจกรรมแนะแนว 2) กิจกรรมนักเรียนโดยแบ่งเป็น 2.1) ลูกเสือ-ยุวกาชาด 2.2) กิจกรรมชุมนุม ซึ่งกำหนดเวลาเรียนเท่ากัน คือ 40 ชั่วโมงต่อปี ภาคเรียนละ 20 ชั่วโมง คิดเป็นสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง และ3) กิจกรรม เพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ได้กำหนดให้มีขั้นตอนการพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กระทรวงศึกษาธิการ.2551 : 11) กล่าวว่า การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ 1) ประชุม ชี้แจง คณะครู ผู้เรียน ผู้ปกครอง เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 2) พิจารณาวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา 3) สำรวจข้อมูลความพร้อมของสถานศึกษา ชุมชน และท้องถิ่น 4) ร่วมกันวางแผนระหว่างคณะครู ผู้เรียนและผู้ที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนงาน โครงการและเสนอขออนุมัติ 5) ปฏิบัติกิจกรรมตามแผนงานโครงการ ปฏิทินปฏิบัติงานตามที่กำหนดได้ 6) นิเทศ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานและ 7) สรุปรายงานผลการปฏิบัติงาน
(กาญจนา คุณารักษ์.2540 : 309) ได้เสนอขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรซึ่งสอดคล้องกับขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรของ (สงัด อุทรานันท์.2532 : 38) ไว้ 7 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวินิจฉัยความต้องการของนักเรียนเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เป็นขั้นตอนแรกในการตัดสินใจว่าควรจะพัฒนาหลักสูตรอะไรให้กับนักเรียน โดยการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับภูมิหลัง และความต้องการของนักเรียนในเรื่องอะไร อย่างไร ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาให้นักเรียนเกิดคุณลักษณะอย่างไรบ้าง ขั้นตอนที่ 3 การเลือกเนื้อหาเป็นการเลือกเนื้อหาสาระที่จะจัดให้กับนักเรียน ได้เรียนรู้ที่สอดคล้องกับตามจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ที่หลักสูตรได้กำหนดไว้ ขั้นตอนที่ 4 การจัดเนื้อหาสาระ เป็นการตัดสินใจว่าเนื้อหาสาระที่เลือกไว้นั้นควรจะจัดให้กับนักเรียนในระดับชั้นใด โดยคำนึงถึงพัฒนาการทางจิตวิทยาการเรียนรู้ของนักเรียน ขั้นตอนที่ 5 การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักเรียนเป็นการเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร ขั้นตอนที่ 6 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักเรียน เป็นการตัดสินใจว่าควรจะจัดประสบการณ์เรียนรู้อะไรบ้างให้กับนักเรียน และควรมีวิธีการจัดการเรียนรู้อย่างไร เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้ เพื่อพัฒนานักเรียนตามความเหมาะสมของนักเรียน ขั้นตอนที่ 7 การประเมินผล เป็นการประเมินผลนักเรียนตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรว่านักเรียน
มีคุณลักษณะตามที่หลักสูตรต้องการหรือไม่ เพื่อตอบสนองจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
ไทเลอร์ (Tyler. 1950 : 1-2) ได้เสนอขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของเซเลอร์ อเล็กซานเดอร์ และเลวิส (Saylor, Alexander and Lewis, 1981 : 30-39) ไว้ 4 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 การวางแผนหลักสูตร (Curriculum Planning) โดยอาศัยการระดมความคิดแสวงหาคำตอบ 4 ประการ เพื่อใช้เป็นแนวการจัดทำหลักสูตร คือ
1. จุดมุ่งหมายของการศึกษาของสถานศึกษาคืออะไร
2. การที่จะบรรลุจุดมุ่งหมายของสถานศึกษาดังกล่าว นักเรียนจะต้องใช้ประสบการณ์การศึกษาและการเรียนรู้เกี่ยวกับอะไรบ้าง
3. ประสบการณ์การศึกษาของนักเรียนดังกล่าว จะมีหลักและวิธีการจัดการเรียนรู้อย่างไรให้บรรลุตามจุดมุ่งหมาย
4. เพื่อให้แน่ใจว่า นักเรียนบรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตรตามที่กำหนดไว้ จะมีวิธีการประเมินผลคุณภาพของหลักสูตรได้อย่างไร
ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development) แนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ เน้นกระบวนการสำรวจ ศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลที่จำเป็นต่อการกำหนดเป้าหมายของการจัดการศึกษาจาก 3 แหล่งข้อมูลแรก คือ แหล่งข้อมูลด้านสังคม ได้แก่ การศึกษาค่านิยม ความเชื่อ และบรรทัดฐานการดำรงชีวิตของคนในสังคม โครงสร้างที่สำคัญของสังคม รวมทั้ง ความมุ่งหวังจากคนในท้องถิ่น ชุมชนที่สถานศึกษาตั้งอยู่ แหล่งข้อมูลที่สอง คือ แหล่งข้อมูลด้านนักเรียน ได้แก่ ความต้องการ ความเข้าใจ ความสามารถ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ สมรรถนะตามที่หลักสูตรแห่งชาติต้องการ และแหล่งที่มาจากผู้เชี่ยวชาญได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ ในสาขาวิชาต่างๆรวามถึงงานวิจัยที่สรุปผลการวิจัย และข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ ซึ่งเมื่อรวบรวมข้อมูลเหล่านี้ได้แล้วต้องนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประมวลเป้าหมายของการจัดการศึกษา และเมื่อกำหนดเป้าหมายแล้วต้องนำมาศึกษาร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้ของนักจิตวิทยาการศึกษากลุ่มต่างๆ เพื่อนำผลการวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้มาผสมผสานกับแนวคิดพื้นฐานด้านปรัชญาการศึกษา จึงสามารถสรุปเป็นจุดมุ่งหมายของหลักสูตรได้ชัดเจนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ขั้นตอนที่ 3 การเลือกและจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ไทเลอร์ได้เสนอเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ไว้ดังนี้
1. นักเรียนควรมีโอกาสฝึกพฤติกรรมและเรียนรู้เนื้อหาตามที่ระบุไว้ในจุดประสงค์
2. กิจกรรมและประสบการณ์นั้นควรจะทำให้นักเรียนพึงพอใจที่จะปฏิบัติตามพฤติกรรมที่ได้ระบุไว้ในจุดประสงค์
3. กิจกรรมและประสบการณ์นั้นควรจะอยู่ในขอบข่ายความพอใจที่พึงปฏิบัติได้
4. กิจกรรมและประสบการณ์หลายๆด้านของการเรียนรู้อาจนำไปสู่จุดประสงค์ที่กำหนดไว้
เพียงข้อเดียว ในทำนองเดียวกันกิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้เพียงอย่างเดียวอาจตอบสนอง
จุดประสงค์หลายๆข้อได้
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผล เพื่อที่จะตรวจสอบดูว่าการเรียนการสอนได้บรรลุจุดประสงค์ตามที่กำหนดไว้หรือไม่ สมควรจะมีการปรับแก้ในส่วนใดบ้าง ควรพิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้
1. กำหนดจุดประสงค์ที่จะวัดพฤติกรรมที่คาดหวัง
2. วัดและวิเคราะห์สถานการณ์ที่จะให้เกิดพฤติกรรมเหล่านั้น
3. ศึกษาสำรวจข้อมูลเพื่อสร้างเครื่องมือที่จะวัดพฤติกรรมเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสม
4. ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยใช้เกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้ ความเป็นปรนัย (Objectivity) ความเชื่อมั่น (Reliability) และความเที่ยงตรง (Validity)
5. การพิจารณาผลการประเมินให้เป็นประโยชน์เพื่ออธิบายผลการเรียนรู้เป็นรายบุคคลหรือสิ่งที่ต้องปรับแก้ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
จากแนวคิด ทฤษฎี ของนักการศึกษาที่ได้กล่าวถึงขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยได้นำมาประยุกต์ใช้กับงานวิจัยการพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาผู้เรียนเพิ่มเติม ดังนี้
(กระทรวงศึกษาธิการ. 2551 : 7) ได้เสนอแนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ดังนี้ 1) ให้ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมผ่านประสบการณ์ที่หลากหลาย ฝึกการทำงานที่สอดคล้องกับชีวิตจริง ตลอดจนสะท้อนความรู้ทักษะ และประสบการณ์ของผู้เรียน 3) จัดกิจกรรมอย่างสมดุลทั้ง 3 ลักษณะ คือ กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียนและกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ โดยจัดกิจกรรมรายบุคคล กิจกรรมกลุ่ม ทั้งในและนอกสถานศึกษาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง 4) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเป็นผู้ดำเนินการโดยการศึกษาและใช้ข้อมูลประกอบการวางแผนอย่างเป็นระบบ เน้นการคิดวิเคราะห์และใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการดำเนินกิจกรรม 5) ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมและการเรียนรู้แบบร่วมมือมากกว่ามีการแข่งขันบนพื้นฐานการปฏิบัติตามวิถีประชาธิปไตย 6) จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่กิจกรรม
(สาลิกา สำเภาทอง. 2553: 8) ได้ทำวิจัยเรื่อง การพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้ของเล่นพื้นบ้าน เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้กล่าวถึงขั้นตอนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ ศึกษาเอกสาร แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาและหาประสิทธิภภาพกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และขั้นตอนที่ 4 ประเมินและปรับปรุงแก้ไขกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และสอดคล้องกับ (สุภัทรา จำปาเงิน เรื่อง การพัฒนากิจกรรม. 2548 : 11-12), (ศุภชัย ไพศาลวัน.2548 : 9) และ(อันธิกา วงษ์จำปา. 2549 : 14) ได้ทำการวิจัยพัฒนาผู้เรียนซึ่งมีความสอดคล้องกัน ในขั้นตอนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มี 4 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน และความต้องการ ศึกษาเอกสาร แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาและหาประสิทธิภาพกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และขั้นตอนที่ 4 ประเมินและพัฒนาผู้เรียน
ผู้วิจัยจึงได้กำหนดกรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย เรื่อง การพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้รู้แบบการจัดการเรียนรู้แบบการสาธิตและที่เน้นปฏิบัติ เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ ศึกษาเอกสาร แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดย 1) วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี) 1) ในกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 2) ศึกษาเกี่ยวกับความคิดเห็นจากบุคคลที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายวิชาการ คณะกรรมการสถานศึกษาและครูสอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 3) ศึกษาความต้องการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี) เกี่ยวกับรูปแบบของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 4) ศึกษาข้อมูลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย การจัดการเรียนแบบการสาธิตและที่เน้นปฏิบัติ
ขั้นตอนที่ 2 นำผลการศึกษาในขั้นตอนที่ 1 มาพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนฉบับร่างประกอบด้วย 1) หลักการ 2) เป้าหมาย 3) คุณสมบัติของผู้เรียน 4) แนวการจัดกิจกรรม 5) รูปแบบการจัดกิจกรรม 6) คำอธิบายรายวิชา 7) จุดประสงค์ 8) โครงสร้างการจัดกิจกรรม 9) สื่อ 10) การวัดและประเมินผล 11) คำชี้แจง 12) แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำนวน 13 แผน แต่ละแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนได้จัดกิจกรรมแบบการสาธิตและที่เน้นการปฏิบัติ จากนั้นประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนฉบับร่าง โดยนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบหาความสอดคล้อง จากแผนกิจกรรม (IOC) แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข
ขั้นตอนที่ 3 นำกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่พัฒนาแล้ว ไปใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี) โดยจัดรูปแบบการสาธิตและที่เน้นการปฏิบัติ 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 2) ขั้นศึกษา/วิเคราะห์ 3) ขั้นปฏิบัติ/ฝึกหัด/ทดลอง 4) ขั้นสรุป/เสนอผลการเรียนรู้ และ5) ขั้นปรับปรุงการเรียนรู้/นำไปใช้
ขั้นตอนที่ 4 ประเมินและปรับปรุงแก้ไขกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยประเมินด้านผลการเรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย ด้านความสามารถในการปฏิบัติสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย และความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดเป็นกรอบแนวคิดในการทำวิจัยดังแผนภภูมิที่ 1 ดังนี้
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
2. เพื่อพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
3. เพื่อทดลองจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
4. เพื่อประเมินผลกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ดังนี้
4.1 เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
4.2 เพื่อศึกษาความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมผจญภัย หลังการจัดกิจกรรมพัฒนา ผู้เรียน เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย
4.3 เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย
สมมติฐานของการวิจัย
1. ผลการเรียนรู้ เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนสูงกว่าก่อนจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
2. ความสามารถในการปฏิบัติสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย อยู่ในระดับดี
3. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย อยู่ในระดับมาก
ขอบเขตของการวิจัย
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 2 ห้องเรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี) สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองนราธิวาส รวมจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 62 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ซึ่งผู้วิจัยได้มาจากการเลือกแบบอาสาสมัคร (Volumteer Sampling) จำนวน 30 คน เข้าเรียนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ชุมนุมผจญภัยด้วยใจรักษ์
2. ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา
2.1 ตัวแปรต้น ได้แก่
2.1.1 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย
2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่
2.2.1 ผลการเรียนรู้ เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย
2.2.2 ความสามารถในปฏิบัติการสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย
2.2.3 ความคิดเห็นที่มีต่อกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย
3. ระยะเวลาในการทดลองกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ระยะเวลาในการใช้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผู้วิจัยได้กำหนดระยะเวลา ในการดำเนินกิจกรรม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ใช้เวลาสอนสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง จำนวน 13 สัปดาห์ รวมระยะเวลาการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 26 ชั่วโมง
4. เนื้อหา เนื้อหาที่นำมาใช้ในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย ผู้วิจัยได้กำหนดสาระเนื้อหาให้ผู้เรียนได้เรียนเกี่ยวกับกิจกรรมผจญภัย โดยกำหนดเนื้อหากิจกรรมเป็น 2 ส่วนคือ กิจกรรมภาคทฤษฎีและกิจกรรมภาคปฏิบัติได้แก่
4.1 กิจกรรมภาคทฤษฎี ประกอบด้วย 1) ข้อมูลกิจกรรมผจญภัย จาก เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย
4.2 กิจกรรมภาคปฏิบัติ ประกอบด้วย 1) การปฏิบัติกิจกรรมผจญภัยและ 2) การนำเสนอผลงานการปฏิบัติสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย
สรุปผลการวิจัย
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอตามขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา (Researeh and Development : R&D) โดยมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย ดังนี้ 1) การวิจัย (Research) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) การพัฒนา (Development) : การพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่องสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (ฉบับร่าง)
3) การวิจัย (Research) : การทดลองจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 4) การพัฒนา (Developmemt) : การประเมินและปรับปรุงกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่องสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย พบว่า นักเรียนและผู้เกี่ยวข้องต้องการให้มีการพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย โดยคาดหวังว่าให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย
มีความสามารถในการปฏิบัติสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัยและมีความคิดเห็นที่ดีต่อกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย โดยจัดเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับการสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนแบบการสาธิตและที่เน้นการปฏิบัติ โดยมีครูเป็นผู้สอนให้คำแนะนำในเรื่องที่นักเรียนสนใจฝึกกิจกรรม ตลอดจนการเรียนรู้จากเอกสารประกอบการเรียน ดูวีดีทัศน์ แล้วนำประเด็นที่ศึกษามาอภิปรายในชั้นเรียน การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นกลุ่ม เพื่อการแสดงสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัยตามกระบวนการเน้นที่การปฏิบัติ โดยให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ออกแบบและสร้างสรรค์ตามความถนัดและสนใจ โดยมีครูเป็นผู้จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและประเมินผล
2. ผลการพัฒนากิจกรรมผู้เรียน เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีเป้าหมายให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย สามารถปฏิบัติได้จริงด้วยรูปแบบการสาธิตและที่เน้นการปฏิบัติ การวัดและประเมินผลโดยครูผู้สอน โดยกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ 1) หลักการ 2) เป้าหมาย 3) คุณสมบัติของผู้เรียน 4) แนวการจัดกิจกรรม 5) รูปแบบการจัดกิจกรรม 6) คำอธิบายรายวิชา 7) จุดประสงค์การเรียนรู้
8) โครงสร้างการจัดกิจกรรม 9) สื่อ 10) การวัดและประเมินผล 11) คำชี้แจง และ 12) แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนจำนวน 13 แผน ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ 1 เริ่มต้นการผจญภัย แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ 2 ทำตะเกียงจากของใช้ใกล้ตัว แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ 3 ทำเนยกินเอง แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ 4 ทำไอศกรีม แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ 5 จุดไฟด้วยไม้ขีดไฟ แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ 6 ฝึกใช้มีดอย่างถูกวิธี แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ 7 การจับแมลง แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ 8 กับดักแมลง แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ 9 เบ็ดตกปลา แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ 10 ภัตตาคารบ้านป่า แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ 11 เครื่องกรองน้ำจากธรรมชาติ แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ 12 ทำกระเป๋า และแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ 13 ฝึกพิเศษ แต่ละแผนได้จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แบบการสาธิตและที่เน้นการปฏิบัติ 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 2) ขั้นศึกษา/วิเคราะห์ 3) ขั้นปฏิบัติ/ฝึกหัด/ทดลอง 4) ขั้นสรุป/เสนอผลการเรียนรู้ และ
5) ขั้นปรับปรุงการเรียนรู้/นำไปใช้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย ซึ่งมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในเรื่อง การปรับระยะเวลาให้เหมาะสมกับการปฏิบัติกิจกรรม
3. ผลการทดลองจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 คน โดยการสาธิตและที่เน้นการปฏิบัติ 5 ขั้น พบว่า นักเรียนให้ความสนใจ ตั้งใจในเนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัยมากขึ้น ทำกิจกรรมต่างๆรวมทั้งการปฏิบัติสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัยด้วยความตั้งใจ และการกระตือรือร้นเป็นพิเศษ โดยให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ มีส่วนร่วมในการวางแผนการปฏิบัติกิจกรรม มีการแบ่งบทบาทหน้าที่และการช่วยเหลือกันในการทำงานกลุ่ม มีการรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่ม ทำให้การปฏิบัติงานเสร็จตามเวลาที่กำหนด มีการทดสอบก่อนเรียน (Pretest) เกี่ยวกับความรู้ในการสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย โดยใช้แบบทดสอบแบบปรนัย จำนวน 20 ข้อ ในระหว่างการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนใช้เวลา 26 ชั่วโมง โดยใช้รูปแบบการสาธิตและที่เน้นการปฏิบัติ 5 ขั้น จำนวน 13 แผน ดังนี้
แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ 1 เริ่มต้นการผจญภัย พบว่า ผู้เรียนสามารถอธิบายเกี่ยวกับข้อมูลด้านสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย ผู้เรียนให้ความสนใจ ใฝ่เรียนรู้อย่างตั้งใจ มีความกระตือรือร้นในกิจกรรมการทำงานกลุ่ม และสามารถนำเสนอข้อมูลได้ถูกต้อง
แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ 2 ทำตะเกียงจากของใช้ใกล้ตัว พบว่า ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัยได้อย่างถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ ผู้สอนได้ให้คำแนะนำและสาธิตการปฏิบัติในการสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัยอย่างชัดเจนแก่ผู้เรียน และมีการปรับแก้ไขในผู้เรียนบางส่วนที่ปฏิบัติไม่ถูกต้อง
แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ 3 ทำเนยกินเอง พบว่า ผู้เรียนสามารถอธิบายความรู้ตามความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัยได้ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ ผู้สอนได้ปรับแก้ไขให้สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียน และผู้เรียนนำเสนอผลการปฏิบัติได้เป็นอย่างดี
แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ 4 ทำไอศกรีม พบว่า ผู้เรียนสามารถบอกและอธิบายความรู้ที่ได้จากสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัยและสามารถปฏิบัติ ส่วนใหญ่ปฏิบัติได้ถูกต้องสมบูรณ์ ทั้งรายบุคคลและกลุ่ม
แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ 5 จุดไฟด้วยไม้ขีดไฟ พบว่า ผู้เรียนสามารถอธิบายแสดงความคิดเห็นที่ได้จากการสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัยได้เป็นอย่างดี โดยผู้สอนได้ปรับแก้ไขให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้
แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ 6 ฝึกใช้มีดอย่างถูกวิธี พบว่า ผู้เรียนสามารถแสดงความคิดเห็นได้ เรียนรู้ด้วยความตั้งใจ และสื่อสารได้ตรงประเด็น ซึ่งผู้สอนได้ปรับแก้ไขเหมาะสมกับผู้เรียนจนสามารถปฏิบัติจริงได้
แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ 7 การจับแมลง พบว่า ผู้เรียนมีความสนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย สามารถแสดงความคิดเห็นร่วมกันได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ ผู้สอนได้นำสื่อที่หลากหลายมาประกอบการจัดกิจกรรม รวมทั้ง ให้ผู้เรียนเป็นสื่อในการปฏิบัติจริง ได้แสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์ซึ่งกันและกัน
แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ 8 กับดักแมลง พบว่า ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ศึกษามาจัดรูปแบบการสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี โดยผู้เรียนทุกคนได้ลงมือปฏิบัติจริง ทั้งนี้ สังเกตเห็นว่าผู้เรียนมีความตั้งใจกระตือรือร้น มีความสุข และสนุกสนานในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างสร้างสรรค์
แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ 9 เบ็ดตกปลา พบว่า ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ศึกษามาจัดรูปแบบการสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี โดยผู้เรียนทุกคนได้ลงมือปฏิบัติจริง ทั้งนี้ สังเกตเห็นว่าผู้เรียนมีความตั้งใจกระตือรือร้น มีความสุข และสนุกสนานในการปฏิบัติกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์
แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ 10 ภัตตาคารบ้านป่า พบว่า ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ศึกษามาจัดรูปแบบการสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี โดยผู้เรียนทุกคนได้ลงมือปฏิบัติจริง ทั้งนี้ สังเกตเห็นว่าผู้เรียนมีความตั้งใจกระตือรือร้น มีความสุข และสนุกสนานในการปฏิบัติกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์
แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ 11 เครื่องกรองน้ำจากธรรมชาติ พบว่า ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ศึกษามาจัดรูปแบบการสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี โดยผู้เรียนทุกคนได้ลงมือปฏิบัติจริง ทั้งนี้ สังเกตเห็นว่าผู้เรียนมีความตั้งใจกระตือรือร้น มีความสุข และสนุกสนานในการปฏิบัติกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์
แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ 12 ทำกระเป๋า พบว่า ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ศึกษามาจัดรูปแบบการสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี โดยผู้เรียนทุกคนได้ลงมือปฏิบัติจริง ทั้งนี้ สังเกตเห็นว่าผู้เรียนมีความตั้งใจกระตือรือร้น มีความสุข และสนุกสนานในการปฏิบัติกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์
แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ 13 ฝึกพิเศษ พบว่า ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ศึกษามาจัดรูปแบบการสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี โดยผู้เรียนทุกคนได้ลงมือปฏิบัติจริง ทั้งนี้ สังเกตเห็นว่าผู้เรียนมีความตั้งใจกระตือรือร้น มีความสุข และสนุกสนานในการปฏิบัติกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์
4. ผลการประเมินและปรับปรุงกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย พบว่า 1) ผลการเรียนรู้เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย หลังการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนสูงกว่า ก่อนจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัย ข้อที่ 1 2) ความสามารถในการปฏิบัติสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2 ที่ว่า ความสามารถในการปฏิบัติสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย อยู่ในระดับดีมาก โดยสามารถทำผลงานเกี่ยวกับการสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย จากการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีความตั้งใจในการทำกิจกรรมต่างๆโดยให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ มีส่วนร่วมในการวางแผนการปฏิบัติกิจกรรม มีการแบ่งบทบาทหน้าที่และการช่วยเหลือกันในการทำงานกลุ่ม มีการรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่ม ทำให้การปฏิบัติงานเสร็จตามเวลาที่กำหนด มีการซักถามเมื่อมีข้อสงสัยหรือไม่เข้าใจ และมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการทำกิจกรรมทุกกิจกรรมได้เป็นอย่างดี และ3) ผลการศึกษาความคิดเห็น พบว่า นักเรียนมีความรู้สึกที่ดีต่อกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย อยู่ในระดับมาก ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 3 ที่ว่าความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่องสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย อยู่ในระดับมาก สำหรับรายด้านที่ 1) ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน พบว่า ประเด็นการส่งเสริมทักษะการปฏิบัติและเจตคติอยู่ในระดับสูงสุด และประเด็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้เหมาะสมกับเวลา อยู่ในระดับต่ำสุด รายด้านที่ 2) ด้านสื่อประกอบกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน พบว่า ประเด็นการใช้สื่อการสอนที่หลากหลาย อยู่ในระดับสูงสุดและประเด็นการใช้สื่อการสอนที่ทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย อยู่ในระดับต่ำสุด และรายด้านที่ 3) ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน พบว่า ประเด็นทำให้ผู้เรียนมีทักษะในการปฏิบัติที่ชำนาญยิ่งขึ้น อยู่ในระดับสูงสุดและประเด็นทำให้ผู้เรียนมีทักษะในการสร้างสรรค์เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับต่ำสุด
นักเรียนส่วนใหญ่ชอบรูปแบบของการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนแบบชุมนุมเพราะเรียนแล้วมีความสุข เพลิดเพลิน กระตือรือร้นที่ได้ปฏิบัติกิจกรรม ทั้งนี้เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ทำให้นักเรียนได้รับความรู้ในเรื่องสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนเกิดทักษะความชำนาญจากการปฏิบัติ
จากการจัดกิจกรรมการปฏิบัติสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย พบว่า ผู้เรียนให้ความสนใจและตื่นเต้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้เรียนไม่เคยได้เรียนรู้มาก่อนทำให้เกิดความร่วมมือ ตั้งใจ ใส่ใจเรียนรู้กันอย่างสนุกสนานและมีความสุข เมื่อถึงเวลาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทุกครั้งนักเรียนจะมาถึงก่อนเวลาเสมอ และเตรียมความพร้อมของตนเองเวลาทำงานเป็นกลุ่ม จากการสังเกตเห็นได้ชัดเจนว่าแต่ละกลุ่มทำงานกันด้วยความสามัคคี มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการวางแผนให้สมาชิกในกลุ่มได้มีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่มทุกคน และสามารถปฏิบัติสร้างสรรค์กิจกรรามผจญภัยได้เป็นอย่างดี
ข้อเสนอแนะ
จากการพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผู้วิจัยได้สรุปแนวคิดและข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยมีรายละเอียดดังนี้
ข้อเสนอแนะในการนำกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนไปใช้
เพื่อให้สามารถนำกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะบางประการนำกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนไปใช้ด้งนี้
1. จากผลการวิจัย ด้านผลการเรียนรู้ เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย โดยจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนชุมนุมผจญภัยด้วยใจรักษ์ เพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านการปฏิบัติ ดังนั้น ควรจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้วิธีการสาธิตและที่เน้นการปฏิบัติเนื่องจากเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่อง สร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย และควรให้ครอบคลุม 3 ประกอบด้วย ความรู้ ความสามารถ และเจตคติแก่ผู้เรียนอย่างครบถ้วน
2. จากผลการวิจัย ด้านความสามารถในการปฏิบัติสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย พบว่านักเรียนสามารถปฏิบัติสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย ได้เป็นอย่างดีหลังจากเข้าร่วมกิจกรรม แต่มีประเด็นด้านการสร้างสรรค์การนำไปใช้งาน ได้ประสบการณ์จากของจริงที่หลากหลาย
3. จากผลการวิจัยด้านความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรม พบว่า นักเรียนมีความสุข สนุกสนาน เพลิดเพลิน และกระตือรือร้นในการปฏิบัติกิจกรรม โดยเฉพาะการได้แสดงผลงานที่เกิดจากทักษะการปฏิบัติของตนเอง แต่มีประเด็นด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน อยู่ในระดับต่ำสุด เป็นเพราะการปฏิบัติสร้างสรรค์กิจกรรมผจญภัย ต้องใช้ระยะเวลาในการฝึกปฏิบัติ ดังนั้น ผู้สอนควรบริหารเวลาในการจัดกิจกรรมให้ดี หรือยืดหยุ่นกิจกรรมให้เข้ากับผู้เรียน และคอยให้แนะนำพร้อมทั้งปรับปรุงแก้ไขในขณะนั้นแก่ผู้เรียน เพื่อผลการปฏิบัติที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง
ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะสำหรับผู้สนใจในการพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนต่อไป มีรายละเอียดดังนี้
1. ควรมีการวิจัยและพัฒนากิจกรรมพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เกี่ยวกับกิจกรรมผจญภัย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา เพื่อเป็นการปลูกฝังการผจญภัยด้วยใจรักษ์ และคิดสร้างสรรค์ให้กว้างขึ้น ให้กับนักเรียนทุกชั้น
2. ควรมีการวิจัยเพื่อพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเกี่ยวกับกิจกรรมผจญภัยสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา โดยเปลี่ยนวิธีการจัดกิจกรรมแบบการสาธิตและเน้นที่การปฏิบัติ เป็นวิธีแบบอื่น เช่น แบบใช้โครงการเป็นหลัก หรือแบบใช้ศูนย์การเรียน เป็นต้น เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ ด้านนาฏศิลป์ รวมทั้ง มีผลความสามารถในการปฏิบัตินาฏศิลป์หรือไม่