หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556
ประเภทวิชาอุตสาหกรรม
สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์
จุดประสงค์สาขาวิชา
1. เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะค้นภาษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษาสุขศึกษาและพลศึกษาในการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
2. เพื่อให้มีความรู้และทักษะในหลักการบริหารและจัดการวิชาชีพ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและหลักการงานอาชีพที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการพัฒนาวิชาชีพช่างอิเล็กทรอนิกส์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าของเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี
3. เพื่อให้มีความรู้และทักษะในหลักการและกระบวนการงานพื้นฐานด้านอุตสาหกรรม
4. เพื่อให้มีความรู้และทักษะในงานผลิตและงานบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักการและกระบวนการในลักษณะครบวงจรชิงธุรกิจโดยคำพึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
5. เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานช่างอิเล็กทรอนิกส์ในสถานประกอบการและประกอบอาชีพอิสระรวมทั้งการใช้ความรู้และทักษะพื้นฐานในการศึกษาต่อระดับสูงขึ้น
6. เพื่อให้สามารถเลือก ใช้ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในงานอาชีพช่างอิเล็กทรอนิกส์
7. เพื่อให้มีเจคติและกิจนิสัยที่ดีต่องานอาชีพ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ชื่อสัตย์ ประหยัด อดทน มีวินัย
มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ต่อต้านความรุนแรงและสารเสพติต สามารถพัฒนาตนเองและทำงาน
ร่วมกับผู้อื่น
มาตรฐานการศึกษาวิชาชีพ
คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาระดับคุณวุฒิการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชา
อุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย
1. ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์
1.1 คุณธรรรม จริยธรรมและจรรยบรรณวิชาชีพ ได้แก่ ความเสียสละ ความชื่อสัตย์สุจริต
ความกตัญญูกตเวที ควานอดกลั้น การละเว้นสิ่งเสพติดและการพนัน การมีจิตสำนึกและ
เจตคติที่ดีต่อวิชาชีพและสังคม เป็นต้น
1.2 พฤติกรรมลักษณะนิสัย ได้แก่ ความมีวินัย ความรับผิดชอบ การมีมนุษยสัมพันธ์
ความเชื่อมั่นในตนเอง ความรักสามัคคี ขยัน ประหยัด อดทน การพึ่งตนเอง เป็นต้น
1.3 ทักษะทางปัญญา ได้แก่ ความรู้ในหลักทฤษฎี ความสนใจใฝ่รู้ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ความสามารถในการคิด วิเคราะห์ เป็นต้น
2. ด้านสมรรถนะหลักและสมรรถนะทั่วไป
2.1 สื่อสารโดยใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในชีวิตประจำวันและในงานอาชีพ
2.2 แก้ใขปัญหาในงานอาชีพโดยใช้หลักการและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
2.3 ปฏิบัติตนตามหลักศาสนา วัฒนธรรม ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรมทางสังคมและสิทธิหน้ที่พลเมือง
2.4 พัฒนาบุคลิกภาพและสุขอนามัยโดยใช้หลักการและกระบวนการด้านสุขศึกษาและพลศึกษา
3. ด้านสมรรถนะวิชาชีพ
3.1 วางแผน ดำเนินงาน จัดการงานอาชีพตามหลักการและกระบวนการ โดยคำนึงถึงการบริหารงานคุณภาพ การอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม หลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
3.2 ใช้คอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพื่องานอาชีพ
3.3 ปฏิบัติงานพื้นฐานอาชีพช่างอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักการและกระบวนการ
3.4 อ่านแบบ เขียนแบบในงานอิเล็กทรอนิกส์ งานระบบเสียง งานระบบภาพ งานระบบสื่อสาร การประเมินราคา และเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
3.5 คิดวิเคราะห์ปัญหา สาหตุและวิธีแก้ไข รวมทั้งคิดแยกแยะประเด็นปัญหาในทางวิชาชีพ
3.6 ประกอบ ติดตั้งและทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ในงานระบบเสียง งานระบบภาพ งานระบบสื่อสาร และงานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม ด้วยเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
3.7 ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องรับเครื่องส่งวิทยุ ระบบเสียง ระบบภาพระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ และงานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม
โครงสร้าง
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556
ประเภทวิชาอุตสาหกรรม
สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์
ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม
สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องศึกษารายวิชาจากหมวดวิชาต่าง ๆ รวมไม่น้อยกว่า 103 หน่วยกิต และเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร ดังโครงสร้างต่อไปนี้
1. หมวดวิชาทักษะชีวิต ไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต
1.1 กลุ่มวิชาภาษาไทย (ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต)
1.2 กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ (ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต)
1.3 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ (ไม่น้อยกว่า 4 หน่วยกิต)
1.4 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ (ไม่น้อยกว่า 4 หน่วยกิต)
1.5 กลุ่มวิชาสังคมศึกษา (ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต)
1.6 กลุ่มวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา (ไม่น้อยกว่า 2 หน่วยกิต)
2. หมวดวิชาทักษะวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า 71 หน่วยกิต
2.1 กลุ่มทักษะวิชาชีพพื้นฐาน (18 หน่วยกิต)
2.2 กลุ่มทักษะวิชาชีพเฉพาะ (24 หน่วยกิต)
2.3 กลุ่มทักษะวิชาชีพเลือก (ไม่น้อยกว่า 21 หน่วยกิต)
2.4 ฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ (4 หน่วยกิต)
2.5 โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ (4 หน่วยกิต)
3. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 10 หน่วยกิต
4. กิจกรรมเสริมหลักสูตร (2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์)
รวม ไม่น้อยกว่า 103 หน่วยกิต
หลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556
ประเภทวิชา อุตสาหกรรม สาขาวิชา ช่างอิเล็กทรอนิกส์
รหัสวิชา 2105-2121 ชื่อวิชา หุ่นยนต์เบื้องต้น
เวลา ทฤษฎี 1 ชั่วโมง ปฏิบัติ 3 ชั่วโมง/สัปดาห์ จำนวน 2 หน่วยกิต
จุดประสงค์รายวิชา เพื่อให้
1. เข้าใจหลักการทำงานของหุ่นยนต์เบื้องต้น
2. มีทักษะในการประกอบ ทดสอบ ควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์เบื้องต้น
3. มีเจตคติและกิจนิสัยที่ดีในการทำงานด้วยความรับผิดชอบรอบคอบและปลอดภัย
สมรรถนะรายวิชา
1. แสดงความรู้เกี่ยวกับหลักการทำงานของหุ่นยนต์เบื้องต้น
2. ออกแบบและประกอบหุ่นยนต์ขนาดเล็ก
3. เขียนและทดสอบโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ขนาดเล็ก
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับโครงสร้าง หลักการทำงาน วงจรควบคุม ประกอบหุ่นยนต์ขนาดเล็กแบบควบคุมด้วยมือและแบบอัตโนมัติโดยใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ ทดสอบการทำงานของวงจรโดยใช้โปรแกรมจำลอง และการเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์เบื้องต้น
หมายเหตุ จุดประสงค์รายวิชา สมรรถนะรายวิชา และคำอธิบายรายวิชา จากหลักสูตรหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556 สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ ประเภทวิชาอุตสาหกรรม กระทรวงศึกษาธิการ
หน่วยการเรียนรู้ วิชาหุ่นยนต์เบื้องต้น รหัสวิชา 2105-2121
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556
โดยจำแนกเนื้อหาออกเป็น 9 หน่วย ดังนี้
หน่วยที่ 1 เรื่อง ประวัติและความเป็นมาของหุ่นยนต์
- ประวัติและความเป็นมาของหุ่นยนต์
- ประเภทของหุ่นยนต์
- ประโยชน์ของหุ่นยนต์
- การนำหุ่นยนต์ไปประยุกต์ใช้
หน่วยที่ 2 เรื่อง อุปกรณ์ไมโครคอนโทรลเลอร์
- หน้าที่อุปกรณ์ไมโครคอนโทรลเลอร์
- ชื่ออุปกรณ์คอนโทรลเลอร์แบบต่าง ๆ
- ประเภทของคอนโทรลเลอร์
- โครงสร้างของโปรแกรม Arduino
- ส่วนประกอบของบอร์ด Arduino
หน่วยที่ 3 เรื่อง การติดตั้งและทดสอบใช้งาน Arduino
- การใช้งานโปรแกรม Arduino IDE
- ขั้นตอนในการติดตั้งโปรแกรม Arduino IDE
- หน้าที่ของเครื่องมือต่าง ๆ บนโปรแกรม Arduino IDE
- ขั้นติดตั้ง Library ของ Arduino
- เขียนโปรแกรมทดสอบการทำงานเบื้องต้นบอร์ด Arduino
หน่วยที่ 4 เรื่อง การตรวจสอบเงื่อนไขในภาษาซีของ Arduino
- ภาษาซีของ Arduino
- การใช้งานตัวแปรของ Arduino
- ความหมายของเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ของ Arduino
- เครื่องหมายที่ใช้ในการเปรียบเทียบของ Arduino
- เครื่องหมายการกระทำทางลอจิกของ Arduino
- การใช้คำสั่งตรวจสอบเงื่อนไขแบบ if
else
- การใช้คำสั่งตรวจสอบเงื่อนไขแบบ while
- การใช้คำสั่งตรวจสอบเงื่อนไขแบบ for
- การใช้คำสั่งตรวจสอบเงื่อนไขแบบ switch/case
- การใช้คำสั่งตรวจสอบเงื่อนไขแบบ break
หน่วยที่ 5 เรื่อง Arduino กับ Digital input/output
- อุปกรณ์อินพุตเอาต์พุตแบบลอจิก
- การใช้งานคำสั่ง pinMode
- การใช้งานคำสั่ง digitalWrite
- การใช้งานคำสั่ง digitalRead
- การใช้งานคำสั่ง delay
- ฟังก์ชันเกี่ยวกับการสื่อข้อมูลแบบอนุกรม
หน่วยที่ 6 เรื่อง Arduino กับ Analog input/output
- อุปกรณ์อินพุตเอาต์พุตแบบอนาล็อก
- การใช้งานคำสั่ง analogRead
- การใช้งานคำสั่ง analogWrite
หน่วยที่ 7 เรื่อง Arduino กับการควบคุม DC Motor
- หลักการทำงานของ DC Motor
- หลักการทำงานของ Relay
- โปรแกรมการควบคุการทำงานม DC Motor
- โปรแกรมการควบคุมการทำงาน Relay
หน่วยที่ 8 เรื่อง Arduino กับ Infrared Sensor module
- หลักการทำงานของเซ็นเซอร์แสง
- ชนิดของเซ็นเซอร์แสง
- หลักการทำงานของ LDR Sensor
- โปรแกรมควบคุมการใช้งาน LDR Sensor
- หลักการทำงานของ Reflective Optical Sensor
- โปรแกรมใช้งาน Reflective Optical Sensor
หน่วยที่ 9 เรื่อง ทำโครงงานสร้างหุ่นยนต์ขนาดเล็ก
- หลักการทำงานของหุ่นยนต์เดินตามเส้น
- โครงสร้างของหุ่นยนต์เดินตามเส้น
- ออกแบบหุ่นยนต์เดินตามเส้น
- ประกอบหุ่นยนต์เดินตามเส้น
- เขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์เดินตามเส้น