การประเมินโครงการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการการดำเนินการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนเทศบาลสรรพสามิตบำรุง สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยใช้รูปแบบ CIPP (CIPP Model) การประเมินโครงการครั้งนี้ ผู้รายงานได้ศึกษาจากประชากรที่เป็นคณะครูที่ดำเนินการการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 30 คน และกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนโรงเรียนเทศบาลสรรพสามิตบำรุงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 196 คน รวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาจากเอกสาร และรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 2 ชุด เพื่อสอบถามครูที่เป็นประชากร และนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้กรอบการประเมินแบบ CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยด้านสภาพแวดล้อมวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการกับนโยบายทางการศึกษา ส่วนด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ค่าเฉลี่ยร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ
ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินโครงการการดำเนินการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนเทศบาล
สรรพสามิตบำรุง โดยใช้กรอบการประเมินแบบ CIPP Model ผลการประเมินสรุปผล ได้ดังนี้
1.1 ด้านบริบทหรือด้านสภาพแวดล้อม พบว่าวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษาประกอบด้วย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 มาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ หลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 และเป้าหมายของโรงเรียน
1.2 ผลการประเมินโครงการด้านปัจจัยทั้งด้านของโครงการการดำเนินการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนเทศบาลสรรพสามิตบำรุงพบว่า โดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ใน
ระดับมากและเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ส่วนใหญ่มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากโดยประเด็นที่มีผลการประเมินสูงกว่าข้ออื่น ๆ ได้แก่มีการกำหนดนโยบายและการวางแผนการดำเนินงานได้อย่างเหมาะสมรองลงมา คือ มีห้องเรียนเพียงพอกับจำนวนนักเรียน ส่วนประเด็นที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับต่ำที่สุดคือคณะครูมีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินการดูแลช่วยเหลือ และ มีงบประมาณเพียงพอในการให้ครูประจำชั้นออกเยี่ยมบ้านนักเรียน
1.3 ผลการประเมินโครงการด้านกระบวนการทั้งด้านของโครงการการดำเนินการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนเทศบาลสรรพสามิตบำรุง พบว่า โดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน
อยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้อมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก
โดยประเด็นที่มีผลการประเมินสูงกว่าข้ออื่น ๆ ได้แก่ครูในช่วงชั้นได้ให้การดูแลช่วยเหลือนักเรียนร่วมกับครูประจำชั้นรองลงมา คือมีการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์การดำเนินงาน การดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบส่วนประเด็นที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับต่ำที่สุดคือโรงเรียนได้จัดทุนการศึกษาให้กับนักเรียนได้อย่างทั่วถึง
1.4 ผลการประเมินโครงการด้านผลผลิตทั้งด้านของโครงการการดำเนินการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนเทศบาลสรรพสามิตบำรุง พบว่า โดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน
อยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้อมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก
โดยประเด็นที่มีผลการประเมินสูงกว่าข้ออื่น ๆ ได้แก่การดำเนินการดูแลช่วยเหลือนักเรียนส่งผลให้นักเรียนได้รับการป้องกันและแก้ไขปัญหา และ การดำเนินการดูแลช่วยเหลือนักเรียนช่วยให้นักเรียนมีการพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาส่วนประเด็นที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับต่ำที่สุดคือการดำเนินการดูแลช่วยเหลือนักเรียนส่งผลให้นักเรียนได้รับการส่งเสริมให้แสดงออกตามสภาพของตนเอง
จากการประเมินทั้ง 4 ด้าน พบว่า การประเมินด้านที่ 1 คือ ด้านบริบทหรือด้านสภาพแวดล้อม วัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษา สำหรับอีก
3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก โดยค่าเฉลี่ยสูง คือ ด้านผลผลิต รองลงมา ด้านปัจจัย และอันดับสาม ด้านกระบวนการ
2. การประเมินความคิดเห็นของนักเรียนต่อการดำเนินการโครงการการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ผลปรากฏว่า ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลและการคัดกรองของครูประจำชั้นผลการประเมินพบว่า ทั้งรายการอยู่ในระดับมาก ด้านการส่งเสริมนักเรียน ผลการประเมินพบว่า
ทั้งรายการอยู่ในระดับมาก ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ผลการประเมินพบว่า ทั้งรายการอยู่ในระดับมาก ด้านการส่งต่อผลการประเมินพบว่าทั้งรายการอยู่ในระดับมาก และ ด้านการดำเนินการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ผลการประเมินพบว่าทั้งรายการอยู่ในระดับมาก และจากการประเมินโครงการตามความคิดเห็นของนักเรียนทั้ง 4 ด้าน พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับ
3. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนเทศบาลสรรพสามิตบำรุง
3.1 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมตามทัศนะของครูที่ดำเนินการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
3.1.1 ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นกับการดำเนินการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านค่าย โดยภาพรวมพบว่า การดำเนินการตามโครงการการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ทำให้ครูมีภาระเพิ่มขึ้น ซึ่งนอกเหนือจากงานการสอน เนื่องจากครูจะต้องใช้เวลาออกไปเยี่ยมบ้านนักเรียน บางครั้งครูจะต้องใช้งบประมาณส่วนตัวเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากงบประมาณ
ที่โรงเรียนให้การสนับสนุน ซึ่งถือว่าเป็นภาระเพิ่มขึ้นให้คณะครูที่ดำเนินการตามโครงการ
ปัญหาและอุปสรรคด้านตัวผู้ปกครอง พบว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีฐานะยากจน บางครอบครัวมีปัญหาด้านครอบครัวแตกแยก หย่าร้าง แยกกันอยู่ ทำให้นักเรียนขาดความอบอุ่น จึงทำให้เกิดปัญหายากแก่การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็ก ผู้ปกครองบางคนไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร เนื่องจากต้องดิ้นรนออกไปทำงานหารายได้มาใช้จ่ายในครอบครัวจึงไม่มีเวลาในการมาพบครู และร่วมมือในการช่วยเหลือนักเรียน
3.1.2 แนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นตามความเห็นของคณะครู
ที่ดำเนินการการดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า คณะครูมีความเห็นว่าโรงเรียนควรสนับสนุนงบประมาณ และพาหนะให้แก่คณะครูที่ต้องออกไปเยี่ยมบ้านให้มากขึ้น สำหรับการให้ความร่วมมือจากผู้ปกครอง ทางโรงเรียนควรจัดประชุมชี้แจงผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองได้เห็นความสำคัญของโครงการ
3.1.3 ข้อเสนอแนะเพื่อให้การดำเนินการการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คณะครูให้ข้อเสนอแนะว่า ควรทำการจัดประชุม ชี้แจงให้คณะครู ผู้ปกครอง และนักเรียนให้มีความรู้และสร้างความเข้าใจการดำเนินการตามโครงการ รวมทั้งมีการรายงานผลการดำเนินการให้ผู้เกี่ยวข้องทราบเป็นระยะๆ เพื่อรับทราบความก้าวหน้า และร่วมกันแก้ไขปัญหาระหว่างการดำเนินการ
3.2 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมตามทัศนะของนักเรียน
3.2.1 ความต้องการของนักเรียนที่จะให้ครูประจำชั้น ดำเนินการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในห้องอย่างมีประสิทธิภาพ โดยความเห็นส่วนใหญ่นักเรียนอยากให้ครูแสดง
ความรัก ความเมตตาต่อนักเรียน ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับนักเรียน รองลงมา คือ ต้องการให้ครูประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้นักเรียนได้เห็น เช่น การแต่งกาย การพูดจา และสุดท้ายต้องการให้ครูได้ช่วยเหลือ เมื่อประสบปัญหา เช่น ด้านค่าใช้จ่าย ด้านสุขภาพ ด้านวัสดุอุปกรณ์การเรียน และด้านผลการเรียน ฯลฯ
3.2.2 นักเรียนต้องการให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการดูแลนักเรียนร่วมกับครู คือ อันดับแรกต้องการความรักความอบอุ่นจากผู้ปกครอง ต้องการให้ผู้ปกครองได้มีเวลาในการอยู่ร่วมกันที่บ้านให้มากกว่าที่เป็นอยู่รวมทั้งการให้ความรักความอบอุ่น และดูแลค่าใช้จ่าย ด้านการเรียนให้เพียงพอ นอกเหนือจากนี้ ต้องการให้ผู้ปกครองให้ความร่วมมือกับคณะครูในทุกกิจกรรมที่ครูขอความร่วมมือ เช่น การเชิญร่วมประชุม การเชิญเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เช่น วันสำคัญของชาติ
วันสำคัญทางศาสนา และประเพณีต่างๆ ฯลฯ
3.2.3 ปัญหาและอุปสรรคในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า ครูที่ดูแลช่วยเหลือนักเรียนบางคน ไม่ได้แสดงออกถึงความรัก ความเมตตาต่อตัวนักเรียนทำให้นักเรียน
ไม่กล้าเปิดเผยข้อมูลที่เป็นจริงให้ครูทราบ ทำให้ครูแก้ไขปัญหาได้ไม่ถูกจุด นอกจากนี้ ผู้ปกครองไม่ให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียน เนื่องจากไม่มีเวลาในการร่วมปรึกษาหารือแนวทางแก้ไข
3.2.4 ข้อเสนอแนะหรือแนวทางแก้ไขในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า นักเรียนให้ข้อเสนอแนะว่า ครูควรแสดงออกให้นักเรียนได้เห็นว่าครู ให้ความรักความเมตตา ต่อนักเรียน เพื่อเป็นการสร้างสัมพันธ์ภาพที่ดีต่อกัน ซึ่งจะทำให้นักเรียนกล้าเปิดเผยปัญหาที่เป็นจริงให้ครูทราบ รวมทั้งควรให้ครูได้ออกเยี่ยมบ้านอย่างสม่ำเสมอ เพื่อได้พบปะกับผู้ปกครอง เนื่องจากผู้ปกครองไม่ค่อยมีเวลามาพบครูที่โรงเรียน สำหรับทุนการศึกษานักเรียนเสนอแนะว่า เท่าที่เป็นอยู่ ทุนการศึกษาที่ได้รับยังมีจำนวนไม่มากพอเท่ากับจำนวนนักเรียน ในโอกาสต่อไปควรหาทุนเพิ่มเติมให้มากกว่านี้ และแต่ละทุนควรเพิ่มจำนวนเงินให้สูงขึ้นอีกด้วย