การวิจัยเรื่องแนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนสังกัดเทศบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินการตามปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียน ศึกษาระดับคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนสังกัดเทศบาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมือง และศึกษาแนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียน โดยศึกษาจากเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนำมาสร้างเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย สร้างเครื่องมือสำหรับใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล นำเครื่องมือไปตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน แล้วนำแบบสอบถามไปทดลองใช้กับกลุ่มที่มีลักษณะเดียวกับกลุ่มตัวอย่างจริงได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับและจัดทำแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ไปเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจริง
ผลการวิจัย
ผลการวิจัย เรื่องแนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนสังกัดเทศบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยาพบว่า
1) โรงเรียนสังกัดเทศบาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาดำเนินการตามปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพนักเรียน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากตามลำดับ ดังนี้ 1) ปัจจัยด้านการบริหารของผู้บริหาร 2) ปัจจัยด้านการดำเนินการของโรงเรียน 3) ปัจจัยด้านการสอนของครู 4) ปัจจัยด้านผู้ปกครอง และ 5) ปัจจัยด้านการเรียนรู้ของนักเรียน
2) นักเรียนของโรงเรียนสังกัดเทศบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีคุณภาพโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากตามลำดับ ดังนี้ 1) ผู้เรียนมีสุขภาพทางกายและทางจิตที่ดี 2) ผู้เรียนมีความใฝ่รู้และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 3) ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ 4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน และ 5) ผู้เรียนคิดเป็นทำเป็น
3) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัย ปรากฏผลดังนี้
ปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียนทั้ง 5 ด้าน มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพนักเรียนอยู่ในระดับสูง (r = 0.773) และมีเพียง 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านการสอนของครู ปัจจัยด้านการเรียนรู้ของนักเรียน และปัจจัยด้านการดำเนินการของโรงเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพของนักเรียน ส่วนอีก
2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านการบริหารของผู้บริหาร และปัจจัยด้านผู้ปกครอง ไม่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนและไม่มีส่วนร่วมในการอธิบายคุณภาพนักเรียน
4) แนวทางในการพัฒนาปัจจัยทั้ง 3 จะมีประสิทธิผลโดยยึดหลักการพัฒนา 1) หลักการ มีส่วนร่วม 2) หลักการพัฒนาครู 3) หลักการพึ่งตนเอง 4) หลักการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา5) หลักธรรมาภิบาล กิจกรรมที่ใช้ในการพัฒนาปัจจัยดังกล่าว ได้แก่ 1) ครู นักเรียน เรียนรู้จากสื่อและเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาตนเอง 2) ครู ผู้บริหาร โรงเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
3) ครู ผู้บริหาร พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน 4) เทศบาลเมืองติดตามประเมินผลสร้างขวัญกำลังใจให้แก่บุคลากรของโรงเรียนรวมทั้งนักเรียนที่เรียนดี ประพฤติดี ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนา ประกอบด้วย 1) ครู ผู้บริหาร 2) พ่อแม่ ผู้ปกครอง 3) ผู้นำชุมชน 4) ศึกษานิเทศก์ นักเรียน และเทศบาล